อาเล็กซันเดอร์ เดอ โกร
อาเล็กซันเดอร์ เดอ โกร | |
---|---|
เดอ โกร ใน พ.ศ. 2560 | |
นายกรัฐมนตรีเบลเยียมคนที่ 53 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป |
ก่อนหน้า | ซอฟี วีลแม็ส |
รัฐมนตรีการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (1 ปี 297 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาร์ล มีแชล ซอฟี วีลแม็ส |
ก่อนหน้า | โยฮัน ฟัน โอเฟิร์ตเฟลต์ |
ถัดไป | ฟินเซนต์ ฟัน เปเตอเคม |
รองนายกรัฐมนตรีเบลเยียม | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (7 ปี 345 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เอลีโย ดี รูโป ชาร์ล มีแชล ซอฟี วีลแม็ส |
ก่อนหน้า | ฟินเซนต์ ฟัน กวิกเกินบอร์เนอ |
ถัดไป | ฟินเซนต์ ฟัน กวิกเกินบอร์เนอ |
รัฐมนตรีความร่วมมือเพื่อการพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (5 ปี 356 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาร์ล มีแชล ซอฟี วีลแม็ส |
ก่อนหน้า | ฌ็อง-ปัสกาล ลาบีย์ |
ถัดไป | เมรียาเมอ กีตีร์ |
รัฐมนตรีการบำนาญ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (1 ปี 354 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เอลีโย ดี รูโป |
ก่อนหน้า | ฟินเซนต์ ฟัน กวิกเกินบอร์เนอ |
ถัดไป | ดาเนียล บาเกอแลน |
หัวหน้าพรรคโอเปิน เฟเอลเด | |
ดำรงตำแหน่ง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (2 ปี 318 วัน) | |
ก่อนหน้า | คี เฟอร์โฮฟสตัต |
ถัดไป | แคว็นโดลิน รึตเติน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ฟิลโฟร์เดอ เบลเยียม |
พรรคการเมือง | โอเปิน เฟเอลเด |
คู่สมรส | อันนิก แป็นเดิร์ส |
บุตร | 2 คน |
บุพการี |
|
ที่อยู่อาศัย | เลอล็องแบร์มง บรัสเซลส์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเสรีบรัสเซลล์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ส่วนตัว |
อาเล็กซันเดอร์ เดอ โกร (ดัตช์: Alexander De Croo) เป็นนักการเมืองและนักธุรกิจชาวเบลเยียมซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเบลเยียมตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563
เดอ โกร เกิดที่ฟิลโฟร์เดอ จังหวัดเฟลมิชบราบันต์ ประเทศเบลเยียม[1] เป็นหนึ่งในบุตรสองคนของแฮร์มัน เดอ โกร นักการเมือง อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตวุฒิสมาชิก และองคมนตรี (Minister of State) ในปัจจุบัน[2] จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยเสรีบรัสเซลล์และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (MBA) ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ใน พ.ศ. 2549 ได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับด้านทรัพย์สินทางปัญญา[3] และต่อมาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรค โอเปินฟลามเซอลีเบอราเลินแอ็นเดโมกราเติน (Open Vlaamse Liberalen en Democraten) หรือโอเปิน เฟเอลเด (Open Vld) ซึ่งเขาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคในระหว่าง พ.ศ. 2552 ถึง 2555 และตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมาได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมืองต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเบลเยียมในสมัยรัฐบาลของเอลีโย ดี รูโป, ชาร์ล มีแชล และซอฟี วีลแม็ส
ในระหว่างดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีนั้น เดอ โกร ยังเป็นรัฐมนตรีการบำนาญระหว่าง พ.ศ. 2555–2557 รัฐมนตรีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่าง พ.ศ. 2557–2563 และรัฐมนตรีการคลังระหว่าง พ.ศ. 2561–2563 และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นเวลากว่าหนึ่งปีหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2563 เขาสามารถเป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาลได้เพื่อแทนที่รัฐบาลเสียงข้างน้อยของซอฟี วีลแม็ส
งานด้านการเมือง
ใน พ.ศ. 2552 เดอ โกร เข้าสู่การเมืองเป็นครั้งแรกโดยเข้าสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรปใน พ.ศ. 2552 โดยเขาได้รับคะแนนเสียงกว่า 47,000 คะแนน[4] ต่อมาเมื่อ 26 ตุลาคม ปีเดียวกันนั้น เขาได้กลายเป็นหนึ่งในผู้สมัครเข้าคัดเลือกเป็นหัวหน้าพรรคโอเปิน เฟเอลเด ต่อจากคี เฟอร์โฮฟสตัต รักษาการหัวหน้าพรรค โดยเมื่อ 12 ธันวาคม หลังจากการแข่งขันเพื่อชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกับมารีโน เกอเลิน คู่แข่ง เดอ โกร สามารถเอาชนะได้ในรอบที่สองด้วยคะแนน 11,676 เสียง ต่อ 9,614 เสียง[5] ชัยชนะของเดอ โกร นั้นเป็นที่กล่าวขานกันในหมู่นักการเมืองเนื่องจากเขาเพิ่งเริ่มมีประสบการณ์ทางการเมืองได้ไม่นาน และเนื่องจากบิดาของเดอ โกร เป็นนักการเมืองมากประสบการณ์ ทำให้เขามักจะถูกมองว่าเป็นการใช้บารมีหรือเส้นสายในครอบครัว[6][7]
วิกฤตการเมือง
เพียงห้าเดือนหลังจากการได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคแล้ว เดอ โกร ได้ขู่ที่จะถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นหากไม่มีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตบรัสเซลส์-ฮัลเลอ-ฟิลโฟร์เดอซึ่งเป็นเขตพื้นที่ทับซ้อน จนเมื่อพ้นกำหนดแล้วเขาจึงได้ถอนพรรคการเมืองออกจากรัฐบาล จึงทำให้รัฐบาลในขณะนั้นซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีอีฟว์ เลอแตร์ม ต้องประกาศลาออก ซึ่งต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553[8]
ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใน พ.ศ. 2553 เดอ โกร ได้รับคะแนนเสียงกว่า 301,000 คะแนน มากที่สุดเป็นอันดับสามในเขตเลือกตั้งที่มาจากเขตผู้พูดภาษาดัตช์[4] และได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาจนถึง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555[9]
รัฐมนตรี
รัฐบาลดี รูโป
เดอ โกร ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีการบำนาญเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555[10] ต่อจากฟัน กวิกเกินบอร์เนอ ซึ่งลาออกเพื่อไปรับตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองคอร์ทไรค์[11] ต่อมาในเดือนธันวาคม แคว็นโดลิน รึตเติน ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคโอเปิน เฟเอลเดแทน[12]
รัฐบาลมีแชล 1 และ 2
หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2557 และการจัดตั้งรัฐบาลกลาง เดอ โกร ยังคงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของมีแชล (รัฐบาลมีแชล 1) เดอ โกร ยังได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีความร่วมมือด้านการพัฒนา วาระดิจิทัล โทรคมนาคม และการไปรษณีย์[13][14] ในขณะที่ดาเนียล บาเกอแลน รับตำแหน่งรัฐมนตรีการบำนาญแทน[14] โดยคณะรัฐมนตรีชุดนี้ถวายสัตย์เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557[15]
ในสมัยของเดอ โกร เบลเยียมเป็นประเทศแรกที่ระงับความช่วยเหลือระหว่างประเทศกับบุรุนดีเนื่องจากเหตุจลาจลจากความขัดแย้งทางการเมืองอันนำไปสู่ความรุนแรงในประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2558[16] ใน พ.ศ. 2560 เดอ โกร ได้อนุมัติงบประมาณช่วยเหลือกว่า 25 ล้านยูโร (26.81 ล้านดอลลาร์) ต่อเนื่องกันถึง พ.ศ. 2568 เพื่อกำจัดโรคแอฟริกัน ทริปาโนโซมิเอซิส[17] เดอ โกร ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว "ชีดิไซดส์" เพื่อต่อต้านนโยบายเม็กซิโกซิตี (คือนโยบายที่ห้ามเหล่าองค์กรเพื่อความช่วยเหลือระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลสหรัฐให้สนับสนุนหรือกระทำการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศอื่น ๆ) ที่ประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ นำกลับมาใช้[18]
ภายหลังจากความขัดแย้งภายในรัฐบาลกลางเบลเยียมเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่นของสหประชาชาติ พรรคพันธมิตรเฟลมิชใหม่ถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล ทำให้รัฐบาลนี้กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยหรือที่เรียกว่ารัฐบาลมีแชล 2 ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561[19] เดอ โกร ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีการคลังแทนที่โยฮัน ฟัน โอเฟิร์ตเฟลต์[20]
รัฐบาลวีลแม็ส 1 และ 2
ในระหว่างการเป็นรัฐบาลรักษาการของนายกรัฐมนตรีวีลแม็ส เดอ โกร เป็นรัฐมนตรีการคลังผู้กำกับดูแลด้านงบประมาณฉุกเฉินเพื่อจัดการกับการระบาดของโควิด-19 และการจัดการด้านความช่วยเหลือกับบรัสเซลแอร์ไลน์ใน พ.ศ. 2563[21] ในสมัยนี้เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคโอเปิน เฟเอลเด คู่กับเอ็กเบิร์ท ลาเคิร์ท[22]
นายกรัฐมนตรี
เมื่อ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 เดอ โกร และมาแญ็ต (พรรคสังคมนิยม) ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งรัฐบาล[23] และต่อมาในวันที่ 30 กันยายน ได้มีข่าวว่าเดอ โกร จะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากซอฟี วีลแม็ส[24] รัฐบาลของเดอ โกร ประกอบด้วยสัดส่วนของสตรีมากกว่าบุรุษ โดยมีรัฐมนตรีที่เป็นสตรีถึงครึ่งหนึ่ง[25] ซึ่งมากกว่าสมัยอื่น ๆ ในอดีต
อ้างอิง
- ↑ "De Heer Alexander De Croo" [Mr. Alexander De Croo]. wwwpr.belgium.be (ภาษาดัตช์). 11 June 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Biography". www.hermandecroo.be. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Wie is Alexander?" [Who is Alexander?]. www.alexanderdecroo.be (ภาษาดัตช์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ 4.0 4.1 "Alexander De Croo is nieuwe premier: naast "zoon van" ook stemmentrekker en voorstander van gendergelijkheid" [Alexander De Croo is the new prime minister: in addition to being "son of", he is also a vote-puller and a supporter of gender equality] (ภาษาดัตช์). VRT Nws. 30 September 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Alexander De Croo verrassend nieuwe voorzitter Open Vld" [Alexander De Croo Surprising New Chairman Open Vld] (ภาษาดัตช์). De Morgen. 12 December 2009. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Open VLD kiest met Alexander De Croo voor avontuur" [Open VLD Opts for Adventure with Alexander De Croo] (ภาษาดัตช์). De Standaard. 12 December 2009. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Alexander De Croo". The Bulletin. 12 October 2009. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
- ↑ "Belgium's Five-Party Coalition Government Collapses". The Guardian. 26 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Opvolger Alexander De Croo legt de eed af in Senaat" [Successor Alexander De Croo takes the oath in the Senate] (ภาษาดัตช์). Het Laatste Nieuws. 25 October 2012. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Alexander De Croo is nieuwe premier: naast "zoon van" ook stemmentrekker en voorstander van gendergelijkheid" [Alexander De Croo is the New Prime Minister: in Addition to Being "son of", he is also a Vote-Puller and a Supporter of Gender Equality] (ภาษาดัตช์). Radio 1. 30 September 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Vincent Van Quickenborne ruilt Kortrijk opnieuw in voor Brussel" [Vincent Van Quickenborne Exchanges Kortrijk for Brussels Again] (ภาษาดัตช์). MSN. 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Gwendolyn Rutten is nieuwe voorzitter Open VLD" [Gwendolyn Rutten is the New Chairwoman of Open VLD] (ภาษาดัตช์). Het Nieuwsblad. 8 December 2012. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Biografie" [Biography]. www.decroo.belgium.be (ภาษาดัตช์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ 14.0 14.1 "Dit zijn de ministers van de regering-Michel I" [These are the Ministers of the Michel I Government] (ภาษาดัตช์). Het Laatste Nieuws. 10 October 2014. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Van de regering-Michel naar de regering-Wilmès: een komen en gaan van ministers" [From the Michel Government to the Wilmès Government: A Coming and Going of Ministers] (ภาษาดัตช์). VRT NWS. 28 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Belgium Suspends Financial Aid for Burundi Elections". Al-Jazeera. 11 May 2015. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ Stephanie Nebehay (April 19, 2017), "Gates Backs Big Pharma Push to Wipe out Tropical Diseases". Reuters. 19 April 2017. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Deputy Prime Minister and Minister of Development Cooperation Belgium". www.shedecides.com. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Belgium's Government Loses Majority over UN Migration Pact". The Guardian. 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "De Block terug op Asiel & Migratie, De Crem en De Backer worden minister: zo ziet regering-Michel II eruit" [De Block Back at Asylum & Migration, De Crem and De Backer Become Ministers: This is What Michel II Government Looks Like] (ภาษาดัตช์). VRT NWS. 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Belgium Forms New Government after 16-Month Deadlock]". Reuters. 30 September 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Alexander De Croo eerste ondervoorzitter" [Alexander De Croo first vice-chairman] (ภาษาดัตช์). Knack. 22 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ "Koning stelt Paul Magnette (PS) en Alexander De Croo (Open VLD) aan als coformateurs: "Uitweg uit de crisis"". VRT (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
- ↑ "Flemish Liberal Alexander De Croo to be Appointed Belgium's Prime Minister". 30 September 2020. สืบค้นเมื่อ 30 September 2020.
- ↑ "Regering-De Croo is meest vrouwelijke ooit: tien vrouwen en tien mannen" [De Croo Government is the Most Feminine Ever:Ten Women and Ten Men] (ภาษาดัตช์). Het Nieuwsblad. 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.