อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดนครราชสีมา)
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chaloem Phra Kiat |
ลานจอดเครื่องบิน ท่าอากาศยานนครราชสีมา | |
คำขวัญ: เมืองไก่ย่าง ช้างสี่งา พาล่องแพ แลไทรงาม ลือนามสนามบิน | |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอเฉลิมพระเกียรติ | |
พิกัด: 15°0′18″N 102°16′18″E / 15.00500°N 102.27167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 254.1 ตร.กม. (98.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 36,047 คน |
• ความหนาแน่น | 141.86 คน/ตร.กม. (367.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30230, 30000 (เฉพาะตำบลหนองงูเหลือม) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3032 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ หมู่ที่ 14 ถนนเพชรมาตุคลา ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา 30230 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เฉลิมพระเกียรติ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา โดยเป็นอำเภอที่ถูกจัดตั้งขึ้นในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 อำเภอนี้เป็นหนึ่งในหลายอำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือพาดผ่าน และเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนครราชสีมา แหล่งน้ำที่สำคัญในอำเภอคือแม่น้ำมูล
ประวัติ
- วันที่ 5 ธันวาคม 2539 แยกพื้นที่ตำบลช้างทอง ตำบลท่าช้าง ตำบลพระพุทธ ตำบลหนองงูเหลือม และตำบลหนองยาง อำเภอจักราช ไปตั้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ [1] ตามโครงการจัดตั้ง อำเภอ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539
โดยย้อนกลับไปในอดีต ก่อนที่จะเป็นอำเภอจักราช พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของอำเภอเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบันนั้นเคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอมาก่อน มีชื่อว่า กิ่งอำเภอท่าช้าง สถานที่ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเพ็ชรมาตุคลาในปัจจุบัน ครั้นเมื่อกิ่งอำเภอจะยกระดับเป็นอำเภอ จึงได้มองหาสถานที่ตั้งที่เหมาะสมอันจะประกอบไปด้วยสถานที่ตั้งของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น สถานีตำรวจ โรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งได้ที่ตั้งใหม่นั้นก็คือ สถานที่ตั้งที่เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอจักราชในปัจจุบัน
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโนนสูง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอจักราช
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโชคชัย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครราชสีมา
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเฉลิมพระเกียรติแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ช้างทอง | (Chang Thong) | 8 หมู่บ้าน | ||||
2. | ท่าช้าง | (Tha Chang) | 15 หมู่บ้าน | ||||
3. | พระพุทธ | (Phra Phut) | 12 หมู่บ้าน | ||||
4. | หนองงูเหลือม | (Nong Ngu Lueam) | 15 หมู่บ้าน | ||||
5. | หนองยาง | (Nong Yang) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลช้างทองและตำบลท่าช้าง
- องค์การบริหารส่วนตำบลช้างทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช้างทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้าง (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพระพุทธ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระพุทธทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองงูเหลือมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยางทั้งตำบล
การขนส่ง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 พาดผ่าน และมีสถานีรถไฟท่าช้างเป็นสถานีประจำอำเภอ มีขบวนรถเร็วหยุดรับ–ส่งผู้โดยสารพอสมควร นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานนครราชสีมา แต่ปัจจุบันไม่มีสายการบินให้บริการ
อ้างอิง
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 1–4. 20 พฤศจิกายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2010-05-11.