เซอเบอรังเปอไร
เซอเบอรังเปอไร Seberang Perai | |
---|---|
นครเซอเบอรังเปอไร Bandaraya Seberang Perai | |
การถอดเสียงอื่น ๆ | |
• อังกฤษ | Province Wellesley |
• ยาวี | سبرڠ ڤراي |
• จีน | 威省 |
• ทมิฬ | செபராங் பிறை |
เซอเบอรังเปอไร (สีแดง) ในรัฐปีนัง (ซ้าย) และมาเลเซียตะวันตก (ขวา) | |
พิกัด: 5°24′N 100°28′E / 5.400°N 100.467°E | |
ประเทศ | มาเลเซีย |
รัฐ | รัฐปีนัง |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1800 |
คราวน์โคโลนี | 1 เมษายน ค.ศ. 1867 – 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 |
ญี่ปุ่นยึดครอง | 19 ธันวาคม ค.ศ. 1941 – 3 กันยายน ค.ศ. 1945 |
จัดตั้งเป็นเทศบาล | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1976[1] |
จัดตั้งเป็นนคร | 16 กันยายน ค.ศ. 2019[2] |
การปกครอง | |
• ประเภท | สภานคร |
• องค์กร | สภานครเซอเบอรังเปอไร |
• นายกเทศมนตรี | โรซาลี โมฮามุด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 751 ตร.กม. (290 ตร.ไมล์) |
ประชากร (ค.ศ. 2020[3]) | |
• ทั้งหมด | 946,092 คน |
• ความหนาแน่น | 1,259.8 คน/ตร.กม. (3,263 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 12xxx ถึง 14xxx |
รหัสโทรศัพท์ | +6043, +6045 |
ทะเบียนรถ | P |
เว็บไซต์ | www |
เซอเบอรังเปอไร (มลายู: Seberang Perai) หรือ พรอวินซ์เวลส์ลีย์ (อังกฤษ: Province Wellesley) ปรากฏในเอกสารไทยว่า สมารังไพร[4][5] ภาษาไทยถิ่นใต้ว่า แปไหร[6] เป็นพื้นที่ขนาดแคบบนคาบสมุทรมลายู ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเกาะปีนัง และขึ้นอยู่กับรัฐปีนัง ดินแดนเซอเบอรังเปอไรถูกล้อมด้วยรัฐเกอดะฮ์ทางเหนือและทางตะวันตก ส่วนทางทิศใต้ติดกับรัฐเประ มีเมืองสำคัญคือเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ส่วนที่ตั้งของสภานครอันเป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ใกล้เมืองบูกิตเมอร์ตาจัม เมื่อ ค.ศ. 2010 เซอเบอรังเปอไรมีประชากร 815,767 คน ทำให้ที่นี่เป็นเขตการปกครองท้องถิ่นที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของประเทศมาเลเซีย[7][8]
เดิมเซอเบอรังเปอไรเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเกอดะฮ์ ที่ถูกยกให้เป็นของบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น พรอวินซ์เวลส์ลีย์ ตามชื่อนายทหารสหราชอาณาจักร เพื่อสร้างประโยชน์เชิงเกษตรกรรมรวมทั้งเป็นปราการป้องกันการบุกรุกผ่านช่องแคบจากแผ่นดินใหญ่ ที่ต่อมาได้ผนวกเซอเบอรังเปอไรเข้ากับเกาะปีนังในฐานะอาณานิคมของสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1867
หลังมาเลเซียได้รับเอกราช เซอเบอรังเปอไรเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ[9][10] มีการย้ายนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จากท่าเรือปีนังมาประจำที่เมืองบัตเตอร์เวิร์ทเมื่อ ค.ศ. 1974 ยังประโยชน์ด้านเศรษฐกิจแก่เซอเบอรังเปอไร ทั้งยังมีการปรับปรุงการเชื่อมต่อและการขนส่งให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น ทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ, สะพานปีนัง, สะพานสุลต่านอับดุลฮาลิมมูอัดซัมชะฮ์ ปัจจุบันเซอเบอรังเปอไรเป็นส่วนหนึ่งของเขตเมืองขยายปีนัง ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของมาเลเซีย[11]
เซอเบอรังเปอไรแบ่งการปกครองออกเป็นสามอำเภอ ได้แก่
- อำเภอเซอเบอรังเปอไรอูตารา (Daerah Seberang Perai Utara) มีศูนย์กลางที่เมืองเกอปาลาบาตัซ (Kepala Batas)
- อำเภอเซอเบอรังเปอไรเตองะฮ์ (Daerah Seberang Perai Tengah) มีศูนย์กลางที่เมืองบูกิตเมอร์ตาจัม (Bukit Mertajam)
- อำเภอเซอเบอรังเปอไรเซอลาตัน (Daerah Seberang Perai Selatan) มีศูนย์กลางที่เมืองซูไงจาวี (Sungai Jawi)
อ้างอิง
- ↑ "Butterworth remains the Ugly Duckling". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2012.
- ↑ "Seberang Prai achieves city status". The Star Online (ภาษาอังกฤษ). 16 September 2019. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
- ↑ "07 PULAU PINANG". สืบค้นเมื่อ 2 May 2022.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ภาวิตา ชวนขยัน (2558). ""ปีนัง" เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม". ศูนย์อาเซียนศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ สัมพันธภาพระหว่างไทยกับมลายูสมัยแรก (พ.ศ. 1823–2352 หรือ ค.ศ. 1280–1809) (PDF). Chulalongkorn University Intellectual Repository. p. 22.
- ↑ อุดมสมบัติ (จัน), หลวง. จดหมายหลวงอุดมสมบัติ. พระนคร : ศิวพร. 2505, หน้า 136
- ↑ "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2011.
- ↑ "Key summary statistics for Local Authority areas, Malaysia, 2010" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 February 2015. สืบค้นเมื่อ 19 June 2013.
- ↑ Goh Ban Lee. "Seberang Perai: The adopted child matures" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-22. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
- ↑ "The Mainland Awakens". Penang Monthly (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-09-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-11. สืบค้นเมื่อ 2017-02-10.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2019-11-24.