ตัวเลขจีน
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
ระบบเลข |
---|
รายชื่อระบบเลข |
ตัวเลขจีน คืออักษรจีนที่ใช้สำหรับเขียนแทนจำนวนในภาษาจีน ในทุกวันนี้ผู้พูดภาษาจีนใช้ระบบเลขสามแบบ คือ เลขอาหรับสมัยใหม่ และเลขจีนโบราณอีกสองระบบ การเขียนและการอ่านเลขจีนเขียนคล้ายจำนวนในภาษาไทย คือมีเลขโดดและค่าประจำหลัก แต่ก็มีหลักเกณฑ์บางอย่างที่ต่างออกไป
การเขียนจำนวน
จำนวนธรรมดา
จำนวนธรรมดาในที่นี้หมายถึงจำนวนเต็มบวกและศูนย์ ภาษาจีนมีอักษรที่ใช้แทนค่าเลขโดดตั้งแต่ 0 ถึง 9 กับอักษรแทนค่าประจำหลักอีกจำนวนหนึ่งใช้แทน 10, 100, 1000 ฯลฯ ประกอบกันเป็นจำนวนโดยเรียงลำดับหลักจากมากไปหาน้อย คล้ายกับการอ่านจำนวนในภาษาไทย อักษรจีนที่ใช้แทนจำนวนมีอยู่สองชุด ชุดหนึ่งสำหรับใช้ในงานการบัญชีเพื่อป้องกันการแก้ไขจำนวน เรียกว่า ตัวเขียนใหญ่ (จีนตัวย่อ: 大写; จีนตัวเต็ม: 大寫; พินอิน: dàxiě) และอีกชุดหนึ่งสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า ตัวเขียนเล็ก (จีนตัวย่อ: 小写; จีนตัวเต็ม: 小寫; พินอิน: xiǎoxiě) ตัวอย่างเช่นจำนวน 30 กับ 5,000 ตัวเขียนใหญ่จะเขียนว่า 叁拾 กับ 伍仟 ส่วนตัวเขียนเล็กจะเขียนว่า 三十 กับ 五千 ตามลำดับ สำหรับการอ่านและแปลความหมายจำนวนจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
สมมติให้ (ต) หมายถึงอักษรจีนตัวเต็ม และ (ย) หมายถึงอักษรจีนตัวย่อ
ตัวเขียนใหญ่ | ตัวเขียนเล็ก | ค่า | พินอิน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
零 | 〇 | 0 | líng | 〇 เป็นการนำเสนอที่ไม่เป็นทางการ แต่อักษรตัวเต็ม 零 มีการใช้ในโรงเรียนมากกว่า |
壹 | 一 | 1 | yī | ตัวเขียนใหญ่ 弌 เลิกใช้แล้ว เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 弍 (2) หรือ 弎 (3) ได้ง่าย |
貳 (ต) 贰 (ย) |
二 | 2 | èr | ตัวเขียนใหญ่ 弍 เลิกใช้แล้ว เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 弌 (1) หรือ 弎 (3) ได้ง่าย สำหรับการใช้ 兩 (ต) หรือ 两 (ย) ให้ดูหัวข้อถัดไป |
叄 (ต) 叁 (ย) |
三 | 3 | sān | ตัวเขียนใหญ่ 弎 เลิกใช้แล้ว เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 弌 (1) หรือ 弍 (2) ได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีอักษรต่างรูป 參 (ต) หรือ 参 (ย) อีกด้วย |
肆 | 四 | 4 | sì | นอกจากนี้ยังมีอักษรต่างรูป 䦉 อีกด้วย (ส่วนซ้ายของตัวเขียนใหญ่ ประกอบกับตัวเขียนเล็ก) |
伍 | 五 | 5 | wǔ | |
陸 (ต) 陆 (ย) |
六 | 6 | liù | |
柒 | 七 | 7 | qī | |
捌 | 八 | 8 | bā | |
玖 | 九 | 9 | jiǔ | |
拾 | 十 | 10 | shí | บางคนใช้ 什 เป็นตัวเขียนใหญ่ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 伍 (5) หรือ 仟 (1,000) ได้ง่าย |
佰 | 百 | 100 | bǎi | |
仟 | 千 | 1,000 | qiān | |
萬 | 萬 (ต) 万 (ย) |
10,000 | wàn | เลขจีนจะมีการแบ่งช่วงค่าประจำหลักทุก ๆ 4 หลัก คือทุกหนึ่งหมื่น |
億 | 億 (ต) 亿 (ย) |
108 | yì | ดูที่จำนวนขนาดใหญ่ในหัวข้อถัดไป |
อักษรที่ใช้เฉพาะบางภูมิภาค
ตัวเขียนใหญ่ | ตัวเขียนเล็ก | ค่า | พินอิน (จีนกลาง) | รูปแบบธรรมดา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
(ไม่มี) | 幺 | 1 | yāo | 一 | ความหมายเดิมของคำนี้คือ "เล็กที่สุด" มีการใช้ในภาษาจีนกลางเพื่อลดความสับสนของตัวเลข 1 ที่อยู่ในกลุ่มตัวเลข อย่างหมายเลขโทรศัพท์หรือหมายเลขประจำตัว เพราะว่า 一 (1 อี) ออกเสียงคล้ายกับ 七 (7 ชี) ซึ่งจะไม่นำมาใช้นับจำนวนหรืออ่านค่าต่าง ๆ ตามปกติ ในไต้หวันคำนี้จะใช้ในการทหาร ตำรวจ และการบริการฉุกเฉินเท่านั้น ไม่มีการใช้เช่นนี้ในภาษากวางตุ้ง |
(ไม่มี) | 兩 (ต) 两 (ย) |
2 | liǎng | 二 | อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการแสดงเลข 2 ซึ่งมีการใช้แตกต่างกันไปตามสำเนียงหรือแม้แต่คนต่อคน ตัวอย่างเช่นจำนวน 2,222 ในภาษาจีนกลางสามารถเขียนว่า 二千二百二十二 หรือ 两千二百二十二 หรือแม้แต่ 两千两百二十二 นอกจากนั้นก็ใช้เพื่อลดความสับสนของตัวเลข เมื่อพูด 两 (2 เหลี่ยง) จะชัดเจนกว่า 二 (2 เอ้อร์) |
(ไม่มี) | 拐 | 7 | guǎi | 七 | ใช้เพื่อลดความสับสนของตัวเลข เพราะว่า 一 (1 อี) ออกเสียงคล้ายกับ 七 (7 ชี) |
(ไม่มี) | 勾 | 9 | gōu | 九 | ใช้เพื่อลดความสับสนของตัวเลข เพราะว่า 九 (9 จิ่ว) ออกเสียงคล้ายกับ 六 (6 ลิ่ว) |
(ไม่มี) | 呀 | 10 | yā | 十 | ในการพูดภาษากวางตุ้ง เมื่อ 十 ถูกใช้ในระหว่างจำนวน โดยมีเลขโดดนำหน้าและตามหลังอย่างละตัว 十 จะเปลี่ยนเป็น 呀 (aa6) เช่น 六呀三 (63) การเปลี่ยนอักษรเช่นนี้ไม่มีในภาษาจีนกลาง |
(ไม่มี) | 念 廿 |
20 | niàn | 二十 |
รูปแบบการเขียนอย่างย่อสำหรับเลข 20 ในภาษาจีน โดยเฉพาะวันที่ในปฏิทินจีนและราคาบนแสตมป์ ส่วนรูปแบบการพูดยังคงมีอยู่ในหลายสำเนียงของภาษาจีน |
(ไม่มี) | 卅 | 30 | sà | 三十 | รูปแบบการเขียนอย่างย่อสำหรับการอ้างอิงวันที่ในภาษาจีนเช่น May 30 Movement (五卅运动) ส่วนรูปแบบการพูดยังคงมีอยู่ในหลายสำเนียงของภาษาจีน วิธีใช้ในภาษากวางตุ้งเหมือนกับกรณี 廿 |
(ไม่มี) | 卌 | 40 | xì | 四十 | รูปแบบการพูดยังคงมีอยู่ในหลายสำเนียงของภาษาจีน ถึงแม้จะพบการใช้น้อยมาก วิธีใช้ในภาษากวางตุ้งเหมือนกับกรณี 廿 |
(ไม่มี) | 皕 | 200 | bì | 二百 | พบการใช้น้อยมาก ตัวอย่างหนึ่งคือการตั้งชื่องานเขียน 《皕宋楼》 |
จำนวนขนาดใหญ่
ระบบเลขจีนมีแนวคิดสเกลสั้นและยาว (long and short scales) เหมือนกับระบบเลขของตะวันตก สำหรับอักษรจีนที่มีค่ามากกว่า 万 (10,000) จะมีสี่ระบบที่ใช้แทนความหมายทั้งแบบโบราณและแบบยุคใหม่
อักษรจีน | 億 (ต) 亿 (ย) |
兆 | 京 | 垓 | 秭 | 穰 | 溝 (ต) 沟 (ย) |
澗 (ต) 涧 (ย) |
正 | 載 (ต) 载 (ย) |
หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พินอิน | yì | zhào | jīng | gāi | zǐ | ráng | gōu | jiàn | zhēng | zài | |
อักษรแบบอื่น | 經 (ต) 经 (ย) |
杼 | 壤 | ||||||||
พินอิน | jīng | zhù | rǎng | ||||||||
ระบบที่ 1 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 1010 | 1011 | 1012 | 1013 | 1014 | แต่ละจำนวนห่างกัน 10 เท่า |
ระบบที่ 2 | 108 | 1012 | 1016 | 1020 | 1024 | 1028 | 1032 | 1036 | 1040 | 1044 | แต่ละจำนวนห่างกัน 10,000 เท่า |
ระบบที่ 3 | 108 | 1016 | 1024 | 1032 | 1040 | 1048 | 1056 | 1064 | 1072 | 1080 | แต่ละจำนวนห่างกัน 108 เท่า |
ระบบที่ 4 | 108 | 1016 | 1032 | 1064 | 10128 | 10256 | 10512 | 101024 | 102048 | 104096 | แต่ละจำนวนห่างกันโดยยกกำลังสอง |
ในภาษาจีนยุคใหม่ใช้เพียงระบบที่สองเท่านั้น ถึงแม้จะยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับค่าของ 兆 การให้อักษรตัวนี้มีค่าเท่ากับ 1012 นั้นสอดคล้องกันทั้งในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ตัวอย่างหนึ่งของความกำกวมของ 兆 คือการใช้แทนความหมายของ 106 ในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศในหลายปีที่ผ่านมา (โดยเฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ รัฐบาลจีนจึงไม่ใช้อักษรตัวนี้ในเอกสารราชการ แต่จะใช้ 万亿 (104·108) แทน เช่นเดียวกับรัฐบาลไต้หวัน
จำนวนจากพุทธศาสนา
จำนวนที่มากกว่า 载 นำมาจากข้อความพุทธศาสนาในภาษาสันสกฤต แต่จำนวนเหล่านี้เป็นการใช้เฉพาะสมัยโบราณเท่านั้น
อักษรจีน/ชื่อจีน | ค่า | พินอิน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
極 (ต) 极 (ย) |
1048 | jí | |
恆河沙 (ต) 恒河沙 (ย) |
1052 | hénghéshā | แปลตรงตัวว่า "ทรายแห่งคงคา" เปรียบกับปริมาณเม็ดทรายที่อยู่ในแม่น้ำคงคา |
阿僧祇 | 1056 | āsēngqí | จากคำสันสกฤตว่า อสงไขย |
那由他 | 1060 | nàyóutā | จากคำสันสกฤตว่า นยุต |
不可思議 (ต) 不可思议 (ย) |
1064 | bùkěsīyì | แปลตรงตัวว่า "ประมาณมิได้" |
無量 (ต) 无量 (ย) |
1068 | wúliàng | แปลตรงตัวว่า "ไร้ขอบเขต" |
大數 (ต) 大数 (ย) |
1072 | dàshù | แปลตรงตัวว่า "จำนวนใหญ่" |
จำนวนขนาดเล็ก
ตัวอักษรต่อไปนี้ใช้เพื่อแสดงอันดับของขนาดในภาษาจีนในสมัยโบราณ อักษรบางตัวก็ยังใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อให้เข้ากับคำอุปสรรคในหน่วยเอสไอ ในขณะที่อักษรอื่นกลายเป็นคำที่ไม่ได้ใช้
อักษรจีน | ค่า | พินอิน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
漠 | 10−12 | mò | (จีนโบราณ) ปัจจุบันใช้ 皮 (pí) สอดคล้องกับคำอุปสรรค พิโก |
渺 | 10−11 | miǎo | (จีนโบราณ) |
埃 | 10−10 | āi | (จีนโบราณ) |
塵 (ต) 尘 (ย) |
10−9 | chén | (จีนโบราณ) ปัจจุบันใช้ 柰/奈 (nài) และ 納/纳 (nà) สอดคล้องกับคำอุปสรรค นาโน |
沙 | 10−8 | shā | (จีนโบราณ) |
纖 (ต) 纤 (ย) |
10−7 | xiān | (จีนโบราณ) |
微 | 10−6 | wēi | ยังใช้อยู่ สอดคล้องกับคำอุปสรรค ไมโคร |
忽 | 10−5 | hū | (จีนโบราณ) |
絲 (ต) 丝 (ย) |
10−4 | sī | (จีนโบราณ) |
毫 | 0.001 | háo | ยังใช้อยู่ สอดคล้องกับคำอุปสรรค มิลลิ นอกจากนี้ยังมี 毛 (máo) |
厘 | 0.01 | lí | ยังใช้อยู่ สอดคล้องกับคำอุปสรรค เซนติ นอกจากนี้ยังมี 釐 (lí) |
分 | 0.1 | fèn | ยังใช้อยู่ สอดคล้องกับคำอุปสรรค เดซิ |