เมอเมเลียฟอร์มิส

เมอเมเลียฟอร์มิส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Carnian – ปัจจุบัน, 225–0Ma
จากบนลงล่างและจากซ้ายไปขวา: Castorocauda, Adelobasileus, Megazostrodon และ Morganucodon
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
เคลด: ซีแนปซิดา
เคลด: เธอแรปซิดา
Therapsida
เคลด: ซีโนดอนเทีย
Cynodontia
เคลด: โพรโซสโทรดอนเทีย
เคลด: เมอเมเลียมอร์ฟา
เคลด: เมอเมเลียฟอร์มิส
Mammaliaformes
Rowe, 1988
กลุ่มย่อย

เมอเมเลียฟอร์มิส (อังกฤษ: Mammaliaformes; แปลว่า "รูปร่างคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม") เป็นเคลดที่ประกอบด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและสัตว์ชนิดใกล้เคียงที่สูญพันธุ์ไปแล้ว กลุ่มนี้แผ่ปรับตัวจากซีโนดอนต์โพรไบโนเนเธีย[1] เมอเมเลียฟอร์มิสนิยามขึ้นเป็นเคลดที่เกิดเป็นบรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของมอร์แกนูโคดอนตากับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กลุ่มหลังนี้เป็นเคลดที่เกิดเป็นบรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของอันดับมอนอเทรมาตา ชั้นฐานสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง และชั้นฐานพลาเซนทาเลีย[2] เมอมาเลียฟอร์มิสยังมีสัตว์อื่นนอกจากมอร์แกนูโคดอนตาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ ดอโคดอนตา และ แฮโดรโคเดียม และยังมีไทกิเธอเรียมจากยุคไทรแอสซิก ซึ่งเป็นสมาชิกที่เก่าแก่ที่สุดของกลุ่ม[3][4]

เมอเมเลียฟอร์มิสเป็นคำจากการตั้งชื่อทางวิวัฒนาการชาติพันธุ์ การจัดสิ่งมีชีวิตหนึ่งให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแต่เดิมนั้นอยู่บนพื้นฐานของลักษณะ ทำให้กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเป็นกลุ่มที่ครอบคลุมมากกว่ากลุ่มเมอเมเลียฟอร์มิสเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุกรมวิธานที่อยู่บนพื้นฐานของลักษณะโดยปกติจะรวมแอดีโลบาซิเลียสกับไซโนโคโนดอนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แม้ว่าสองสกุลนี้จะอยู่นอกเหนือนิยามของเมอเมเลียฟอร์มิสก็ตาม สกุลทั้งสองดังกล่าวถูกรวมเข้าไปในเมอเมเลียมอร์ฟา ซึ่งเป็นเคลดที่ใหญ่กว่า โดยเคลดนี้นิยามขึ้นเป็นบรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของไทรทีโลดอนทิดีกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม[2] กลุ่มที่ใหญ่กว่าดังกล่าวรวมวงศ์บางวงศ์ที่อนุกรมวิธานบนพื้นฐานของลักษณะไม่จัดรวมให้อยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ดังเช่นไทรทีโลดอนทิดีและแบรซิโลดอนทิดี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Abdala, F. (2007). "Redescription of Platycraniellus Elegans (Therapsida, Cynodontia) from the Lower Triassic of South Africa, and the cladistic relationships of eutheriodonts". Palaeontology. 53 (3): 591–618. doi:10.1111/j.1475-4983.2007.00646.x.
  2. 2.0 2.1 Rowe, T. S. (1988). "Definition, diagnosis, and origin of Mammalia" (PDF). Journal of Vertebrate Paleontology. 8 (3): 241–264. doi:10.1080/02724634.1988.10011708.
  3. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name LuoMartin cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  4. Datta, P. M. (2005). "Earliest mammal with transversely expanded upper molar from the Late Triassic (Carnian) Tiki Formation, South Rewa Gondwana Basin, India". Journal of Vertebrate Paleontology. 25 (1): 200–207. doi:10.1671/0272-4634(2005)025[0200:EMWTEU]2.0.CO;2.

แหล่งข้อมูลอื่น