เตี่ยจิวแปะอ่วยหยี่

เตี่ยจิวแปะอ่วยหยี่
潮州白話字
Tiê-chiu Pe̍h-ūe-jī
คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาแต้จิ๋วที่เขียนด้วยอักษรละติน ตีพิมพ์ปี 1915
ชนิด
ผู้ประดิษฐ์John Campbell Gibson
William Duffus
ช่วงยุค
ปี 1875 –
ภาษาพูดภาษาแต้จิ๋ว
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

เตี่ยจิวแปะอ่วยหยี่ (Tiê-chiu Pe̍h-ūe-jī; จีนตัวย่อ: 潮州白话字; จีนตัวเต็ม: 潮州白話字; เพ็งอิม: Diê⁵ziu¹ Bêh⁸uê⁷ri⁷) เป็นระบบการเขียนถอดเสียงภาษาแต้จิ๋วด้วยอักษรโรมันแบบหนึ่ง เนื่องจากใช้สำเนียงซัวเถาเป็นหลักจึงยังมีชื่อเรียกว่า ซัวเถ่าก๊าห่วยหล่อหมาหยี่ (汕頭教會羅馬字, Suaⁿ-thâu Kà-hũe Lô-má-jī; เพ็งอิม: Suan¹tao⁵ Ga³huê⁶ Lo⁵ma²ri⁷) แปลว่า "อักษรโรมันโบสถ์ซัวเถา"

ประวัติศาสตร์

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 นิกายโปรเตสแตนต์ ตะวันตกเข้าสู่ประเทศจีนเพื่อเผยแพร่ศาสนา พวกมิชชันนารีเริ่มใช้ตัวอักษรโรมันโบสถ์ เพื่อเรียนรู้ภาษาจีนถิ่นต่าง ๆ และใช้ตัวอักษรเหล่านั้นเพื่อสอนศาสนาให้กับคนธรรมดาที่ไม่รู้จักอักษรจีน การใช้ตัวอักษรโรมันเพื่อเขียนเสียงอ่านภาษาแต้จิ๋วสามารถย้อนกลับไปได้ถึงในปี 1841 เป็นอย่างน้อยโดยมีหนังสือที่ตีพิมพ์โดยมิชชันนารีแบปทิสต์ แต่ในปี 1875 มิชชันนารีเพรสไบทีเรียนชาวอังกฤษ จอห์น แคมป์เบล กิบสัน (John Campbell Gibson) และ วิลเลียม ดัฟฟัส (William Duffus) ได้กำหนดรูปแบบการเขียนที่เรียกว่า "อักษรโรมันโบสถ์ซัวเถา" (汕頭教會羅馬字)[1] ขึ้นที่ซัวเถา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นระบบการเขียนภาษาโรมันแต้จิ๋วอย่างเป็นทางการ ในปี 1876 ได้มีการตีพิมพ์ "พระวรสารนักบุญลูกา" ฉบับแปลภาษาแต้จิ๋ว และในปี 1888 ได้มีการตีพิมพ์ "หนังสือปฐมกาล", " หนังสือโยนาห์" และ "จดหมายของนักบุญยากอบ" จากนั้นในปี 1889 ตีพิมพ์ "พระวรสารนักบุญมัทธิว" และ "กิจการของอัครทูต" ในปี 1890 ได้ "พระวรสารนักบุญมาระโก" และในปี 1915 ได้ตีพิมพ์ "พันธสัญญาใหม่"

ระบบการเขียนนี้ไม่ได้ใช้แค่เพื่อเขียนคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้น แต่ยังถูกใช้โดยผู้ศรัทธาในการเขียนรายวัน หลังจากเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐจีน รัฐบาลสนับสนุนให้ใช้แต่ภาษาจีนกลาง และใช้จู้อินในการเขียนเป็นหลัก ทำให้ทางคริสตจักรไม่ส่งเสริมอักษรโรมันโบสถ์ซัวเถาอีกต่อไป แต่ก็ยังคงได้รับการศึกษาและฝึกฝนในหมู่ประชาชนอยู่ ในปี 1955 จากสถิติโดยหฺวาง เตี่ยนเฉิง (黄典诚) ระบุว่ายังมีผู้ใช้ระบบการเขียนนี้อยู่ 1,000 คนในภูมิภาคแต้จิ๋ว[2]

พยัญชนะต้น

เสียงพยัญชนะต้นในภาษาแต้จิ๋วแสดงด้วยแปะป่วยหยี่ได้ดังตารางนี้[3]

ข้างลิ้น นาสิก หยุด กักเสียดแทรก เสียดแทรก
ไม่พ่นลม พ่นลม ไม่พ่นลม พ่นลม
ริมฝีปาก ไม่ก้อง p [p]
(pian)

เปียน

ph [pʰ]
(phó)

พ่อ

ก้อง m [m]
(mûn)

มุ้น

b [b]
(bûn)

บุ๊น

ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง t [t]
()

ตี่

th [tʰ]
(tha)

ทา

ts [ts]
(tsṳ)

จือ

tsh [tsʰ]
(tshut)

ฉุก

s [s]
(sṳ)

ซือ

ก้อง l [l]
(liú)

ลิ่ว

n [n]
()

น้อ

z [dz]
(zṳ̂)

ยื้อ

เพดานแข็งปุ่มเหงือก ไม่ก้อง ch [tɕ]
(cheng)

เจ็ง

chh [tɕʰ]
(chhì)

ฉี่

s [ɕ]
()

ซี้

ก้อง j [dʑ]
(ji̍p)

ยิบ

เพดานอ่อน ไม่ก้อง k [k]
(kiû)

กิ๊ว

kh [kʰ]
(khṳ̀)

ขื่อ

ก้อง ng [ŋ]
(ngô)

ง้อ

g [ɡ]
(gṳ́)

งื่อ

เส้นเสียง ไม่ก้อง h [h]
()

ฮี่

สระและตัวสะกด

สระและตัวสะกดของภาษาแต้จิ๋วแสดงด้วยแปะอ่วยหยี่ดังตารางนี้[3]

สระ ตัวสะกด
ประเภท
การออกเสียง - นาสิก หยุดเส้นเสียง ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานอ่อน
หน้า-หลัง เปิด-ปิด - นาสิก นาสิก หยุด นาสิก หยุด นาสิก หยุด
สระเดี่ยว
หน้า เปิด a [a]
(ka)
aⁿ [ã]
(kaⁿ)
ah [aʔ]
(kah)
ahⁿ [ãʔ]
(na̍hⁿ)
am [am]
(kam)
ap [ap̚]
鴿 (kap)
an [an]
(kan)
at [at̚]
(kat)
ang [aŋ]
(kang)
ak [ak̚]
(kak)
กลาง e [e]
(ke)
eⁿ [ẽ]
(keⁿ)
eh [eʔ]
(keh)
ehⁿ [ẽʔ]
(me̍hⁿ)
eng [eŋ]
(keng)
ek [ek̚]
(kek)
ปิด i [i]
(ki)
iⁿ [ĩ]
(thiⁿ)
ih [iʔ]
(kih)
ihⁿ [ĩʔ]
(tihⁿ)
im [im]
(kim)
ip [ip̚]
(kip)
in [in]
(kin)
it [it̚]
(kit)
หลัง กลาง o [o]
(ko)
oⁿ [õ]
(mōⁿ)
oh [oʔ]
(koh)
ohⁿ [õʔ]
(mo̍hⁿ)
ong [oŋ]
(kong)
ok [ok̚]
(kok)
ปิด u [u]
(ku)
uh [uʔ]
(kuh)
un [un]
(kun)
ut [ut̚]
(kut)
ṳ [ɯ]
(kṳ)
ṳh [ɯʔ]
(tsṳ̍h)
ṳn [ɯn]
(kṳn)
ṳt [ɯt̚]
(khṳt)
ṳng [ɯŋ]
(kng)
สระประสมสองเสียง
หน้า ปิด ai [ai]
(kai)
aiⁿ [ãĩ]
(àiⁿ)
aih [aiʔ]
𫠡 (ga̍ih)
aihⁿ [ãiʔ]
(nga̍ihⁿ)
หลัง au [au]
(kau)
auⁿ [ãũ]
(hàuⁿ)
auh [auʔ]
(ga̍uh)
auhⁿ [ãuʔ]
(nauhⁿ)
หน้า เปิด ia [ia]
(kia)
iaⁿ [ĩã]
(kiaⁿ)
iah [iaʔ]
(kiah)
iam [iam]
(kiam)
iap [iap̚]
(kiap)
ian [ian]
(kian)
iat [iat̚]
(kiat)
iang [iaŋ]
(kiang)
iak [iak̚]
(iak)
ie [ie]
(chie)
ieⁿ [ĩẽ]
(kieⁿ)
ieh [ieʔ]
(chieh)
ien [ien]
(kien)
iet [iet̚]
(kiet)
หลัง io [io]
(chio)
ioⁿ [ĩõ]
(kioⁿ)
ioh [ioʔ]
(chioh)
iong [ioŋ]
(kiong)
iok [iok̚]
(kiok)
ปิด iu [iu]
(khiu)
iuⁿ [ĩũ]
(iùⁿ)
หน้า ปิด oi [oi]
(koi)
oiⁿ [õĩ]
(koiⁿ)
oih [oiʔ]
(koih)
หลัง ou [ou]
(kou)
ouⁿ [õũ]
(hóuⁿ)
หน้า เปิด ua [ua]
(kua)
uaⁿ [ũã]
(kuaⁿ)
uah [uaʔ]
(kuah)
uam [uam]
(huâm)
uap [uap̚]
(huap)
uan [uan]
(kuan)
uat [uat̚]
(kuat)
uang [uaŋ]
(kuang)
uak [uak̚]
(kuak)
ue [ue]
(kue)
ueⁿ [ũẽ]
(kúeⁿ)
ueh [ueʔ]
(kueh)
uehⁿ [uẽʔ]
(gu̍ehⁿ)
uen [uen]
(kuen)
uet [uet̚]
(kuet)
ueng [ueŋ]
(ueng)
uek [uek̚]
(hu̍ek)
ปิด ui [ui]
(kui)
uiⁿ [ũĩ]
(kũiⁿ)
สระประสมสามเสียง
หลัง เปิด-ปิด iau [iau]
(kiau)
iauⁿ [ĩãũ]
(hiauⁿ)
iauh [iauʔ]
(iauh)
iauhⁿ [iãuʔ]
(iauhⁿ)
iou [iou]
(kiou)
iouⁿ [ĩõũ]
(hiouⁿ)
iouh [iouʔ]
(iouh)
iouhⁿ [iõuʔ]
(iouhⁿ)
หน้า uai [uai]
(kuai)
uaiⁿ [ũãĩ]
(suāiⁿ)
uaihⁿ [uãiʔ]
(ua̍ihⁿ)
พยัญชนะแกนพยางค์ ngh [ŋʔ]
(n̍gh)
m [m]
()
ng [ŋ]
(n̂g)
hng [ŋ̊ŋ̍]
(hn̂g)
  มักพบในสำเนียงซัวเถา
  มักพบในสำเนียงแต้จิ๋ว
  มักพบในสำเนียงกิ๊กเอี๊ย

ทุกวันนี้ในภาษาแต้จิ๋วตัวสะกด -น และ -ด กลายเป็น -ง และ -ก ทั้งหมดแล้ว แต่ในระบบการเขียนนี้ยังคงรักษารูป n และ t ไว้อยู่ ในขณะที่ในระบบเพ็งอิม ซึ่งถูกคิดขึ้นมาในปี 1960 นั้นแสดงเสียงตามที่ออกจริง ไม่มีการคงรูปตัวสะกดนี้ไว้

วรรณยุกต์

ภาษาแต้จิ๋วมีทั้งหมด 8 วรรณยุกต์ ระบบนี้แสดงวรรณยุกต์โดยใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรเติมลงบนสระ ต่างจากระบบเพ็งอิมที่ใช้ตัวเลข ตารางต่อไปนี้แสดงการเขียนวรรณยุกต์ในระบบแปะป่วยหยี่ เทียบกับตัวเลขที่ใช้ในระบบเพ็งอิม

ตัวอย่าง
เพ็งอิม 1 2 3 4 5 6 7 8
แปะอ่วยหยี่ hun hún hùn hut hûn hũn hūn hu̍t
เสียงอ่าน ฮุน ฮุ่น หุ่น หุด ฮุ้น หุน หุ่น ฮุด

รูปแบบการเขียน

การเขียนระบบนี้ใช้รูปแบบการเขียนและเครื่องหมายวรรคตอนเหมือนกับภาษาละติน ตัวอย่างเช่น ตัวอักษรตัวแรกของประโยคเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวอักษรตัวแรกของคำนามเฉพาะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และแต่ละพยางค์ของคำประสมจะเชื่อมด้วยยัติภังค์ (-)[4]

ตัวอย่าง

พันธสัญญาใหม่ในภาษาถิ่นซัวเถาตีพิมพ์ในปี 1892[5] มธ. บทที่ 5 ข้อ 5 และ 6:

ตัวอักษรจีนแต้จิ๋ว:

แปลเป็นภาษาจีนมาตรฐานสมัยใหม่ได้ว่า:

อ้างอิง

  1. Snow, Don; Nuanling, Chen (2015-04-01). "Missionaries and written Chaoshanese". Global Chinese (ภาษาอังกฤษ). 1 (1): 5–26. doi:10.1515/glochi-2015-1001. ISSN 2199-4382. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-06. สืบค้นเมื่อ 2021-11-04.
  2. "關於白話字-中國南方白話字發展". 台灣白話字文獻館. 國立台灣師範大學. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.
  3. 3.0 3.1 Ma, Chongqi (2014). "A Comparative Research on Phonetic Systems of Four Swatow Dialect Works by Western Missionaries in the 1880s" (PDF). Research in Ancient Chinese Language (4): 10–22+95. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2021. PDF เก็บถาวร 2021-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Lim, Hiong Seng (1886). Handbook of the Swatow Vernacular. Singapore. p. 40. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-10. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  5. Duffus, W.; Gibson, J. C.; Maclagan, P. J., บ.ก. (1892). Kiù-tsú Iâ-sou Ki-tok kâi Sin-ieh Tshuân-tsṳ Chiēⁿ-Kńg Má-thài kàu Sài-thû (ภาษา潮州话). Su-kat-lân: Tãi Eng-kok Lãi Guā Siàⁿ-tsṳ-hũe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.{cite book}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)