เส้นควบคุมแท้จริง
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/84/Kashmir_map_big.jpg/330px-Kashmir_map_big.jpg)
เส้นควบคุมแท้จริง (อังกฤษ: Line of Actual Control) เป็นพรมแดนที่มีประสิทธิผลระหว่างอินเดียกับจีน เส้นควบคุมแท้จริงมีความยาว 4,057 กิโลเมตรและตัดผ่านแคว้นสามแคว้นในรัฐอินเดียตอนเหนือ: ทางตะวันตก (ลาดัก กัศมีร์) ตอนกลาง (รัฐอุตตราขัณฑ์ รัฐหิมาจัลประเทศ) และทางตะวันออก (รัฐสิกขิม รัฐอรุณาจัลประเทศ)[1] นายกรัฐมนตรีจีน โจว เอินไหล ได้ใช้วลีดังกล่าวเป็นครั้งแรกในจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีอินเดีย ชวาหระลาล เนห์รู ลงวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1959
ในจดหมายลงวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 โจวกล่าวแก่เนห์รูว่าเส้นควบคุมแท้จริงดังกล่าวประกอบด้วย "สิ่งที่เรียกว่า แนวแมกมาฮอนทางตะวันออกและโยงมายังพื้นที่ซึ่งแต่ละฝ่ายปกครองอยู่อย่างแท้จริงทางตะวันตก" ระหว่างสงครามจีน-อินเดีย (ค.ศ. 1962) เนห์รูอ้างว่าตนไม่ทราบว่าแนวดังกล่าววอยู่ตรงไหน:
"ไม่มีเหตุผลหรือความหมายในข้อเสนอของจีนที่จะถอนกำลังออกไป 20 กิโลเมตรจากสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า 'เส้นควบคุมแท้จริง' อะไรคือ 'เส้นควบคุม' มันคือแนวที่พวกเขาสร้างขึ้นโดยการรุกรานตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนใช่หรือไม่ การรุกคืบเข้ามาสี่สิบหรือหกสิบกิโลเมตรด้วยการใช้กำลังทหารอย่างโจ่งแจ้งและเสนอที่จะถอนกำลังออกไปยี่สิบกิโลเมตรโดยให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการ นี่เป็นเครื่องมือหลอกลวงที่ไม่อาจหลอกใครได้เลย"[2]
โจวตอบว่าเส้นควบคุมแท้จริงเป็น "โดยพื้นฐานแล้วก็คือแนวควบคุมแท้จริงดังเช่นที่มีระหว่างจีนและอินเดียเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 เพื่อให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ในส่วนตะวันออก มันทับกันสนิทกับสิ่งที่เรียกว่าแนวแมกมาฮอน และในทางตะวันตกและตอนกลาง มันทับซ้อนกับแนวปรกติวิสัยมาแต่เดิมซึ่งได้รับการระบุอย่างไม่เปลี่ยนแปลงโดยจีน"[3]
กฎหมายรับรู้วลีดังกล่าวในข้อตกลงจีน-อินเดีย ซึ่งได้รับการลงนามใน ค.ศ. 1993 และ ค.ศ. 1996 ข้อตกลงในปี ค.ศ. 1996 ระบุว่า "จะไม่มีกิจกรรมใด ๆ จากทั้งสองฝ่ายจะสามารถรุกล้ำเส้นควบคุมแท้จริง"[4]
อ้างอิง
- ↑ "Another Chinese intrusion in Sikkim เก็บถาวร 2011-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", OneIndia, Thursday, 19 June 2008. Accessed: 2008-06-19.
- ↑ Maxwell, Neville (1999). "India's China War". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-22. สืบค้นเมื่อ 2008-10-21.
- ↑ Chou's Latest Proposals เก็บถาวร 2011-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
- ↑ Sali, M.L., (2008) India-China border dispute, p. 185, ISBN 1434369714.