เขตมิสซังเชียงใหม่
เขตมิสซังเชียงใหม่ Dioecesis Chiangmaiensis | |
---|---|
อาสนวิหารพระหฤทัย | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
มหานคร | เขตมิสซังกรุงเทพฯ |
สถิติ | |
พื้นที่ | 50,342.30 ตารางกิโลเมตร (19,437.27 ตารางไมล์) |
ประชากร - รวม - คาทอลิก | (2023) 3,142,878 50,913 (1.7%) |
แพริช | 31 |
คณะ | 32 |
โรงเรียน | 9 |
ข้อมูล | |
นิกาย | คาทอลิก |
Sui iuris church | คริสตจักรละติน |
จารีต | พิธีกรรมโรมัน |
อาสนวิหาร | อาสนวิหารพระหฤทัย |
บาทหลวง | 47 |
ผู้นำปัจจุบัน | |
สันตะปาปา | สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส |
มุขนายก | ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ |
มุขนายกมหานคร | เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช |
แผนที่ | |
เขตมิสซังเชียงใหม่[1] หรือสังฆมณฑลเชียงใหม่ เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง (เว้นอำเภองาว) จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน[2] และมีสถานะเป็นปริมุขมณฑลของเขตมิสซังกรุงเทพฯ
สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 5/3 ถ.เจริญประเทศ 12 ต.ช้างคลาน อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50100
ประวัติ
เขตมิสซังเชียงใหม่มีจุดเริ่มต้นมาจากการเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในภาคเหนือ โดยสมัยมุขนายกฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว ดำรงตำแหน่งประมุขมิสซังสยาม ได้ส่งบาทหลวง 2 องค์ คือบาทหลวงกร็องฌ็อง และบาทหลวงวากาล มาเป็นมิชชันนารีเผยแพร่ศาสนาที่เชียงใหม่ ถึงเมื่อวันที่ถึงเชียงใหม่ในบ่ายวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1844 เริ่มแรกได้รับการต้อนรับจากเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เป็นอย่างดี แต่ภายหลังมีท่าทีเปลี่ยนไปทำให้งานแพร่ธรรมต้องหยุดลง ต่อมาสมัยมุขนายกเรอเน แปร์รอส ได้รื้อฟื้นงานแพร่ธรรมขึ้นอีกครั้ง โดยส่งบาทหลวง 2 องค์ คือบาทหลวงฟูยัง (Fouillat) และบาทหลวงบรัวซา (Broizat) มาทำหน้าที่ และได้ตั้งศูนย์แพร่ธรรมที่เชียงใหม่ได้เป็นผลสำเร็จ แต่จากนั้นไม่นานก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บาทหลวงทั้งสองถูกเรียกตัวกลับ งานประกาศศาสนาจึงต้องชะงักลงอีกครั้ง ต่อมา ค.ศ. 1926 มิสซังกรุงเทพฯ จึงส่งบาทหลวงขึ้นมาอีกรอบ ประกอบด้วยบาทหลวงยอร์ช มีราแบล (Mirabel) จากคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส พร้อมกับบาทหลวงพื้นเมืองชาวไทยคือบาทหลวงนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ทั้งสองได้ตั้งต้นที่พิษณุโลกก่อน เพราะมีชาวจีนอาศัยอยู่มาก[3]
ต่อมาวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1931 ทั้งสองจึงมาถึงเชียงใหม่แล้วเริ่มประกาศศาสนาอีกครั้ง และได้เชิญคณะนักบวชคาทอลิกหลายคณะมาช่วยงานการศึกษาด้วย เช่น คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมันมาเปิดโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย คณะภราดาเซนต์คาเบรียลมาเปิดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย การเผยแพร่ได้ขยายตัวไปทั่วจังหวัด แล้วจึงขยายไปจังหวัดอื่น ๆ ในเขตภาคเหนือตามลำดับ[4]
ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 จึงทรงยกสถานะภาคเหนือจึงเป็นเขตหัวหน้าจากสันตะสำนัก (Prefecture Apostolic) แล้วได้เป็นมุขมณฑลในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1965[5] แต่ราชการไทยยังคงเรียกว่าเขตมิสซังเชียงใหม่ ต่อมาวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2018 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงแยกจังหวัดเชียงราย แพร่ น่าน พะเยา และอำเภองาว จังหวัดลำปาง ออกจากเขตมิสซังเชียงใหม่มาสถาปนาเป็นเขตมิสซังเชียงราย[6]
ลำดับมุขนายก
นับแต่ได้รับสถานะเป็นมุขมณฑล มิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่มีมุขนายกเป็นประมุขมาแล้ว 4 องค์ โดยหัวหน้าจากสันตะสำนักประจำมิสซังเชียงใหม่คือพระคุณเจ้าลูว์เซียง ลากอสต์ได้เป็นมุขนายกผู้ดูแลของสันตะสำนักประจำมิสซังเชียงใหม่องค์แรก มุขนายกทั้ง 4 ได้แก่
ลำดับที่ | รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | หมดวาระ |
---|---|---|---|---|
1 | ลูว์เซียง แบร์นาร์ ลากอสต์ | ผู้ดูแลของสันตะสำนัก | ค.ศ. 1959 | ค.ศ. 1975 |
2 | โรเบิร์ต รัตน์ บำรุงตระกูล | มุขนายกประจำมุขมณฑล | ค.ศ. 1975 | ค.ศ. 1987 |
3 | ยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ | มุขนายกประจำมุขมณฑล | ค.ศ. 1987 | ค.ศ. 2009 |
4 | ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ | มุขนายกประจำมุขมณฑล | ค.ศ. 2009 | ปัจจุบัน |
สถิติ
สถิติมิสซังเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555–2559 มีดังนี้
ข้อมูล | พ.ศ. 2555[7] | พ.ศ. 2556[8] | พ.ศ. 2556[9] | พ.ศ. 2557[10] | พ.ศ. 2558[11] | พ.ศ. 2559[12] | พ.ศ. 2561[13] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชาวคาทอลิก | 61,847 | 63,273 | 63,273 | 71,694 | 71,694 | 67,396 | 53,572 |
บาทหลวงมิสซังเชียงใหม่ | 28 | 29 | 29 | 30 | 33 | 35 | 36 |
บาทหลวงมิสซังกรุงเทพฯ | 3 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 2 |
บาทหลวงคณะธรรมทูตไทย | 3 | 5 | 5 | 5 | 5 | 5 | – |
บาทหลวงคณะธรรมทูตอิตาลี | 6 | 6 | 6 | 6 | 4 | 4 | 4 |
บาทหลวงคณะยารูมาล | 2 | 2 | 2 | 2 | 4 | 3 | 2 |
บาทหลวงจากเมียนมาร์ | 2 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 |
นักบวชคณะเบธาราม | 14 | 19 | 19 | 23 | 23 | 23 | 18 |
นักบวชคณะปีเม | 7 | 7 | 7 | 6 | 7 | 6 | 2 |
นักบวชคณะเยสุอิต | 5 | 5 | 5 | 5 | 5 | 5 | 4 |
นักบวชคณะพระมหาไถ่ | 9 | 8 | 8 | 8 | 8 | 7 | 4 |
นักบวชคณะซาเลเซียน | 4 | 5 | 5 | 4 | 5 | 3 | 3 |
นักบวชคณะคามิลเลียน | 3 | 4 | 4 | 4 | 4 | 3 | – |
นักบวชคณะอิเดนเตส | 2 | 1 | 1 | 1 | 2 | 3 | 3 |
นักบวชคณะเบเนดิกติน | 1 | 2 | 1 | 2 | 2 | 2 | 1 |
ภราดาเซนต์คาเบรียล | 9 | 9 | 9 | 9 | 9 | 9 | 11 |
ภคินี | 151 | 159 | 159 | 163 | 163 | 163 | 107 |
โบสถ์ | 45 | 46 | 46 | 50 | 49 | 50 | 34 |
- หมายเหตุ : ในปลายปี พ.ศ. 2557 มิสซังเชียงใหม่รายงานสถิติเก่าของปี พ.ศ. 2556 ทำให้มีข้อมูลซ้ำกันสองปี
โรงเรียนคาทอลิกในเขตมิสซังเชียงใหม่
ชื่อสถาบัน | จังหวัด | ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. |
---|---|---|
1. โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย | เชียงใหม่ | 2475 |
2. โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย | เชียงใหม่ | 2475 |
3. โรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่ | เชียงใหม่ | 2475 |
4. โรงเรียนอรุโณทัย | ลำปาง | 2498 |
5. โรงเรียนศีลรวี | เชียงใหม่ | 2500 |
6. โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง | ลำปาง | 2501 |
7. โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ | เชียงใหม่ | 2537 |
8. โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเชียงใหม่ | เชียงใหม่ | 2551 |
9. โรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่แจ่ม | เชียงใหม่ | 2552 |
อ้างอิง
- ↑ "ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและองค์การศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย" (PDF). กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. p. 161. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2011.
- ↑ "สังฆมณฑลเชียงใหม่". สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2009. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2011.
- ↑ "ประวัติสังฆมณฑลเชียงใหม่". สังฆมณฑลเชียงใหม่. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012.
- ↑ อนุสรณ์พระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ประมุขสังฆมณฑลเชียงใหม่ ค.ศ. 1987–2009. pp. 87–99.
- ↑ David M. Cheney. "Diocese of Chiang Mai". The Hierarchy of the Catholic Church (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ประกาศตั้งสังฆมณฑลเชียงราย". สังฆมณฑลเชียงใหม่. 25 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2018.
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2556/2013. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2557/2014. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2558/2015. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2559/2016. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2560/2017. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2561/2018. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
- ↑ ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2562/2019. กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย. หน้า 3.
แหล่งข้อมูลอื่น
- สังฆมณฑลเชียงใหม่, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 สิงหาคม 2010