เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26

เรสเซิลเมเนีย XXVI
สมาคมเวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์
วันที่28 มีนาคม ค.ศ. 2010
เมืองเกลนเดล, แอริโซนา
สถานที่ยูนิเวอร์ซิตี้ออฟฟีนิกซ์สเตเดียม
ผู้ชม72,219 คน
แท็กไลน์"Destruction in the Desert "[1]
"History Will Be Made. Will You Be There? " "Get All Fired Up."
ลำดับเหตุการณ์ Pay-per-view
← ก่อนหน้า
อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010)
ถัดไป →
เอ็กซ์ตรีม รูลส์ (2010)
ลำดับเหตุการณ์เรสเซิลเมเนีย
← ก่อนหน้า
เรสเซิลเมเนีย XXV
ถัดไป →
เรสเซิลเมเนีย XXVII

เรสเซิลเมเนีย XXVI เป็นการแสดงมวยปล้ำอาชีพแบบ Pay-Per-View (PPV) ของศึก เรสเซิลเมเนีย เป็นครั้งที่ 26 จัดโดย เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE), โดยมีกำหนดจัดวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2010 ที่ ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฟีนิกซ์ สเตเดียม ใน เกลนเดล, แอริโซนา.[2] โดย เรสเซิลเมเนีย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มาจัดใน รัฐแอริโซนา และเป็น เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 3 ที่เป็นการแสดงกลางแจ้ง[2][3] โดยเป็นศึกที่รวมการแสดงนักมวยปล้ำแต่ละค่ายของ WWE เอาไว้ทั้งหมด โดยก่อนเริ่มศึกได้มีการร้องเพลง America the Beautiful ก่อนที่จะเริ่มต้นรายการอีกด้วย

การสร้างสรรค์

ก่อนการคัดเลือกสถานที่ที่ต้องใช้จัด ในศึก เรสเซิลเมเนีย ในปี 2010 ทาง Global Spectrum, ซึ่งเป็นผู้ประสานงานของสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยฟินิกซ์ได้ติดต่อไปทาง เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE) ให้ร่วมคัดเลือกสถานที่นี้ ให้เป็นสถานที่จัดของ เรสเซิลเมเนีย ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2008 ทาง WWE ได้คัดเลือกให้สถานที่นี้จัด ศึก เรสเซิลเมเนีย ในปี 2010.[4] โดยมีการแถลงข่าวในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ที่สนาม ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฟีนิกซ์ สเตเดียมซ์ ว่านี้ คือ จุดสำคัญที่ เรสเซิลเมเนีย ได้มาจัด ณ รัฐฟินิกซ์ เป็นครั้งแรก โดยถือว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยบัตรจำหน่ายที่ ทิคเกตส์มาสเตอร์ ในเวลา 10.00 น. ตามเขตเวลา MST

ในปี ค.ศ. 2010 รูปแบบการจัดศึก เรสเซิลเมเนีย ได้ลงนิตยสารของ WWE แสดงภาพว่า ระหว่างการจัดศึก เรสเซิลเมเนีย จะมีการเปิดหลังคาของสนามเพื่อให้โล่งแจ้งอีกด้วย หลังจากที่มีการจัด เรสเซิลเมเนีย ในที่โล่งแจ้งมาแล้ว 2 ครั้ง คือ เรสเซิลเมเนีย IX และ เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 24

2 ซิงเกิ้ลเพลงจาก Kevin Rudolf ได้ถูกนำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ โดยการจัดจำหน่ายบัตรใช้เพลง Welcome to the World ในเดือน พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2009 [5] และในเดือน มกราคม ปี ค.ศ. 2010 WWE ได้จัดทำโฆษณาการนับถอยหลังของ เรสเซิลเมเนีย คือ เพลง ไอ เมด อิท [6] เพลง ไอ เมด อิท เป็นเพลงล่าสุดที่ใช้เป็นเพลงประจำศึก เรสเซิลเมเนีย และในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2010 ระหว่างการจัดรายการ สแมคดาวน์ ได้มีการประชาสัมพันธ์ว่า เพลงในอัลบั้ม AD/DC ไอร่อนแมน 2 คือ เพลง ทันเดอร์สตรัค จะใช้เป็นเพลงประจำศึก เรสเซิลเมเนีย อีก 1 เพลง

เบื้องหลัง

ภาพความจุของสนาม ในศึก WrestleMania XXVI (ครั้งที่ 26) มีผู้เข้าชมถึง 72,219 คน
ชอว์น ไมเคิลส์ เป็นผู้ที่ท้ากับ ดิอันเดอร์เทเกอร์ ในการเดิมพันสถิติและอาชีพในศึก เรสเซิลเมเนีย
คริส เจอริโค คือ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในขณะนั้น
เบรต ฮาร์ต ในปี 1997

เรสเซิลเมเนีย กับ ประเภทแมตช์การปล้ำ จะถูกกำหนดโดย การวางพล็อตเรื่อง และ เขียนบท โดยที่ เรสเซิลเมเนีย ทำการแสดงไม่เกี่ยวกับรายการทีวีของ WWE รายการใดทั้งสิ้น โดยนักมวยปล้ำจะถูกวางตัวให้เป็น ตัวร้าย หรือ ซุปเปอร์ฮีโร่ ทั้งหมดโดยการจัดแมชท์[7] นักมวยปล้ำทั้งหมดที่มาจาก รอว์ และ สแมคดาวน์ บางคนเท่านั้นที่มีความบาดหมางจากรายการทีวีของ WWE จะได้มาแสดงที่ เรสเซิลเมเนีย [8]

ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 ชอว์น ไมเคิลส์ ไม่สามารถเอาชนะ ดิอันเดอร์เทเกอร์ ได้[9] ซึ่งแมตช์นั้นเป็นแมตช์สุดยอดประจำปี 2009 ของรางวัล สแลมมีอะวอร์ด ในการรับรางวัลนั้น ชอว์น ไมเคิลส์ ได้ประกาศท้า อันเดอร์เทเกอร์ ว่า เขาจะขอเจอกับ อันเดอร์เทเกอร์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย โดยเป็นการรีแมตช์จากศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่แล้วที่เขาแพ้[10] หลังจากนั้น 1 เดือน อันเดอร์เทเกอร์ ที่เป็น แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในขณะนั้น ได้ตอบชอว์น กลับมาว่า เขาไม่ยอมรับคำท้า[11] โดยชอว์นได้ลอบทำร้ายในแมตช์ที่ อันเดอร์เทเกอร์ ปล้ำ โดยทำร้ายกรรมการ ชาลส์ โรบินสัน และผู้จัดการทั่วไปของ สแมคดาวน์ ทีโอดอร์ ลอง[12] .และในศึก อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ ชอว์นลอบทำร้าย อันเดอร์เทเกอร์ ในแมตช์ อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ เพื่อชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท โดยใช้ท่า สวิชชิน มิวซิค ทำให้ คริส เจอริโค ได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ไปครอง ในคืน ต่อมา อันเดอร์เทเกอร์ จึงเปลี่ยนใจยอมรับคำถ้าของชอว์น โดยมีข้อแม้คือ ถ้า ชอว์น แพ้ เขาต้องยุติอาชีพของตัวเอง ชอว์น ไมเคิลส์ ตกลง พร้อมโปรยคำทิ้งท้ายว่า “ไม่มีทาง เขาจะต้องทำลายสถิติของอันเดอร์เทเกอร์ ให้ได้ และไม่มีทางที่อาชีพของเขาจะจบลง" และแมตช์นี้ได้มีกติกาเสริม คือ ไม่มีการยอมแพ้ ไม่มีการจับแพ้ฟาล์ว

ในศึก เดอะแบช ค.ศ. 2009 เอดจ์ และ คริส เจอริโค ที่เป็นคู่แทคทีมกัน ได้ แชมป์แทคทีมยูนิฟายด์ ในคืนนั้น[13] ต่อมา เอดจ์ ได้รับบาดเจ็บและพักการปล้ำไป เจอริโคจึงกล่าวโจมตีเอดจ์ ทำให้ เอดจ์ ที่บาดเจ็บอยู่ไม่พอใจ[14][15] ในศึก รอยัลรัมเบิล (2010) เอดจ์หายจากอาการบาดเจ็บ กลับมา พร้อมทั้งชนะในแมตช์ รอยัลรัมเบิล ได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ตามกฎของผู้ชนะ เขารอผู้ชนะจากศึก อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ อีกที[16] In the main event of the อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) โดย 3 อาทิตย์ ต่อมา เจอริโก้ ได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวท จาก ดิอันเดอร์เทเกอร์ ในแมตช์ อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์[17] คืนต่อมา ในศึกรอว์ เอดจ์ ได้ประกาศว่าเขาจะขอชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท จาก เจอริโค ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งนี้[18]

อีกหนึ่งคู่ที่มีการปล้ำเพื่อชิงเข็มขัด แชมป์ WWE ในศึก เรสเซิลเมเนีย คือ จอห์น ซีนา พบ บาทิสตา โดยเริ่มจากที่ จอห์น ซีนา กับ เบรต ฮาร์ต มีปัญหากับ เจ้าของ WWE วินซ์ แม็กแมน[19] ต่อมา ในศึกรอว์ ในเดือนกุมภาพันธ์ บาทิสตา มาช่วย วินซ์ และทำร้ายเบรต[20] หลังจากที่การปล้ำจบลง ซีนาได้ออกมาช่วยเบรต และ โจมตี บาทิสตา[21] ต่อจากนั้นใน รายการ อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) ในแมทช์เปิดรายการ ซีนา ชนะ เชมัส คว้าแชมป์ WWE มาครอง ในแมตท์ อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ เพื่อการชิงแชมป์ WWE แต่หลังจากที่จบแมชท์ วินซ์ได้ประกาศให้ บาทิสตา ชิงแชมป์ WWE กับ ซีนา ต่อจากนั้นโดยทันที โดยที่ ซีนา พึ่งปล้ำเสร็จ ยังไม่ได้รับการพักผ่อน ทำให้ ซีนา แพ้ บาทิสตา พร้อมกับเสียแชมป์โลก WWEไปอีกด้วย [22] ในศึกรอว์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ซีนา แค้นมากจึงขอท้าเจอ บาทิสตา รีแมตช์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย แต่วินซ์ให้ ซีนา รีแมตช์ กับ บาทิสตา ในรายการวันนั้น ให้ชนะ จึงจะได้รีแมตช์ ในศึก เรสเซิลเมเนีย และในคืนนั้น จอห์น ซีนา ชนะ ฟาล์ว จึงได้ ไปปล้ำชิงแชมป์ WWE ในศึก เรสเซิลเมเนีย

ได้มีการคัดเลือกนักมวยปล้ำไปปล้ำกติกา Money In The Bank จำนวน 10 คน โดยผู้ชนะจะสามารถท้าชิงแชมป์อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใดก็ได้ [23] โดยผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้แก่ คริสเตียน, ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์, เคน, ดรูว์ แม็กอินไทร์, เชลตัน เบนจามิน, แจ็ก สแวกเกอร์, เอ็มวีพี, แมต ฮาร์ดี, อีแวน บอร์น และโคฟี คิงส์ตัน[24][25]

ในวันที่ 4 มกราคม 2010 เบรต ฮาร์ต ได้กลับมาเป็นแขกรับเชิญในรายการ รอว์ อีกครั้ง หลังจากเกิดเหตุการณ์ มอนทรีออลสครูว์จ็อบ ในศึก เซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (1997) เป็นครั้งแรก และในคืนนั้นเขาถูก วินซ์ แม็กแมน ทำร้ายด้วยการเตะ[26]หลังจากนั้น วินซ์ และ เบรต ประกาศว่า พ่อของ เบรต นั้นคือ สตู ฮาร์ต เข้าสู่ หอเกียรติยศ ของปี 2010 โดยเป็นครั้งที่ 2 ที่คนจากตระกูล ฮาร์ท ได้เข้าหอเกียรติยศ ต่อมา ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ จอห์น ซีนา ได้ท้า วินซ์ เจอกับ เบรต ในศึก เรสเซิลเมเนีย ซึ่ง วินซ์ ตอบ ตกลง หลังจากนั้น เบรท ได้ออกมาทำร้าย วินซ์ ทำให้ วินซ์ เปลี่ยนใจ ไม่ยอมรับคำท้า. ทำให้แมตช์ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เบรต จึงบอกว่ากลับแล้ว และขอบคุณแฟนๆทุกคน ระหว่างจะขึ้นรถเกิดเหตุการณ์ ทำให้ขาของเบรตเจ็บ และต้องส่งโรงพยาบาล[27] ในรายการ รอว์ วันที่ 1 มีนาคม วินซ์ จึงใช้โอกาสนี้ ขอท้า เบรต เจอกัน ในศึก เรสเซิลเมเนีย อีกครั้ง แต่ เบรต ยังเจ็บขาอยู่ ทำให้มาปล้ำไม่ได้ ต่อมา เบรท จึงรับคำท้าแล้วบอกว่า เขาหายแล้ว และพร้อมจะเจอกับวินซ์เสมอ ต่อมา วันที่ 19 มีนาคม ได้มีการเซ็นสัญญาระหว่าง เบรต กับ วินซ์ โดยมี สโตน โคลด์ สตีฟ ออสติน เป็นคนรับรองการเซ็นสัญญาครั้งนี้ หลังจากเซ็นสัญญาแล้ว ความจริงก็ถูกเปิดเผย คือ เบรตหายเจ็บขาแล้ว แล้วในที่สุดความแค้น 13 ปี จะได้สะสางสักที

ผล

ลำดับ กำหนด เวลา[28]
1D Yoshi Tatsu ชนะโดยกำจัด Zack Ryder คนสุดท้าย[Note 1] แบทเทิลรอยัล[29] Unknown
2 ShoMiz (Big Show and The Miz) (c) ชนะ John Morrison and R-Truth ชิงUnified WWE Tag Team Championship[30] 03:24
3 Randy Orton ชนะ Cody Rhodes and Ted DiBiase 3เส้า[31] 09:01
4 Jack Swagger ชนะ Christian, Dolph Ziggler, Drew McIntyre, Evan Bourne, Kane, Kofi Kingston, Matt Hardy, Montel Vontavious Porter and Shelton Benjamin มันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์[32] 13:40
5 Triple H ชนะ Sheamus ปล้ำเดี่ยว[33] 12:09
6 Rey Mysterio ชนะ CM Punk (with Luke Gallows and Serena) ปล้ำเดี่ยว[34] 06:30
7 Bret Hart ชนะ Mr. McMahon ลัมเบอร์แจ็กไม่มีกติกา โดย Bruce Hart เป็นกรรมการพิเศษ[35] 11:09
8 Chris Jericho (c) ชนะ Edge ชิงWorld Heavyweight Championship[36] 15:48
9 Alicia Fox, Layla, Maryse, Michelle McCool and Vickie Guerrero ชนะ Beth Phoenix, Eve Torres, Gail Kim, Kelly Kelly and Mickie James แท็กทีมหญิง10คน[37] 03:26
10 John Cena ชนะ Batista (c) ชิงWWE Championship[38] 13:31
11 The Undertaker ชนะ Shawn Michaels ไม่มีกฏกติกา โดยเดิมพัน สถิติ vs. อาชีพ[39] 23:59
  • (c) – หมายถึงเจ้าของเข็มขัดแชมป์ก่อนเริ่มแข่งขัน
  • D – หมายถึงเป็นแมทช์การปล้ำก่อนรายการ
  1. ผู้เข้าร่วมอื่นๆ: Carlito, Caylen Croft, Chavo Guerrero, Chris Masters, David Hart Smith, Finlay, Goldust, The Great Khali, Jimmy Wang Yang, JTG, Kung Fu Naki, Luke Gallows, Mark Henry, Mike Knox, Primo, Santino Marella, Shad Gaspard, Slam Master J, Trent Barreta, Tyler Reks, Tyson Kidd, Vance Archer, Vladimir Kozlov และ William Regal

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. McClay, Bob (2009-02-24). "WrestleMania to be held in Glendale". KTAR. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25. WrestleMania "Destruction in the Desert," scheduled for March 28, 2010, will be a week-long event featuring a street party, a wrestling hall of fame, and an art exhibition created by several WWE wrestlers.
  2. 2.0 2.1 "Arizona Hosts WrestleMania XXVI". World Wrestling Entertainment. 2009-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2009-02-24.
  3. "WWE Magazine Feature of the Week". World Wrestling Entertainment. 2010-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-16. สืบค้นเมื่อ 2010-02-13.
  4. Watters, Carrie (2008-01-18). "Talks ongoing to bring WrestleMania in 2010". The Arizona Republic. สืบค้นเมื่อ 2009-11-29.
  5. "WrestleMania: The WWE Universe lines up for their tickets to WrestleMania XXVI in Phoenix". World Wrestling Entertainment. 2009-11-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-14. สืบค้นเมื่อ 2009-11-30.
  6. "WrestleMania XXVI is coming March 28, 2010". World Wrestling Entertainment. 2010-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-04. สืบค้นเมื่อ 2010-02-02.
  7. "Live & Televised Entertainment of World Wrestling Entertainment". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-26. สืบค้นเมื่อ 2009-02-24.
  8. "WWE pay-per-views to follow WrestleMania formula". World Wrestling Entertainment. 2007-03-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-02-32. {cite web}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. Adkins, Greg. "Vaunted: Deadman Alive". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  10. Adkins, Greg (2009-12-14). "Dennis, anyone?". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  11. Adkins, Greg (2010-01-18). "Royal rebellion". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  12. Adkins, Greg (2010-02-08). "Raw's pit stomp". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  13. Adkins, Greg (2009-06-28). "Uninvited guests". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  14. Sitterson, Aubrey (2009-07-13). "Lean, Green hosting machine". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  15. "Getting burned in the Miami heat". World Wrestling Entertainment. 2009-07-17. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  16. Murphy, Ryan (2010-01-31). "Opportunity shocks". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  17. Burdick, Michael (2010-02-21). "Heartbroken". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  18. Adkins, Greg (2010-02-22). "Taking the bull by the horns". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  19. Adkins, Greg (2010-01-25). ""Psych"-ed for the Rumble". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  20. Adkins, Greg (2010-02-01). "Process of Elimination". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  21. Passero, Mitch (2010-02-05). "Opportunity knocks". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  22. Adkins, Greg (2010-02-21). "Intermittent reign". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.
  23. "Preview:Money in the Bank Ladder Match". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-22.
  24. Burdick, Michael (2010-02-26). "Fear of the Spear". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  25. Adkins, Greg (2010-03-01). "A long, strange trip to WrestleMania". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  26. Adkins, Greg (2010-01-04). "Hit Man, baby, one more time". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  27. Adkins, Greg (2010-02-15). "Clear and present chamber". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
  28. Eck, Kevin (March 29, 2010). "WrestleMania XXVI thoughts". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-04. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  29. Murphy, Ryan (March 28, 2010). "Yoshi Tatsu wins 26-Superstar WrestleMania Battle Royal". WWE. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  30. Passero, Mitch (March 4, 2010). "Unified Tag Team Champion Big Show & The Miz def. John Morrison & R-Truth". WWE. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  31. Passero, Mitch (March 29, 2010). "Randy Orton wins Triple Threat Match vs. Ted DiBiase and Cody Rhodes". WWE. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  32. "Jack Swagger wins Money in the Bank Ladder Match". WWE. February 22, 2010. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  33. "Triple H def. Sheamus". WWE. February 22, 2010. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  34. "Rey Mysterio def. CM Punk". WWE. March 18, 2010. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  35. Passero, Mitch (March 1, 2010). "Bret Hart def. Mr. McMahon in a No Holds Barred Match". WWE. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  36. "World Heavyweight Champion Chris Jericho def. Edge". WWE. February 22, 2010. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  37. Murphy, Ryan (March 26, 2010). "Vickie Guerrero's team wins the 10-Diva Tag Team Match". WWE. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  38. Passero, Mitch (February 22, 2010). "John Cena def. Batista (New WWE Champion)". WWE. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.
  39. McAvennie, Mike (February 22, 2010). "The Undertaker def. Shawn Michaels". WWE. สืบค้นเมื่อ March 24, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น