ฮิปฮอป
ฮิปฮอป (แร็ป) | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ |
|
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ต้นทศวรรษที่ 1970 เดอะบร็องซ์ นครนิวยอร์ก สหรัฐ |
เครื่องบรรเลงสามัญ | เทิร์นเทเบิล, การแร็ป, ดรัมแมชชีน, แซมเพลอร์, เครื่องสังเคราะห์เสียง, บีทบ็อกซ์ |
รูปแบบอนุพันธุ์ | ทริปฮอป, ไกรม์ |
แนวย่อย | |
แอบสแตรกต์ - อัลเทอร์เนทีฟ - Chopped and screwed - คริสเตียน - Conscious - ครังก์ - แกงสตา - จี-ฟังก์ - ฮาร์ดคอร์ - ฮอร์เรอร์คอร์ - ไฮฟี - Instrumental - แจ๊สแร็ป - ละตินแร็ป - ม็อบบ - เนิร์ดคอร์ - โอลด์สคูล - ป็อปแร็ป - สแน็ป | |
แนวประสาน | |
คันทรีแร็ป - อีเลคโทรฮ็อป - ฟรีสไตล์ - ฮิปเฮาส์ - ฮิปไลฟ์ - เกตโตเทค - ฮิปฮอปโซล - ไมอามีเบส - นีโอโซล - นิวแจ็กสวิง - เรกกา - แร็ปคอร์ - เรกเกตัน - เออร์เบิร์น พาซิฟิกา |
ฮิปฮอป (อังกฤษ: hip hop หรือ hip-hop) เดิมเรียก ดิสโกแร็ป (disco rap)[2][3] เป็นแนวหนึ่งของเพลงสมัยนิยม เกิดขึ้นในนครนิวยอร์กช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ประกอบด้วยดนตรีที่เป็นจังหวะ ซึ่งมักดำเนินตามเสียงตีกลอง และมักมีการแร็ป[4] คำว่า "ฮิปฮอป" บางครั้งใช้เป็นไวพจน์ของ "แร็ป" แม้ว่าฮิปฮอปไม่จำเป็นต้องแร็ปเสมอไปก็ตาม[4][5] องค์ประกอบอื่น ๆ ของฮิปฮอปยังได้แก่เสียงบีตจากแซมพลิง หรือเบสไลน์จากสิ่งบันทึกเสียงหรือการสังเคราะห์เสียง และบีตบ็อกซ์[6][7] นอกจากนี้ ฮิปฮอปอาจมีองค์ประกอบจากวัฒนธรรมอื่นอีกได้ เช่น ดีเจอิง สแคร็ตชิง หรือเทิร์นเทบลิสซึม[8][9]
ฮิปฮอป ทั้งในแง่ที่เป็นแนวเพลง และเป็นวัฒนธรรมนั้น ก่อกำเนิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 ช่วงที่การรวมตัวแบบบล็อกพาร์ทีได้รับความนิยมทวีขึ้นอย่างยิ่งในนครนิวยอร์ก โดยเฉพาะในหมู่ยุวชนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันที่อาศัยในเดอะบร็องซ์ ในการรวมตัวดังกล่าว ดีเจจะเล่นเพลงป็อปโดยใช้เครื่องเล่นแบบเทิร์นเทเบิลสองตัวพร้อมกับดีเจมิกเซอร์ และการแร็ปก็พัฒนาขึ้นจากการที่ศิลปินพูดหรือร้องไปตามทำนองบีตที่เล่นนี้เอง[10] แต่ฮิปฮอปไมได้รับการบันทึกเสียงอย่างเป็นทางการเพื่อนำไปเล่นตามวิทยุหรือโทรทัศน์จนกระทั่ง ค.ศ. 1979 เหตุผลหลัก คือ ภาวะอัตคัดทางการเงินในช่วงที่ฮิปฮอปถือกำเนิด ประกอบกับฮิปฮอปไม่เป็นที่ยอมรับภายนอกชุมชนแออัด[11] อย่างไรก็ดี ฮิปฮอปยังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดมาในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 จนถึงต้น 2000 ทั้งยังได้รับการใช้เป็นส่วนหนึ่งในเพลงป็อปแนวอื่น เช่น นีโอโซล นูเมทัล และอาร์แอนด์บีร่วมสมัย กระทั่งกลางจนถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 2010 และต้น 2020 แนวเพลงย่อยของฮิปฮอปอย่างแทร็ปแร็ปและมัมเบิลแร็ปก็กลายเป็นแนวเพลงฮิปฮอปซึ่งได้รับความนิยมสูงสุด และใน ค.ศ. 2017 ดนตรีร็อกก็ถูกฮิปฮอปแทนที่ในฐานะแนวเพลงอันที่นิยมมากที่สุดในสหรัฐ[12][13][14]
ส่วนฮิปฮอปในแง่คำศัพท์นั้น คำว่า "ฮิป" และ "ฮอป" มีประวัติการใช้งานควบคู่กันมายาวนานอยู่แล้ว เช่น ในคริสต์ทศวรรษ 1950 มีการเรียกงานรื่นเริงของวัยรุ่นว่า "ฮิปพิทีฮอป"[15] แต่การนำคำว่า "ฮิปฮอป" มาใช้เรียกแนวดนตรี มักยกให้เป็นผลงานของคีฟ คาวบอย นักแร็ปชาวอเมริกัน[16] โดยครั้งนั้น แนวเพลงนี้ยังเรียกกันด้วยชื่ออื่นว่า "ดิสโกแร็ป"[17] เชื่อกันว่า คีฟ คาวบอย สร้างคำนี้ขึ้นหยอกเย้าเพื่อนคนหนึ่งที่เป็นทหารแล้วร้องคำว่า "ฮิป" และ "ฮอป" เป็นเพลงด้วยวิธีสแคตซิงกิงเพื่อล้อเลียนจังหวะมาร์ชของทหาร[16]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ "Hip-Hop's Jazz Roots". Merriam-Urban Jazz. Urban Jazz, Incorporated. สืบค้นเมื่อ August 24, 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Trapp, Erin (July 1, 2005). "The Push and Pull of Hip-Hop: A Social Movement Analysis". American Behavioral Scientist. 48 (11): 1482. doi:10.1177/0002764205277427. S2CID 146340783.
Much scholarly effort has been devoted to hip-hop (also known as rap) music in the past two decades...
- ↑ Leach, Andrew (2008). ""One Day It'll All Make Sense": Hip-Hop and Rap Resources for Music Librarians". Notes. 65 (1): 9–37. doi:10.1353/not.0.0039. ISSN 0027-4380. JSTOR 30163606. S2CID 144572911. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 28, 2021. สืบค้นเมื่อ December 5, 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Encyclopædia Britannica article on rap, retrieved from britannica.com เก็บถาวร สิงหาคม 3, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: Rap, musical style in which rhythmic and/or rhyming speech is chanted ("rapped") to musical accompaniment. This backing music, which can include digital sampling (music and sounds extracted from other recordings by a DJ), is also called hip-hop, the name used to refer to a broader cultural movement that includes rap, deejaying (turntable manipulation), graffiti painting, and break dancing.
- ↑ Encyclopædia Britannica article on hip-hop, retrieved from britannica.com เก็บถาวร พฤษภาคม 11, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: Hip-hop, cultural movement that attained widespread popularity in the 1980s and '90s; also, the backing music for rap, the musical style incorporating rhythmic and/or rhyming speech that became the movement's most lasting and influential art form.
- ↑ Harvard Dictionary of Music article for hip hop, retrieved from Google Books เก็บถาวร มกราคม 10, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: While often used to refer to rap music, hip hop more properly denotes the practice of the entire subculture
- ↑ AllMusic article for Hip-hop/Urban, retrieved from AllMusic.com: Hip-Hop is the catch-all term for rap and the culture it spawned. เก็บถาวร มีนาคม 11, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Hip-hop". Merriam-Webster Dictionary. Merriam-Webster, Incorporated. สืบค้นเมื่อ February 5, 2017.
- ↑ "Hip-hop". Oxford English Dictionary. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ October 6, 2011.
- ↑ McNamee, David (January 11, 2010). "Hey, what's that sound: Turntablism". The Guardian. สืบค้นเมื่อ March 22, 2017.
- ↑ Dyson, Michael Eric, 2007, Know What I Mean?: Reflections on Hip-Hop, Basic Civitas Books, p. 6.
- ↑ Berry, Peter A. "Nielsen Says Hip-Hop/R&B Is Now Most Consumed Genre in U.S. - XXL". XXL Mag (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
- ↑ Lynch, John. "For the first time in history, hip-hop has surpassed rock to become the most popular music genre, according to Nielsen". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
- ↑ "Hip hop and R&B surpass rock as biggest U.S. music genre". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2018-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
- ↑ Chang, Jeff (April 10, 2016). "How Hip-Hop Got Its Name". Medium (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 1, 2020.
- ↑ 16.0 16.1 "Keith Cowboy – The Real Mc Coy". March 17, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2006. สืบค้นเมื่อ January 12, 2010.
- ↑ "Afrika Bambaataa talks about the roots of Hip Hop". YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ February 25, 2021.