เมฆมาเจลลัน
เมฆมาเจลลันทั้งสองแห่ง เป็นดาราจักรแคระชนิดไร้รูปแบบ และเป็นดาราจักรสมาชิกอยู่ในกลุ่มท้องถิ่น ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าดาราจักรทั้งสองนี้โคจรอยู่รอบ ๆ ทางช้างเผือกของเรา แต่งานวิจัยยุคใหม่ชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น[1][2]
ประวัติ
เมฆมาเจลลันเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่ยุคโบราณในตะวันออกกลาง การอ้างอิงถึงเมฆมาเจลลันใหญ่ครั้งแรกทำโดยนักดาราศาสตร์ชาวเปอร์เซียชื่อ อัล ซูฟี ในหนังสือ Book of Fixed Star ที่เขาเขียนในปี ค.ศ. 964 เรียกดาราจักรนี้ว่า Al Bakr ซึ่งหมายถึง "แกะแห่งอาหรับใต้" ทั้งยังระบุด้วยว่าทางตอนเหนือของคาบสมุทรอาหรับกับในแบกแดดไม่สามารถมองเห็นดาราจักรนี้ แต่จะมองเห็นได้จากช่องแคบบับเอลมันเดบที่ละติจูด 12°15' เหนือ
ในยุโรป คณะสำรวจของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน เป็นผู้แรกที่สังเกตเห็นเมฆนี้ในระหว่างการแล่นเรือรอบโลกระหว่างปี ค.ศ. 1519-1522 โดยมีการบันทึกไว้โดยอันโตนีโอ ปีกาเฟตตา อย่างไรก็ดีการเรียกชื่อเมฆเหล่านี้ตามนามสกุลของมาเจลลันยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักจนเวลาผ่านไปอีกนาน ในรายการดวงดาว Uranometria ของไบเออร์ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเรียกเมฆทั้งสองนี้ว่า "นูเบคูลาใหญ่" (Nubecula Major)[3] และ "นูเบคูลาเล็ก" (Nubecula Minor) แม้ในแผนที่ดาวฉบับปี ค.ศ. 1756 ของลาซายล์ นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เมฆทั้งสองนี้ก็ยังมีชื่อว่า "Le Grand Nuage" กับ "Le Petit Nuage"[4] (ภาษาฝรั่งเศส มีความหมายว่า "เมฆใหญ่" และ "เมฆเล็ก" ตามลำดับ)
ดูเพิ่ม
- กลุ่มท้องถิ่น
- ดาราจักรไร้รูปแบบ
- ธารมาเจลลัน
- สะพานมาเจลลัน
อ้างอิง
- ↑ http://news.bbc.co.uk/1/hi/sci/tech/6249421.stm News.bbc.co.uk เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-05-31
- ↑ http://www.cfa.harvard.edu/press/2007/pr200722.html Harvard presse release เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-09-22
- ↑ http://www.usno.navy.mil/library/rare/BayerUran1661PiscisBot.jpg เก็บถาวร 2007-07-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Usno.navy.mil เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-05-31
- ↑ de Lacaille, N. L., (1756) "Planisphère contenant les Constellations Célestes", Mémoires Académie Royale des Sciences pour 1752. (Linda Hall Liblary เก็บถาวร 2009-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Retrieved on 2009-09-05)
แหล่งข้อมูลอื่น
- เมฆมาเจลลัน เก็บถาวร 2005-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน