เสรีนครจักรวรรดิ

ที่ตั้งของเสรีนครจักรวรรดิในปีค.ศ. 1648
หนังสือตั้งเสรีนครลือเบ็ค ค.ศ. 1226

เสรีนคร (เยอรมัน: freie Städt) และ นครจักรวรรดิ (เยอรมัน: Reichsstädt) หรือเรียกรวม ๆ ว่า เสรีนครจักรวรรดิ (เยอรมัน: Freie Reichsstadt) เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมายถึงนครที่ได้รับอำนาจปกครองตนเองบางส่วนจากจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และมีผู้แทนนครประจำอยู่ในสภาไรชส์ทาค เมืองประเภทนี้ได้รับสถานะพิเศษที่เรียกว่า ไรชส์อุนมิทเทิลบาร์ไคท์ (Reichsunmittelbarkeit) ขึ้นตรงต่อจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยตรง แตกต่างจากเมืองหรือนครอื่นๆที่ขึ้นกับเจ้าหรือขุนนางท้องถิ่น

สำหรับความแตกต่างระหว่าง "เสรีนคร" กับ "นครจักรวรรดิ" เสรีนครคือนครที่เดิมปกครองโดยเจ้าชายมุขนายก แต่ต่อมาได้หลุดพ้นจากการปกครองของมุขนายกในช่วงกลางสมัยกลาง (High Middle Ages) เมืองเหล่านี้ก็ได้แก่ บาเซิล (ค.ศ. 1000) ว็อมส์ (ค.ศ. 1074) ไมนทซ์ (ค.ศ. 1244 เปลี่ยนฐานะ ค.ศ. 1462) เรเกินส์บวร์ค (ค.ศ. 1245) สทราซบูร์ (ค.ศ. 1272) โคโลญ (ค.ศ. 1288) และชไปเออร์[1] (ค.ศ. 1294)

แม้ว่ารายละเอียดทางกฎหมายของแต่ละรัฐเหล่านี้จะต่างกันไปแต่ตามแต่ละแห่ง แต่โดยสรุปแล้ว เสรีนครมีอภิสิทธิ์ดีกว่านครจักรวรรดิ ตัวอย่างเช่นในกรณีที่เกิดสงครามครูเสด เสรีนครรับผิดชอบแต่เพียงให้การสนับสนุนทางการทูตและยุทธปัจจัยแก่ส่วนราชการกลางจักรวรรดิ แต่นครจักรวรรดิต้องเสียภาษีให้แก่จักรพรรดิและต้องส่งกองทัพไปช่วยในการทัพด้วย

รายชื่อเสรีนครจักรวรรดิ

ด้านล่างนี้ประกอบด้วยรายชื่อเสรีนครจักรวรรดิ 50 แห่งที่เข้าร่วมประชุมสภาไรชส์ทาคในปีค.ศ. 1752 เรียงตามลำดับการใช้สิทธิ์ออกเสียงของม้านั่งแต่ละฝั่ง ในวงเล็บคืออัตราการสนับสนุนทรัพยากรแก่ส่วนราชการกลางจักรวรรดิในยามศึกสงคราม ยกตัวอย่างที่ระบุว่า "โคโลญ (30-322-600)" หมายความว่าโคโลญต้องสนับสนุนทหารม้า 30 นาย, ทหาราบ 322 นาย และเหรียญเงินกุลเดิน 600 เหรียญ[2]

ม้านั่งไรน์ (Rheinische Städtebank)

  1.  โคโลญ (30-322-600)
  2.  อาเคิน (20-90-260)
  3. ลือเบ็ค (21-177-550)
  4. ว็อมส์ (10-78-325)
  5. ชไปเออร์ (3-99-325)
  6. ฟรังค์ฟวร์ท (20-140-500)
  7. ก็อสลาร์ (0-130-205)
  8. เบรเมิน (ยกเว้น)
  9. ฮัมบวร์ค (20-120-325)
  10. มืลเฮาเซิน (0-78-180)
  11. นอร์ทเฮาเซิน (0-78-180)
  12. ดอร์ทมุนท์ (20-100-180)
  13. ฟรีดแบร์ค (0-22-90)
  14. เว็ทซ์ลาร์ (0-31-40)

ม้านั่งชวาเบิน (Schwäbische Städtebank)

  1. เรเกินส์บวร์ค (20-112-120)
  2. เอาคส์บวร์ค (25-150-500)
  3. เนือร์นแบร์ค (40-250-600)
  4. อูลม์ (29-150-600)
  5. เอ็สสลิงเงินอัมเน็คคาร์ (10-67-235)
  6. ร็อยท์ลิงเงิน (6-55-180)
  7. เนิร์ดลิงเงิน (10-80-325)
  8. โรเทินบวร์คอ็อพแดร์เทาเบอร์ (10-90-180)
  9. ฮัลล์ (ปัจจุบันคือชเวบิชฮัลล์) (10-80-325)
  10. ร็อททไวล์ (3-122-180)
  11. อือเบอร์ลิงเงิน (10-78-325)
  12. ไฮล์บร็อน (6-60-240)
  13. กมึนท์ (ปัจจุบันคือชเวบิชกมึนท์) (5-45-150)
  14. เม็มมิงเงิน (10-67-325)
  15. ลินเดา (6-72-200)
  16. ดินเคิลส์บืล (5-58-240)
  17. บีเบอร์รัคอันแดร์ริส (6-55-180)
  18. ราเวินส์บวร์ค (4-67-180)
  19. ชไวน์ฟวร์ท (5-36-120)
  20. เค็มพ์เทิน (3-36-120)
  21. วินเดิสไฮม์ (4-36-180)
  22. เคาฟ์บ็อยเริน (4-68-90)
  23. ไวล์ (2-18-120)
  24. วังเงินอิมอัลก็อย (3-18-110)
  25. อิสนึอิมอัลก็อย (4-22-100)
  26. ฟุลเลินดอร์ฟ (3-40-75)
  27. อ็อฟเฟินบวร์ค (0-45-150)
  28. ล็อยท์เคียร์ชอิมอัลก็อย (2-18-90)
  29. วิมฟ์เฟิน (3-13-130)
  30. ไวส์เซินบวร์คอิมนอร์ทเกา (4-18-50)
  31. กิงเงิน (2-13-60)
  32. เก็งเงินบัค (0-36-0)
  33. เซ็ลอัมฮาร์เมิร์สบัค (0-22-0)
  34. บุชฮอร์น (ปัจจุบันคือฟรีดริชส์ฮาเฟิน) (0-10-60)
  35. อาเลิน (2-18-70)
  36. บ็อพฟิงเงิน (1-9-50)

อ้างอิง

  1. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Speyer
  2. G. Benecke, Society and Politics in Germany, 1500–1750, Routledge & Kegan Paul and University of Toronto Press, London, Toronto and Buffalo, 1974, Appendix II.

ดูเพิ่ม