เปลือกหุ้มไวรัส
เปลือกหุ้มไวรัส (อังกฤษ: viral envelope) เป็นชั้นนอกสุดของไวรัสหลายชนิด[1] ซึ่งป้องกันสารพันธุกรรมของไวรัสในช่วงวงจรชีวิตที่ไวรัสไปจากเซลล์ถูกเบียนหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง แต่ไวรัสทั้งหมดก็ไม่ได้มีเปลือก
เปลือกปกติจะทำจากเยื่อหุ้มของเซลล์ถูกเบียน (เป็นฟอสโฟลิพิดและโปรตีน) โดยรวมไกลโคโปรตีนของไวรัสเข้าไปด้วย องค์ประกอบเช่นนี้อาจช่วยให้ไวรัสหลบภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิตอันถูกเบียนได้ ส่วนไกลโคโปรตีนที่ผิวเปลือกช่วยระบุแล้วเข้าจับหน่วยรับที่เยื่อหุ้มของเซลล์ถูกเบียน แล้วเปลือกก็จะเชื่อมกับเยื่อหุ้ม จึงทำให้ capsid และจีโนมของไวรัสเข้าไปในเซลล์แล้วทำให้ติดเชื้อได้ อนึ่ง ไวรัสมีเปลือกทุกชนิดมี capsid ซึ่งเป็นชั้นโปรตีนอีกชั้นหนึ่งระหว่างเปลือกกับจีโนมของไวรัส[1]
เซลล์ที่ผลิตไวรัสใหม่ออกมามักจะตายหรืออ่อนแอลง โดยจะปล่อยอนุภาคไวรัสออกมาเรื่อย ๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง คู่ชั้นลิพิด (lipid bilayer) ของเปลือกไวรัสไม่ทนต่อการทำให้แห้ง ความร้อน สารเคมีอันจับกับทั้งน้ำและลิพิด เช่น สบู่และสารซักฟอก จึงทำลายไวรัสเช่นนี้ได้ง่ายกว่าไวรัสที่ไม่หุ้มเปลือก ไวรัสเช่นนี้อยู่นอกสิ่งมีชีวิตถูกเบียนได้จำกัด และปกติจะต้องย้ายจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น ไวรัสมีเปลือกสามารถปรับตัวได้ดี จึงสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหลบภูมิคุ้มกัน ไวรัสมีเปลือกยังอาจทำให้ติดเชื้ออย่างเรื้อรังได้อีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]
ตัวอย่างไวรัสมีเปลือก
|
|
|
ตัวอย่างไวรัสไม่มีเปลือก
|
เชิงอรรถและอ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 HURLBERT, RONALD E. Fundamentals of Microbiology 102. Chapter #11: Viruses. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-10. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
- ↑ "The Rabies Virus". CDC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
แหล่งข้อมูลอื่น
- "Virus Structure". Molecular Expressions: Images from the Microscope. สืบค้นเมื่อ 2007-06-27.