เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ
เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ | |
---|---|
![]() | |
ผู้พัฒนา | วาล์ว คอร์ปอเรชั่น ฮิตเดน แพทซ์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ |
ผู้จัดจำหน่าย | วาล์ว คอร์ปอเรชั่น |
แต่งเพลง | ไมค์ โมอราสกี |
ชุด | เคาน์เตอร์-สไตรก์ |
เอนจิน | ซอร์ส |
เครื่องเล่น | วินโดวส์ โอเอสเทน เพลย์สเตชัน 3 เอกซ์บอกซ์ 360 ลินุกซ์ |
วางจำหน่าย | 21 สิงหาคม 2555 |
แนว | เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง |
รูปแบบ | ผู้เล่นหลายคน |
เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ (อังกฤษ: Counter-Strike: Global Offensive, ย่อเป็น CS:GO) เป็นวิดีโอเกมออนไลน์ประเภทยิงทางยุทธวิธีมุมมองบุคคลที่หนึ่ง พัฒนาโดย วาล์ว คอร์ปอเรชั่นและฮิตเดน แพทซ์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นเกมชุดที่ 4 จากแฟรนไชส์เคาน์เตอร์-สไตรก์ ตัวเกมส์ได้รับการพัฒนามากกว่าสองปี โกลบัลออฟเฟนซิฟปล่อยออกมาในระบบปฏิบัติการวินโดวส์, แมคโอเอส, เอกซ์บอกซ์ 360 และเพลย์สเตชัน 3 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 และปล่อยในระบบปฏิบัติการลินุกซ์ใน พ.ศ. 2557 วาล์วได้พัฒนาเกมอย่างต่อเนื่องทั้งอัปเดตแพตช์ขนาดเล็กเพื่อปรับสมดุลหรือเพิ่มเนื้อหาขนาดใหญ่เพิ่มเติม
ตัวเกมจะแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองทีมคือ หน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้าย และ กลุ่มผู้ก่อการร้าย โดยจะมีโหมดเกมส์และภารกิจที่แตกต่างกันออกไป โหมดที่ได้ความนิยมสูงสุดมีอยู่ 2 ภารกิจคือ ภารกิจวางระเบิดที่ผู้ก่อการร้ายจะต้องไปวางระเบิดในจุดที่กำหนดส่วนหน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้ายจะต้องหยุดยั้งกลุ่มผู้ก่อการร้ายไว้ให้ได้ กับภารกิจช่วยเหลือตัวประกันที่หน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้ายจะต่องบุกเข้าไปในฐานของกลุ่มผู้ก่อการร้ายเพื่อช่วยเหลือตัวประกันออกมา ในเกมเคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟมีทั้งหมด 8 โหมดให้เลือกเล่นซึ่งก็มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป โหมดล่าสุดของเกมคือ "โซนอันตราย" ซึ่งเป็นโหมดแบตเทิลรอยัล เปิดตัวในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561
เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟได้รับคำวิจารย์ในเชิงบวกเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงฟีเจอร์ในช่วงแรก ๆ และความต่างระหว่างเวอร์ชันคอนโซลและเวอร์ชันพีซี นับตั้งแต่เปิดตัว มีผู้เล่นเล่นเกมนี้กว่า 11 ล้านคนต่อเดือนและเป็นหนึ่งในเกมที่มีผู้เล่นมากที่สุดบนแพลตฟอร์มสตรีม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 วาล์วได้เปิดให้เล่นเป็นเกมฟรีและไปเน้นรายได้จากสกินอาวุธในเกมแทน
เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟมีการแข่งขันอีสปอร์ตในระดับนานาชาติ โดยมีการแข่งขันระหว่างทีมภายในลีกอาชีพ ทำให้ซีเอสจีโอเป็นหนึ่งในเกมที่มีการแข่งขันอีสปอร์ตระดับโลก
รูปแบบการเล่น
เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟเป็นเกมแนวยิงมุมมองบุคคลที่ 1 หลายผู้เล่น ตามแฟรนไชส์เคาน์เตอร์-สไตรก์ก่อนหน้านี้ ผู้เล่นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ หน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้าย กับ ผู้ก่อการร้าย โดยจะแข่งกันทำภารกิจอย่างวางระเบิด เก็บกู้ระเบิด ฆ่าทีมศตรู ช่วยเหลือตัวประกัน[1][2] หลังจบรอบผู้เล่นจะได้รางวัลตามผลงานของรอบก่อนหน้า เงินที่ได้จะนำมาซื้ออาวุธที่ดีกว่าและอุปกรณ์เสริมที่มากกว่าเพื่อชิงความได้เปรียบ[3] หากทีมไหนชนะรอบก็จะได้เงินมากว่าทีมที่แพ้ หากทำภารกิจภายในรอบหรือฆ่าศัตรูภายในรอบก็จะได้เงินรางวัลเพิ่มขึ้น[1][4]
เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟมีโหมดแตกต่างกันออกไปทั้งหมด 8 โหมด: 1.แข่งขัน 2.แคสชวล 3.เดทแมตซ์ 4.ประชันอาวุธ 5.ทำลายล้าง 6.วิงแมน 7.สไนเปอร์บิน 8.โซนอันตราย[5][6][7] โหมดแข่งขันจะเป็นโหมดหลักของเกม[8] โหมดนี้จะแบ่งเป็นทีมละ 5 คนและชนะรอบให้ครบ 16 รอบจาก 30 รอบก่อนจึงจะชนะ[9] เมื่อเล่นโหมดแข่งขันผู้เล่นจะถูกจัดลำดับตามความสามารถและจับคู่เกมในกลุ่มคนที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน[1] โหมดแคสชวลและเดทแมตซ์เป็นเกมโหมดที่ไม่ค่อยจริงจังมากนัก ส่วนมากไว้ใช้เพื่อพัฒนาความสามารถ[10][11] โหมดประชันอาวุธและโหมดทำลายล้างจะเป็นเกมโหมดที่ใช้แมพใหม่ที่ไม่เคยมีในแฟรนไชส์เคาน์เตอร์-สไตรก์ก่อนหน้านี้[1] ประชันอาวุธจะมีลักษณะคือเมื่อยิงครบสองตัวอาวุธจะเปลี่ยนไปตามลำดับขั้น ส่วนโหมดทำลายล้างจะต้องทำการสังหารศัตรูและทำภารกิจในแต่ละรอบเพื่ออัปเกรทอาวุธในรอบถัดไป[1] โหมดวิงแมนจะคล้าโหมดแข่งขันแต่แผนที่ละเล็กกว่า มีสองทีมทีมละสองคนและต้องชนะให้ได้ 9 รอบจาก 16 รอบ โหมดนี้จะมีการจัดลำดับความสามารถเหมือนกับโหมดแข่งขันเช่นกัน[7] สไนเปอร์บินเป็นโหมดที่ผู้เล่นจะสามารถกระโดดได้สูงและนานเหมือนว่าอยู่บนที่แรงดึงดูดต่ำ อาวุธใช้ได้แค่ปืน SSG 08 (รู้จักกันในอีกชื่อคือ สเกาท์) และมีด[12] โซนอันตรายเป็นโหมดแบทเทิลรอยัลที่ผู้เล่นสูงสุด 18 คนและต้องหาเงินหรืออาวุธมาเพื่อฆ่าศัตรูและอยู่รอดให้ได้เป็นคนหรือทีมสุดท้าย[13][14] นอกจากนี้ยังมีโหมดฝึกซ้อมเพื่อช่วยให้ให้ผู้เล่นใหม่รู้จักกการใช้อาวุธ[15] ทั้งนี้ทั้ง 8 โมดที่กล่าวมาสามารถเล่นได้ทั้งแบบออนไลน์กับผู้เล่น หรือเล่นแบบออฟไลน์กับบอต[6]
อาวุธภายในเกมมีทั้งหมด 5 ประเภท คือ ปืนพก ปืนหนัก ปืนกลเบา ปืนไรเฟิล ระเบิดมือ[16] แต่ละปืนในเกมจะมีรูปแบบการดีดของปืนซึ่งสามารถทำให้ควบบคุมได้เหมือกับในซีรียก่อนหน้า[17][18] ซีเอสจีโอได้เพิ่มอาวุธที่ไม่เคยมีในซีรียก่อนหน้าอย่าง อาวุธช็อกไฟฟ้าและระเบิดเพลิง[19]
การพัฒนา
การแข่งขัน
ฟแนติกทีมจากประเทศสวีเดนชนะเลิศในการแข่งขันดรีมแฮกสตีลซีรีส์ เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ แชมเปียนชิป ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีเงินรางวัลรวมในการแข่งขันทั้งหมด 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[20] Virtus.Pro ชนะเลิศในการแข่งขัน EMS One Katowice 2014 แชมเปียนชิป โดยมีเงินรางวัลรวมในการแข่งขันทั้งหมด 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[21]
นินจาในชุดนอนชนะเลิศในการแข่งขัน ESL One Cologne 2014 ทัวร์นาเมนต์ ใน พ.ศ. 2557 โดยมีเงินรางวัลรวมในการแข่งขันทั้งหมด 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[22] ทีมสุดท้ายที่ชนะเลิศคือ Team LDLC.com ซึ่งชนะเลิศในการข่งขันดรีมแฮกวินเทอร์ 2014, ต่อมา การแข่งขัน ESL One ได้จัดขึ้นอีกครั้งที่ Katowice ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม พ.ศ. 2558 โดยในวันที่ 15 มีนาคม Fnatic ชนะเลิศในการแข่งขันโดยเอาชนะทีมนินจาในชุดนอน ทั้ง 2 แผนที่ ได้ทั้งหมดรวม 16-13
วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558 เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ ทัวร์นาเมนต์ มีเงินรวมในการแข่งขันทั้งหมด 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีผู้เล่นชาวสวีเดนได้รับเงินไปทั้งหมด 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[23]
อ้าง
แหล่งข้อมูลอื่น
ตัวอย่างการอ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Pinsof, Allistair (August 24, 2012). "Review: Counter-Strike: Global Offensive". Destructoid. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2017. สืบค้นเมื่อ April 7, 2014.
- ↑ Owen, Phil (August 31, 2012). "GAME BYTES: 'Counter-Strike' Lackluster". The Tuscaloosa News. New Media Investment Group. สืบค้นเมื่อ February 7, 2017 – โดยทาง Questia.
- ↑ Heath, Jerome; Villanueva, Jamie (4 May 2020). "CS:GO Economy Guide: How it Works, Bonuses, the Meta, and More". Dot Esports. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
- ↑ "Counter-Strike: Global Offensive". blog.counter-strike.net. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
- ↑ 6.0 6.1 Senior, Tom (August 21, 2012). "Counter-Strike: Global Offensive patch adds Weapons Course and Zombie Mod support". PC Gamer. Future plc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2017. สืบค้นเมื่อ January 6, 2017.
- ↑ 7.0 7.1 Villanueva, Jamie (November 15, 2017). "Several maps and game modes permanently added to CS:GO as Operation Hydra ends". Dot eSports. The Daily Dot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2019. สืบค้นเมื่อ November 16, 2017.
- ↑ Neigher, Eric (August 31, 2012). "Counter-Strike: Global Offensive Review". GameSpot. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2017. สืบค้นเมื่อ April 9, 2017.
- ↑ Lahti, Evan (January 19, 2015). "CS:GO competitive guide: your first match". PC Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2017. สืบค้นเมื่อ January 6, 2017.
- ↑ de Matos, Xav (August 28, 2012). "Counter-Strike Global Offensive review: Come at the king, you best not miss". Engadget. AOL Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2017. สืบค้นเมื่อ January 6, 2017.
- ↑ "How to find the perfect CS:GO crosshair for you". PC Gamer. April 12, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2017. สืบค้นเมื่อ June 22, 2017.
- ↑ Villanueva, Jamie (26 May 2017). "The Flying Scoutsman: How to play the CS:GO war game". Dot Esports. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
- ↑ Lahti, Evan (December 6, 2018). "CS:GO goes Battle Royale and free to play". PC Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2018. สืบค้นเมื่อ March 2, 2019.
- ↑ Liao, Shannon. "CS:GO Battle royale gamemode info". The Verge.
- ↑ Redler, Jannes. "CSGO Game Modes –– Information". DOT ESPORTS.
- ↑ Villanueva, Jamie (September 6, 2017). "A guide to CS:GO's weapons". Dot eSports. The Daily Dot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 24, 2018. สืบค้นเมื่อ October 13, 2017.
- ↑ Heath, Jerome (26 January 2021). "CS:GO Spray Pattern and Recoil Compensation Guide For Every Weapon". Dot Esports. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
- ↑ Gaston, Martin (August 23, 2017). "Counter-Strike: Global Offensive Review". VideoGamer.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2017. สืบค้นเมื่อ April 12, 2017.
- ↑ Dyer, Mitch (August 27, 2012). "Counter-Strike: Global Offensive Review". IGN. Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ August 28, 2012.
- ↑ "DreamHack 2013 Champions". Counter-Strike blog. 1 ธันวาคม 2013.
- ↑ "EMS One 2014: Winners". Counter-Strike blog. 17 มีนาคม 2014.
- ↑ "ESL One Cologne 2014 – Winners". Counter-Strike blog. 18 สิงหาคม 2014.
- ↑ "Top Countries For Counter-Strike: Global Offensive - Competitive Player Rankings :: e-Sports Earnings". e-Sports Earnings. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2015.