เฉิน หลง

เฉิน หลง
谌龙
เฉินในแบดมินตันชิงแชมป์โลก 2017
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเล่นกำแพงเมืองจีน
ประเทศจีน
เกิด (1989-01-18) 18 มกราคม ค.ศ. 1989 (36 ปี)
เขตชาชื่อ มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ส่วนสูง1.87 เมตร (6 ฟุต 2 นิ้ว)
น้ำหนัก75 กก.
ปีที่แข่งขัน2007 – 2021
มือที่ถนัดขวา
ชายเดี่ยว
สถิติการแข่งขันชนะ 446 ครั้ง, แพ้ 115 ครั้ง
อันดับโลกสูงสุด1 (25 ธันวาคม ค.ศ. 2014)
BWF profile

เฉิน หลง (จีน: 谌龙; พินอิน: Chén Lóng; 18 มกราคม ค.ศ. 1989) เป็นอดีตนักแบดมินตันมืออาชีพชาวจีน เขาชนะเลิศโอลิมปิกประจำปี 2016 ชนะเลิศระดับโลก 2 ครั้ง และชนะเลิศในเอเชีย

เขามีชื่อเสียงจากความอดทน ความสามารถด้านการรุก และการป้องกันที่เด็ดเดี่ยว ทำให้แฟนคลับต่างเรียกเขาด้วยความชื่นชอบเป็น "กำแพงเมืองจีน"[1] โดยได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักแบดมินตันชายเดี่ยวที่ดีที่สุด[2][3]

เฉินเป็นอดีตมือวางอันดับ 1 ของโลก โดยอยู่ในตำแหน่งนั้นในสาขาชายเดี่ยวเป็นเวลา 76 สัปดาห์ติดต่อกันในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 2016

ประวัติ

เฉินหลงเกิดในปี ค.ศ. 1989 ที่เขตชาชื่อ จิงโจว มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี ค.ศ. 1996 เมื่อเฉินอายุ 7 ขวบ พ่อและแม่ของเขาส่งไปเรียนโรงเรียนกีฬา เมื่อปี ค.ศ. 2000 เฉินได้ย้ายไปที่เซี่ยเหมิน, มณฑลฝูเจี้ยน และได้เข้าร่วมทีมกีฬาเซี่ยเหมิน ในปี ค.ศ. 2005 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนนักกีฬาเยาวชนทีมชาติจีน และต่อมาในปี ค.ศ. 2006 เขาได้รับเลือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติจีน เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนทีมจีนเข้าร่วมการแข่งรายการแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย 2007 และเขาสามารถคว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยวได้สำเร็จ ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันเขาได้เข้าร่วมการแข่งขันแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก 2007 โดยเฉินสามารถเอาชนะ เค็นอิชิ ทะโงะ จากประเทศญี่ปุ่น ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-0 เกม (21-16, 21-14) [4][5]

ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2010 เฉินได้เหรียญทองในการแข่งขันแบดมินตันประเภททีมชายในเอเชียนเกมส์ ที่กว่างโจว เมื่อเดือนธันวาคม ในการแข่งขันไชนาซุปเปอร์ซีรีส์ 2010 โดยเฉินเป็นฝ่ายเอาชนะ เป้า ชุนไหล เพื่อนร่วมทีม จากประเทศจีน ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-1 เกม (9-21, 21-14, 21-16)[6]

ในปี ค.ศ. 2011 ในการแข่งขันเจแปนซุปเปอร์ซีรีส์ 2011 โดยเฉินสามารถเอาชนะ ลีชองเหว่ย มือวางอันดับ 1 ของโลก จากประเทศมาเลเซีย ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-1 (21-8, 21-10, 21-19) ทำให้เฉินคว้าแชมป์รายการนี้

ในปี ค.ศ. 2012 เฉินได้เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และเขาสามารถคว้าอันดับที่ 3 ในประเภทชายเดี่ยว โดยเอาชนะ อี ฮย็อน-อิล จากประเทศเกาหลีใต้ ในรอบสุดท้ายด้วยคะแนน 2-1 เกม (21-12, 15-21, 21-15)[7]

ความสำเร็จ

ชนะเลิศ (21)

ปี รายการ คู่ต่อสู้ในรอบชิงชนะเลิศ ผลคะแนน
2015 ออสเตรเลียโอเพน ประเทศเดนมาร์ก Viktor Axelsen 21-12, 14-21, 21-18
2015 มาเลเซียโอเพน ประเทศจีน หลิน ตัน 20-22, 21-13, 21-11
2015 ออลอิงแลนด์โอเพน ประเทศเดนมาร์ก แจน โอ นอร์เกนซี 15–21, 21-17, 21-15
2014 ซุปเปอร์ซีรีส์มาสเตอรส์ไฟนอลส์ ประเทศเดนมาร์ก แฮนส์-คริสเตียน วิตทิงฮูส์ 21–16, 21–10
2014 เดนมาร์กโอเพน ประเทศเกาหลีใต้ ซน วัน-โฮ 21-19, 24-22
2014 แบดมินตันชิงแชมป์โลก ประเทศมาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21-19, 21-19
2014 โคเรียโอเพน ประเทศมาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21-14, 21-15
2013 ไชนาโอเพน ประเทศจีน หวัง เจิงหมิง 19–21, 21–8, 21-14
2013 เดนมาร์กโอเพน ประเทศมาเลเซีย ลีชองเหว่ย 24–22, 21–19
2013 ออลอิงแลนด์โอเพน ประเทศมาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21–17, 21-18
2013 เยอรมันโอเพน ประเทศอินโดนีเซีย ทอมมี ซูเกียร์โต 21–17, 21–11
2012 ซุปเปอร์ซีรีส์มาสเตอรส์ไฟนอลส์ ประเทศจีน ตู้ เผิงอวี่ 21–12, 21–13
2012 ฮ่องกงโอเพน ประเทศมาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21–19, 21–17
2012 ไชนาโอเพน ประเทศจีน หวัง เจิงหมิง 21–19, 21–18
2012 ไชนามาสเตอรส์ ฮ่องกง หู ยฺวิน 21–11, 21–13
2011 เดนมาร์กโอเพน ประเทศมาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21–15, 21–18
2011 เจแปนโอเพน ประเทศมาเลเซีย ลีชองเหว่ย 21–8, 10–21, 21–19
2011 ไชนามาสเตอรส์ ประเทศจีน เฉิน จิน 21–16, 22–20
2011 ไทยแลนด์โอเพน ประเทศเกาหลีใต้ อี ฮย็อน-อิล 21–8, 21–19
2010 ไชนาโอเพน ประเทศจีน เป้า ชุนไหล 9–21, 21–14, 21–16
2010 บิตเบอร์เกอร์โอเพน ประเทศเดนมาร์ก แฮนส์-คริสเตียน วิตทิงฮูส์ 21–3, 12–21, 21–9
2009 ฟิลิปปินส์โอเพน ฮ่องกง หู ยฺวิน 21–13, 21–6
การแข่งขันระดับเยาวชน
2007 แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์โลก ประเทศญี่ปุ่น เค็นอิชิ ทะโงะ 21–16, 21–14
2007 แบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ประเทศมาเลเซีย โมห์ด อารีฟ์ ลาติฟ์ 18–21, 21–18, 22–20
  รายการระดับซุปเปอร์ซีรีส์
  รายการระดับกรังด์ปรีซ์โกลด์ และกรังด์ปรีซ์

อ้างอิง

  1. Biswas, Sudipta (21 May 2023). "Chen Long, an underappreciated genius, bids farewell". SPORTSTAR.
  2. Goh, ZK. "Chinese legend and 2016 Olympic champion Chen Long announces retirement from badminton". olympics.com. olympics. สืบค้นเมื่อ 5 May 2024.
  3. Sukumar, Dev. "Chen Long Consistency Personified". bwfbadminton. สืบค้นเมื่อ 5 May 2024.
  4. "马来西亚羽毛球公开赛谌龙夺冠 荆州再添一位世界冠军". 《江汉商报》. 2009-07-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-27.
  5. tournamentsoftware.com KLRC World Junior Championships 2007
  6. 中国公开赛谌龙逆转鲍春来问鼎 首次加冕超级赛冠军《华奥星空》2010-12-05
  7. "谌龙2-0击败泰国名将拒绝遭爆冷 昂首挺进淘汰赛". 东方网. 2012-07-29.

แหล่งข้อมูลอื่น