อำเภอมะขาม

อำเภอมะขาม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Makham
วัดบ้านอ่าง
วัดบ้านอ่าง
คำขวัญ: 
พระบาทมะขาม ทิวทัศน์งามหนองตะพอง
มากมีลองกอง มังคุด เงาะ ระกำหวาน
เสียงขับขานน้ำตกชำปาง เที่ยวบ้านอ่างสวนสมุนไพร
ไหว้ท่านพ่อใยศูนย์รวมใจแห่งศรัทธา
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอมะขาม
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอมะขาม
พิกัด: 12°40′25″N 102°11′48″E / 12.67361°N 102.19667°E / 12.67361; 102.19667
ประเทศ ไทย
จังหวัดจันทบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด480.1 ตร.กม. (185.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด32,737 คน
 • ความหนาแน่น68.19 คน/ตร.กม. (176.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 22150
รหัสภูมิศาสตร์2205
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอมะขาม เลขที่ 233/39 หมู่ที่ 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 22150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

มะขาม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองจันทบุรี ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี 15 กิโลเมตร อดีตเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดจันทบุรี อาณาเขตกว้างขวางมากการดูแลยากที่จะเข้าถึงทั้งหมด ภายหลังจึงแยกพื้นที่การปกครองออกเป็นอำเภอแก่งหางแมว[1] อำเภอโป่งน้ำร้อน[2][3] อำเภอสอยดาว อำเภอเขาคิชฌกูฏ[4][5] และบางส่วนของอำเภอเมืองจันทบุรี (ตำบลแสลง)[6]

ตลาดมะขาม

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอมะขาม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ตลาดมะขาม

ประวัติ

อำเภอมะขามเดิมเรียกว่า อำเภอท่าหลวง ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2422 โดยมีพระพลสงครามเป็นนายอำเภอคนแรก ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นด่านสำหรับเก็บส่วยอากร ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำจันทบุรี ที่ตั้งตำบลท่าหลวงปัจจุบัน ต่อมาการค้าขายได้เจริญขึ้น มีการติดต่อค้าขายกับประเทศเขมร โดยใช้เส้นทางผ่านอำเภอมะขามไปยังอำเภอโป่งน้ำร้อน และข้ามไปประเทศเขมรกันมากขึ้น ที่ว่าอำเภอที่ว่าอำเภอหลังเดิมอยู่ห่างจากเส้นทางที่นะผ่านไปอำเภอโป่งน้ำร้อนมากและ เพื่อความสะดวกต่อการเก็บส่วยอากร จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ ณ บ้านมาข้าม หรือ มะขาม ในปี พ.ศ. 2460 และ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมะขาม ในอดีตอาณาเขตพื้นที่อำเภอมะขามกว้างขวางมากและยากต่อการดูแลอย่างทั่วถึงมีอาณาเขต ครอบคลุม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอสอยดาว อำเภอเมืองจันทบุรีบางส่วน(ตำบลแสลง) อำเภอแก่งหางแมว(ตำบลแก่งหางแมว) และ อำเภอมะขามในปัจจุบัน

สาเหตุที่ได้ชื่อว่า "มะขาม" ไม่ได้มีต้นมะขามหรือความเกี่ยวข้องกับต้นมะขามแต่อย่างใด เล่าต่อกันมาว่าในขณะนั้นพื้นที่อำเภอมะขามเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ดุร้าย ไข้ป่าชุกชุม ทำให้ผู้ที่ผ่านไปมาประสบภัยอยู่เป็นเนือง ๆ การเดินทางไม่มีถนนเหมือนในปัจจุบัน การคมนาคมติดต่อกับในจังหวัดที่สะดวกที่สุดได้แก่ การใช้เส้นทางแม่น้ำจันทบุรีโดยทางเรือ ใช้เวลาเดินทางหลายชั่วโมง การเดินทางโดยทางบกต้องใช้ม้าหรือเกวียน เป็นพาหนะเดินทางผ่านเขาลัดเลาะไปตามแนวป่า กินเวลาเดินทางประมาณ 2 วัน จึงจะถึงตัวเมือง ทั้ง ๆ ที่ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตรเท่านั้น การเดินทางที่ยากลำบากเพราะยุคนั้นการตัดถนนยังไม่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นป่าเขาจึงมีสัตว์ร้ายนานาชนิดชุกชุม รวมทั้งไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย ทำให้มักมีการเสียชีวิตระหว่างเดินทาง ผู้ที่ไม่เคยมาเมื่อมาถึงแล้วหลังจากกลับก็ไม่กล้ามาอีก เพราะความขยาดต่อความทุรกันดาร และพากันขนานนามว่า "มาข้าม" ต่อมาได้เพี้ยนเป็น "มะขาม"

  • พ.ศ. 2445 แยกพื้นที่ตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองตาคง และตำบลทรายขาว จากอำเภอท่าหลวง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าหลวง[2] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอท่าหลวง
  • วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 โอนพื้นที่ตำบลแก่งหางแมว อำเภอท่าหลวง ไปขึ้นกับอำเภอพลอยแหวน (อำเภอท่าใหม่)[1]
  • วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอท่าหลวง จังหวัดจันทบุรี มณฑลจันทบุรี เป็น อำเภอมะขาม และเปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดจันทบุรี เป็น กิ่งอำเภอกำพุช[7]
  • วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2467 โอนพื้นที่ตำบลแสลง อำเภอมะขาม ไปขึ้นกับอำเภอเมืองจันทบุรี[6]
  • วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2481 โอนพื้นที่หมู่ 4, 5 (ในตอนนั้น) จากตำบลท่าหลวง ไปขึ้นกับตำบลมะขาม และรวมพื้นที่ตำบลน้ำรัก เข้ากับตำบลท่าหลวง แล้วจัดตั้งเป็นตำบลใหม่ ขนานนามว่า ตำบลท่าหลวง[8]
  • วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอกำพุช อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็น กิ่งอำเภอโป่งน้ำร้อน[9]
  • วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ยกฐานะกิ่งอำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม เป็น อำเภอโป่งน้ำร้อน[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ตั้งตำบลฉมัน แยกออกจากตำบลปัถวี และตำบลมะขาม[10]
  • วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลมะขาม ในท้องที่บางส่วนของตำบลมะขาม[11]
  • วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2525 ตั้งตำบลอ่างคีรี แยกออกจากตำบลมะขาม[12]
  • วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2530 ตั้งตำบลคลองพลู แยกออกจากตำบลตะเคียนทอง[13]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ตั้งตำบลชากไทย แยกออกจากตำบลพลวง[14]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 แยกพื้นที่ตำบลชากไทย ตำบลพลวง ตำบลตะเคียนทอง และตำบลคลองพลู จากอำเภอมะขาม ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ[4] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอมะขาม
  • วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ตั้งตำบลจันทเขลม แยกออกจากตำบลคลองพลู[15]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลมะขาม เป็นเทศบาลตำบลมะขาม[16] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอมะขาม เป็น อำเภอเขาคิชฌกูฏ[5]
  • วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลอ่างคีรี ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลอ่างคีรี[17]
  • วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเมืองใหม่[18] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเมืองใหม่ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่[19]
  • วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลฉมัน ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลฉมัน[20] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลวังแซ้ม ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลวังแซ้ม[21] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลท่าหลวง[22]
  • วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลปัถวี ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลปัถวี[23]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอมะขามแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[24]
1. มะขาม Makham
10
7,954
2. ท่าหลวง Tha Luang
8
2,644
3. ปัถวี Patthawi
12
7,752
4. วังแซ้ม Wang Saem
12
4,335
5. ฉมัน Chaman
9
4,434
6. อ่างคีรี Ang Khiri
8
5,492

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอมะขามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลมะขาม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลมะขาม
  • เทศบาลตำบลอ่างคีรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างคีรีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขาม (นอกเขตเทศบาลตำบลมะขาม)
  • เทศบาลตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหลวงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลวังแซ้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังแซ้มทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลฉมัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฉมันทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปัถวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปัถวีทั้งตำบล

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ประกาศงดการเก็บอากรสมพักศรในตำบลตะเคียนทอง ตำบลแก่งหางแมว ท้องที่ อำเภอท่าหลวง แขวงเมืองจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ก): 276. July 26, 1914.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศยกเว้นการเกณฑ์ทหารแก่ราษฎรซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองตาคง ตำบลทรายขาว ในท้องที่กิ่งอำเภอท่าหลวง เมืองจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ก): 76–77. September 11, 1910.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 2291. July 25, 1941. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (86 ง): 3. July 1, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  5. 5.0 5.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  6. 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 160–162. October 5, 1924.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3398–3399. January 16, 1938.
  9. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 877–882. September 25, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 17-18. October 15, 1956.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (114 ง): 3349–3351. August 17, 1982.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (190 ง): 6533–6538. September 22, 1987.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 109-114. November 13, 1992.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (217 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. December 22, 1993.
  16. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  17. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล อ่างคีรี เป็น เทศบาลตำบลอ่างคีรี". January 11, 2008. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  18. "เปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลมะขาม ไปเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเมืองใหม่". July 25, 2008. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  19. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล มะขามเมืองใหม่ เป็น เทศบาลตำบลมะขามเมืองใหม่". July 25, 2008. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  20. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ฉมัน เป็น เทศบาลตำบลฉมัน". October 26, 2009. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  21. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล วังแซ้ม เป็น เทศบาลตำบลวังแซ้ม". October 26, 2009. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  22. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ท่าหลวง เป็น เทศบาลตำบลท่าหลวง". October 26, 2009. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  23. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลปัถวี เป็น เทศบาลตำบลปัถวี". September 30, 2011. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  24. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.