เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) | |
---|---|
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 [1][2] - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 | |
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2449 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2450 | |
ก่อนหน้า | พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) |
ถัดไป | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ |
เสนาบดีกระทรวงนครบาล | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ธันวาคม พ.ศ. 2450 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465[3] | |
ก่อนหน้า | พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2469 | |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) |
ถัดไป | สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 เมืองสุพรรณบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 (76 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงตลับ ยมราช |
บุตร | 16 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พันเอก นาวาอากาศเอก |
มหาอำมาตย์นายก พันเอก นาวาอากาศเอก เจ้าพระยายมราช นามเดิม ปั้น ต้นสกุลสุขุม[4] (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ทั้งยังเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง การประปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร ถนนและสะพานในกรุงเทพมหานครอีกด้วย
ประวัติ
มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ที่บ้านยะมะรัชโช จังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัวเป็นคหบดีตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ตำบลบ้านน้ำตก ริมแม่น้ำฟากตะวันออก ด้านใต้จากตัวเมืองสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องของนายกลั่น และนางผึ้ง
ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา (รวมตัวท่านด้วย) จำนวน 6 คน ดังนี้
- หลวงเทพสุภา (ฉาย สุขุม)
- นิล สุวรรณศร สมรสกับ หลวงแก้วสัสดี (ดี สุวรรณศร)
- พระยาสมบัติภิรมย์ (หมี สุขุม)
- คล้ำ ธูสรานนท์
- หยา สังข์พิชัย สมรสกับ หลวงจ่าเมือง (สิน สังข์พิชัย)
- มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
บรรดาศักดิ์
- พ.ศ. 2429 เป็นขุนวิจิตรวรสาสน์ ศักดินา 600 [5]
- 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 เป็นหลวงวิจิตรวรสาสน์ ศักดินา 600 [6]
- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เป็นพระวิจิตรวรสาสน์[7]
- 11 ตุลาคม พ.ศ. 2439 เป็นพระยาสุขุมนัยวินิต ตำแหน่งข้าหลวงสำหรับรับราชการในหัวเมือง กระทรวงมหาดไทย ศักดินา 1000[8]
- 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 เป็นเจ้าพระยามีสมญาตามจารึกในหิรัณยบัฏว่า เจ้าพระยายมราช ชาติเสนางคนรินทร์ มหินทราธิบดีศรีวิไชย ราชมไหสวรรยบริรักษ์ ภูมิพิทักษ์โลกาธิกรณ์ สิงหพาหเทพยมุรธาธรราชธานี มหาสมุหประธาน สุขุมนัยบริหารอเนกนรสมาคม สรรโพดมสุทธิศุขวัฒนาการ มหานคราภิบาล อรรคมาตยาธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ ถือศักดินา 10000[9]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2467 (นับแบบปัจจุบันตรงกับปี พ.ศ. 2468) เป็นเจ้าพระยารับพระราชทานสุพรรณบัฏ มีสมยาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยายมราช ชาติเสนางคนรินทร์ มหินทราธิราชศักดารักษ์ ภูมิพิทักษ์โลกาธิกรณ ราชสีหมุรธาธร สมุหมนตรีประธาน สุขุมนัยบริหารอเนกนรนาถ ฉัฏฐมราชคุรุฐานวโรปการี นิตยภักดีศรีสุโขปสดัมภก มหาอำมาตย์นายกเมตตาชวาธยาศัย พุทธาทิตรัยรัตนสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10000[10][11]
ยศและตำแหน่ง
- พ.ศ. 2430 ผู้ช่วยราชทูตสยามประจำ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฮอลแลนด์ และเบลเยียม[12]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2437 ปลัดกรมพลำภัง[13]
- 11 ตุลาคม พ.ศ. 2439 ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช[14]
- 29 มิถุนายน พ.ศ. 2449 ผู้แทนเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ[15]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2449 เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ[16]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2450 เสนาบดีกระทรวงนครบาลและอธิบดีกรมศุขาภิบาล[17]
- 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 - มรรคนายก วัดหงส์รัตนาราม[18]
- 7 มกราคม พ.ศ. 2453 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างข้าราชการกรมพระอาลักษณ์ ชั้นที่ 2 โท (เทียบเท่าชั้น รองหัวหมื่น)[19]
- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2454 นายหมู่ใหญ่[20]
- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2454 มหาอำมาตย์เอก[21]
- 30 กันยายน พ.ศ. 2454 นายกองตรี[22]
- 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 นายกองโท[23]
- 4 มิถุนายน พ.ศ. 2456 นายกองเอก[24]
- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2457 มหาเสวกเอก[25]
- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 นายพลเสือป่า[26]
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 มหาอำมาตย์นายก[27]
- 20 พฤศจิกายน 2463 – แต่งเครื่องยศกรมเสือป่าพรานหลวง[28]
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[29]
- 7 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เข้ารับพระราชทานตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[30]
- 3 มกราคม พ.ศ. 2478 พันเอก นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารอากาศ[31]
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 นาวาอากาศเอก นายทหารพิเศษ ประจำกองทัพอากาศ[32]
ครอบครัว
เจ้าพระยายมราช สมรสกับท่านผู้หญิงตลับ ยมราช (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร์) ธิดาพระยาไชยวิชิตสิทธิศาสตรา (นาค ณ ป้อมเพชร์) กับมีภรรยาอื่นชื่อคุณโต (ณ ป้อมเพชร์), คุณน้อม (ธิดานายกวด), คุณปุก ท่านมีบุตร-ธิดา ดังรายนามต่อไปนี้
1.พระยาสุขุมนัยวินิต (สวาท สุขุม) สมรสกับ พัน (ณ พัทลุง), คุณหญิงถนิม (นาวานุเคราะห์)และ คุณหญิงพวง
- 1.1. นายเผ่า (แดง) สุขุม
- 1.2. นางพยอม กัลยาณมิตร
- 1.3. นางชาติตระการโกศล (สุคนธ์ ลิมปิชาติ)
- 1.4. นายณรงค์ (น้อย) สุขุม
- 1.5. นางละเอียด นาวานุเคราะห์
2.คุณไสว สุขุม (ถึงแก่กรรมแต่เล็ก)
3.คุณแปลก สุขุม (ถึงแก่กรรมแต่เล็ก)
4.หม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
- 4.1. หม่อมราชวงศ์ (หญิง) นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร์
- 4.2. หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล
- 4.3. หม่อมราชวงศ์ (หญิง) สุพิชชา โสณกุล
5.หลวงพิสิฐสุขุมการ (ประพาศ สุขุม) สมรสกับ คุณมาลี (กิติโกเศศ) และ คุณประยงค์ สุขุม
- 5.1. เรืออากาศเอก นายแพทย์กิตติประวัติ สุขุม
- 5.2. พลอากาศโทพิสิฐ สุขุม
- 5.3. นางสุภางค์ โชติกเสถียร
- 5.4. นางรจิต จันทรางศุ
- 5.5. นางศุภวาร สุขุม
- 5.6. นายตระกล สุขุม
- 5.7. นางเฉิดโฉม สุขุม
6.พระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) สมรสกับ คุณผะอบ (จันเจือมาศ)
- 6.1. นายประสงค์ สุขุม
- 6.2. นายแพทย์ประเสริฐ สุขุม
- 6.3. นางสาวประสานศรี สุขุม
7.คุณประยงค์ สุขุม
8.คุณประสาท สุขุม สมรสกับเจ้าพรรณคำ ณ เชียงใหม่ (พระปนัดดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ )
9.หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ (ประดิษฐ์ สุขุม) สมรสกับ คุณรัตนา (ล้วน ญาณวารี), คุณเพิ่มศิริ (อมาตยกุล) และ ฯลฯ
- 9.1. นางสุมน กรรณสูต
- 9.2. นางประจง สารกิจปรีชา
- 9.3. นายประเดิม สุขุม
- 9.4. นางประพาฬ รัตนกนก
- 9.5. นางสาวสำเนา สุขุม
- 9.6. นางสินี ช่วงสุวนิช
- 9.7. นางประดิษฐา พรรธนะแพทย์
- 9.8. นายแพทย์ประดับ สุขุม
- 9.9. นางปราณี การ์เนียร์
- 9.10. นางสาวปาริชาติ สุขุม
- 9.11. นางนฤพร เกรซ
- 9.12. นางกิตติมา สังข์เกษม
10.คุณประวัติ สุขุม สมรสกับ คุณชำนัญ (โอสถานนท์)
- 10.1. นายทิพย์รักษ์ สุขุม
11.คุณเล็ก สุขุม (ถึงแก่กรรมแต่เล็ก)
12.คุณประนอม (นุ้ย) ณ นคร สมรสกับ รองเสวกตรีหยิบ ณ นคร
- 12.1. นายพัฒนพงษ์ ณ นคร
- 12.2. นายยุทธสาร ณ นคร
- 12.3. นางกรรณิกา อินทรสูต
- 12.4. นายน้อยอโศก ณ นคร
- 12.5. นายโยธิน ณ นคร
13.คุณหญิงประจวบ สุขุม (2453-2540:87 ปี) สมรสกับ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)
- 13.1. นางรุจิรา อมาตยกุล
- 13.2. นายมานน พึ่งบุญ ณ อยุธยา
14.พลตำรวจตรีนิตย์ สุขุม สมรสกับ หม่อมหลวงกมลา สุทัศน์
- 14.1. นางวนิดา ดุละลัมพะ
- 14.2. นางสาวกาญจนา สุขุม
15.คุณปอง นิติพน สมรสครั้งแรกกับ หม่อมเจ้ารุจยากร อาภากร และครั้งที่สองกับ นายสวัสดิ์ นิติพน
- 15.1. หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร
- 15.2. หม่อมราชวงศ์ (หญิง) จิยากร เสสะเวช
- 15.3. นายสุพน นิติพน
- 15.4. นายสุพจน์ นิติพน
16.คุณประณีต (แจ๋ว) ณ นคร สมรสกับ นายลาภ ณ นคร
- 16.1. นายชัยเลิศ ณ นคร
- 16.2. นายจร ณ นคร
- 16.3. นางเจนจุไร บราน์
เกียรติยศ
เครื่องยศ
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ดังต่อไปนี้
- พานทอง[33]
- คนโททอง[33]
- มาลาเส้าสะเทินเครื่องทองคำลงยา[34]
- เสื้อทรงประพาสขลิบทองคำ สำรับ[34]
- กระบี่ฝักทองคำ[34]
- หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยาตราพระสิงห์[34]
- ถาดชาทองคำ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญ และเข็มในประเทศไทย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในต่างประเทศ ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[35]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[36]
- พ.ศ. 2451 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[37]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[38]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[39]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[40]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[41]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[42]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[43]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[44]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[45]
- พ.ศ. 2449 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[46]
- พ.ศ. 2456 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[47]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[48]
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[49]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2450 - เข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป (เข็มเงิน)[50]
- พ.ศ. 2452 - เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้นที่ 1 (ทองคำลงยาราชาวดี)[51]
- พ.ศ. 2453 - เข็มสมุหมนตรี[52]
- พ.ศ. 2454 - เข็มอักษรพระบรมนามาภิธัยย่อ ว.ป.ร. ชั้นที่ 1 (ฝังเพ็ชร์)
- พ.ศ. 2454 - เข็มข้าหลวงเดิม[53]
- พ.ศ. 2455 - เข็มอัยราพต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- กรีซ :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์โอลก้าแอนด์โซเฟีย ชั้นที่ 4[54]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 4[54]
- ปรัสเซีย :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎปรัสเซีย ชั้นที่ 4[54]
- รัสเซีย :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์สแตนิส์ลาส ชั้นที่ 4[54]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 4[54]
- จักรวรรดิออตโตมัน :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสมานี ชั้นที่ 4[54]
- เบราน์ชไวค์ :
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตไฮน์ริช ชั้นที่ 1[55]
- บริเตนใหญ่:
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ชั้นทุติยาภรณ์[56]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2464 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 2[57]
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพิเศษ เรื่อง ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 51, ตอน 0ก, 7 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1332
- ↑ นับตามปีปฏิทินสากล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ รวมการปกคครองท้องที่ และแบ่งปันหน้าที่ราชการระหว่าง กระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงยุติธรรม, เล่ม 39, ตอน ก, 2 สิงหาคม พ.ศ. 2465, หน้า 80
- ↑ "ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 1" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 648. 26 มิถุนายน 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2562.
{cite journal}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำเนาสัญญาบัตรปีระกาสัปตศก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร (หน้า 269-270)
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (29): 322. 11 ตุลาคม ร.ศ. 115. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561.
{cite journal}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรมและเจ้าพระยา (หน้า 1006)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระราชทานสุพรรณบัฎ เจ้าพระยายมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 3629. 11 มกราคม 2467. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2562.
{cite journal}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 234-235
- ↑ ข่าวเปลี่ยนราชทูตสยาม
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ข้าราชการกลับเข้ารับราชการ
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้แทนเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดี[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
- ↑ แจ้งความกรมพระอาลักษณ์
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงนครบาล
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศนายพลเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ "ประกาศกรมบัญชาการคณะเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 2848. 28 พฤศจิกายน 1920.
- ↑ ประกาศตั้งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศนายทหารพิเศษ
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหารอากาศ (หน้า 2559)
- ↑ 33.0 33.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องยศ, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๗๘๔, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๑๑๖
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องยศ, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๐๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๗, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๐, ๑๑ มกราคม ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๙๑, ๑๗ กันยายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๐, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๓, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๓, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๓, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๘, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๘๐, ๒๑ มิถุนายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๕๐ หน้า ๑๒๖๙, ๑๐ มีนาคม ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๐, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๕๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๔, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๘๕, ๒๘ พฤศจิกายน ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๘, ๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมพระอาลักษณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๕, ๒๕ ธันวาคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๖๕, ๒ กรกฎาคม ๑๓๐
- ↑ 54.0 54.1 54.2 54.3 54.4 54.5 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๒ หน้า ๑๒, ๑๐ เมษายน ๑๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันสวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๓๒, ๒๐ มีนาคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
- บรรณานุกรม
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 230-235. ISBN 974-417-534-6
ก่อนหน้า | เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา | ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (2 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481) |
เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) |