เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว
เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว | |
---|---|
ประเภท | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ห้าชั้น |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2465 |
ประเทศ | เช็กเกีย |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
ผู้สมควรได้รับ | ชาวเช็กเกียและชาวต่างประเทศ |
มอบเพื่อ | ผู้กระทำคุณความดีต่อรัฐบาลและประชาชนแห่งสาธารณรัฐเช็ก ทั้งชาวเช็กเกียและชาวต่างชาติ |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว (เช็ก: Řád Bílého lva) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศเช็กเกีย โดยสืบต่อจากเครื่องอิสริยาภรณ์ชื่อเดียวกันในสมัยเชโกสโลวาเกีย[1] โดยเครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2465 สำหรับชาวต่างประเทศเท่านั้น ก่อนจะมีการแก้ไขกฎหมายให้มีการมอบแก่พลเรือนของเชโกสโลวาเกียในภายหลัง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากกางเขนขุนนางของโบฮิเมียซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และได้มอบแก่ชาวโบฮิเมียไป 37 ราย
ประวัติ
พ.ศ. 2465–2504
เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาว ถูกสร้างขึ้นมาภายใต้คำสั่งที่ 243/1920 sb. เมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยจะมอบให้กับชาวต่างประเทศเท่านั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชั้น ต่อมาเมื่อเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ได้นำมามอบให้แก่ชาวเชโกสโลวาเกียที่มีส่วนร่วมในการต่อต้านนาซีเยอรมนีที่เข้ามารุกรานประเทศเชโกสโลวาเกีย และได้สร้างเครื่องเสนาอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาวสำหรับมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ทางทหารต่างหากใน พ.ศ. 2488 โดยได้มอบให้แก่ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ทหารชาวอเมริกัน ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองยังคงมีการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้เรื่อยมา โดยผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ เช เกบารา[2], พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็นต้น
พ.ศ. 2504–2535
เมื่อเชโกสโลวาเกียเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ยังคงมีการมอบเช่นเดิม แต่อยู่ในชั้นที่สองรองจากเครื่องอิสริยาภรณ์เคลเมนต์ ก็อตวอร์ด และปรับเปลี่ยนจำนวนลำดับชั้นของเครื่องอิสริยาภรณ์จากห้าชั้นเหลือเพียงสามชั้นเท่านั้น โดยยังมีการมอบเรื่อยมาจนกระทั่งการแยกตัวของเชโกสโลวาเกียและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตย
พ.ศ. 2537–ปัจจุบัน
หลังการเปลี่ยนผ่านประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย และการแยกตัวของเชโกสโลวาเกีย เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ยังมีการมอบอีกเช่นเคยโดยอยู่ในฐานะเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสาธารณรัฐเช็ก และปรับเปลี่ยนแพรแถบย่อและลักษณะเครื่องอิสริยาภรณ์ใหม่ และเพิ่มจำนวนชั้นเป็นห้าชั้นเช่นเดียวกับสมัยที่เพิ่งสร้างเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ ซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งภายใต้คำสั่งที่ 57/1994 sb. โดยมอบให้กับทั้งชาวเช็กเกียและชาวต่างประเทศที่กระทำคุณประโยชน์และช่วยเหลือกิจการของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเช็ก บางครั้งอาจมีการมอบย้อนหลังการเสียชีวิต ซึ่งเคยมีการมอบย้อนหลังให้แก่วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เมื่อ พ.ศ. 2555[3] และมีการมอบให้แก่นิโกลัส วินตอนชาวเช็กเกียเชื้อสายยิว เมื่อ พ.ศ. 2557[4][5][6]
โดยคำขวัญของเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ คือ Pravda vítězí (ความจริงนำไปสู่ชัยชนะ)[7]
แพรแถบย่อ
แพรแถบย่อของเครื่องอิสริยาภรณ์ | ||||
---|---|---|---|---|
สาธารณรัฐเชโกสโลวัก (พ.ศ. 2465–2504) |
สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก (พ.ศ. 2504–2533) |
สหพันธ์สาธารณรัฐเชโกสโลวัก (พ.ศ. 2533–2535) |
สาธารณรัฐเช็ก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2537) | |
ชั้นที่ 1 | ||||
ชั้นที่ 2 | ||||
ชั้นที่ 3 | ||||
ชั้นที่ 4 | ไม่มี | |||
ชั้นที่ 5 | ไม่มี | |||
เหรียญทอง | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | |
เหรียญเงิน | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี |
ระเบียงภาพ
-
สายสร้อยของเครื่องอิสริยาภรณ์ (พ.ศ. 2465 – 2504)
-
ดาราของเครื่องอิสริยาภรณ์ (พ.ศ. 2465 – 2504)
-
แพรแถบและดวงตราของเครื่องอิสริยาภรณ์ (พ.ศ. 2465 – 2504)
-
เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาวยุคสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก
-
เครื่องอิสริยาภรณ์ราชสีห์ขาวยุคสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก
-
ชุดเครื่องอิสริยาภรณ์ในพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงปราก
-
สายสร้อยของเครื่องอิสริยาภรณ์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2537)
อ้างอิง
- ↑ Viz vládní nařízení č. 362/1922 Sb. a předpisy navazující (261/1924 Sb., 120/1930 Sb., 170/1936 Sb., 10/1961 Sb.).
- ↑ ""Che" Guevara, condecorado por Checoslovaquia". ABC. 29 de octubre de 1960. Consultado el 13 de octubre de 2014.
- ↑ ČTK. "Seznam osobností vyznamenaných letos při příležitosti 28. října". ceskenoviny.cz. (in Czech)
- ↑ "White Lion goes to Winton and Winston". The Prague Post. 28 October 2014.
- ↑ "Sir Nicholas Winton at 105: the man who gave 669 Czech children the 'greatest gift'". The Daily Telegraph. 21 May 2014.
- ↑ "Nicholas Winton honoured by Czechs for saving children from Nazis". BBC News.
- ↑ Příloha zákona č. 157/1994 Sb., stanovy Řádu Bílého lva. Dostupné online.