เลโอพาร์ท 2

เลโอพาร์ท 2
บทบาทรถถังหลัก
สัญชาติเยอรมนี เยอรมนีตะวันตก
ประจำการปี ค.ศ. 1979-ปัจจุบัน
สงครามสงครามอัฟกานิสถาน
สงครามคอซอวอ
สงครามกลางเมืองซีเรีย
ผู้ออกแบบเคราส์-มัฟไฟ
บริษัทผู้ผลิตเคราส์-มัฟไฟ (พ.ศ. 2523-ปัจจุบัน)
มาคีเนนเบา คีล
มูลค่า5.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2อา6)[1]
จำนวนที่ผลิตมากกว่า 3,000 คัน
น้ำหนัก62.3 ตัน
ความยาวรวมปืนที่ยื่นออกไปข้างหน้า 9.97 เมตร
ความกว้าง3.75 เมตร
ความสูง3.0 เมตร
ลูกเรือ4 นาย (ผู้บัญชาการรถถัง พลปืน พลบรรจุ และพลขับ)
เกราะเกราะเหล็กกล้าชนิดแข็งที่สุด (high-hardness steel) ทังสเตนและบรรจุพลาสติกเซรามิก
อาวุธหลักปืนใหญ่ลำกล้องเรียบ Rheinmetall 120ม.ม. L/44 จำนวน 1 กระบอก (L/55 ในรุ่นอา6 และอา7)
อาวุธรองปืนกลหนักMG3A1 ขนาด 7.62 ม.ม.สองกระบอก
4,750 นัด
เครื่องยนต์เอ็มทียู เอ็มบี 873 เคเอ-501 ระบบทำความเย็นโดยใช้น้ำ เครื่องยนต์ดีเซล ชนิด V-12
กำลัง/น้ำหนัก24.1 แรงม้า/ตัน
ระบบส่งกำลังเรงค์ เอชเอสดับบลิวแอล 354
ระบบช่วงล่างทอร์ชั่นบาร์
ความจุเชื้อเพลิง1,200 ลิตร (317 แกลลอน)
พิสัย550 กิโลเมตร
ความเร็ว72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (45 ไมล์ต่อชั่วโมง)

เลโอพาร์ท 2 (เยอรมัน: Leopard 2) เป็นรถถังหลักของกองทัพเยอรมนี ได้รับการพัฒนาโดยเคราส์-มัฟไฟ (Krauss-Maffei) ในช่วงปี 1970[2]และได้นำไปใช้ในกองทัพในปี 1978 จนถึงปัจจุบัน ผลิตมาให้กับกองทัพเยอรมนีตะวันตก เป็นรุ่นเสริมต่อมาจากเลโอพาร์ท 1 ปัจจุบันรถถังรุ่นนี้ได้นำไปใช้ในกองทัพต่าง ๆ มากกว่า 12 ประเทศในยุโรป[3] เลโอพาร์ท 2 ได้ถูกผลิตมาแล้วมากกว่า 3,480 คัน มีราคาต่อคัน ประมาณ 5.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในปี 2007) หรือประมาณ 172 ล้านบาท เลโอพาร์ท 2 ได้ถูกนำไปใช้ยุทธการคอซอวอเป็นครั้งแรก และได้นำไปใช้ในสงครามอัฟกานิสถาน ร่วมกับเดนมาร์กและแคนาดา

เลโอพาร์ท 2 มี 7 รุ่นย่อยแยกออกไปอีกจนถึงรุ่นเลโอพาร์ท 2อา4 (Leopard 2A4) ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้มีการพัฒนาเกราะและป้อมปืน เลโอพาร์ท 2อา5 (Leopard 2A5) ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดารุ่นทั้งหมด โดยปัจจุบัน เลโอพาร์ท 2อา7 ถือว่าเป็นรุ่นใหม่สุดของเลโอพาร์ท 2 ทุกรุ่น เลโอพาร์ท 2 ได้พัฒนาระบบการยิงด้วยระบบดิจิทัลและตัวเล็งด้วยเลเซอร์ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ระบบการขับในตอนกลางคืน รวมถึงมีความสามารถในการยิงวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ได้แม่นยำกว่ารุ่นก่อน

ประเทศผู้ใช้งาน

แผนที่โลกที่แสดงประเทศที่ใช้รถถังเลโอพาร์ท 2 ในสีน้ำเงิน (สีแดงคืออดีตประเทศผู้ใช้งาน)
อดีตประเทศผู้ใช้งาน
อนาคต

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-31. สืบค้นเมื่อ 2012-12-27.
  2. http://www.army-technology.com/projects/leopard/
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-18. สืบค้นเมื่อ 2012-12-26.

แหล่งข้อมูลอื่น