เส้นเวลาของคณิตศาสตร์

เส้นเวลาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ (timeline of mathematics)

ก่อน 1000 ปีก่อนคริสตกาล

  • ประมาณ 70,000 ปีก่อนคริสตกาล ร่องรอยบนแผ่นหินซึ่งมีรูปแบบทางเรขาคณิต ที่แอฟริกาใต้
  • ประมาณ 35,000 ถึง 20,000 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ที่แสดงถึงการบันทึกเวลา
  • ประมาณ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ท่อนกระดูกอิชานโก (Ishango Bone) อาจกล่าวถึงเรื่องจำนวนเฉพาะ และการคูณของชาวอียิปต์ ในลุ่มแม่น้ำไนล์
  • ประมาณ 3400 ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุมาเรียน คิดค้นระบบตัวเลข และมาตราการชั่ง-ตวง-วัด ในลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย
  • ประมาณ 3100 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์ คิดค้นระบบตัวเลข ฐานสิบ ซึ่งสามารถใช้แทนตัวเลขใดๆ ก็ได้ด้วยการแนะนำสัญลักษณ์รูปแบบใหม่
  • ประมาณ 2800 ปีก่อนคริสตกาล อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในอนุทวีปอินเดียใช้ระบบเศษส่วนในมาตราชั่ง-ตวง-วัด หน่วยที่เล็กที่สุดของความยาวประมาณ 1.704 มิลลิเมตร หน่วยที่เล็กที่สุดของมวลประมาณ 28 กรัม
  • 2700 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์คิดค้นวิชาสำรวจ
  • 2400 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์สร้างปฏิทินดาราศาสตร์ ใช้จนถึงยุคกลางเนื่องจากความถูกต้องทางคณิตศาสตร์ของมัน
  • ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนใช้ระบบเลขฐาน 60 และเป็นครั้งแรกที่มีการประมาณค่า π เป็น 3.125
  • ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล ลูกหินแกะสลัก (Carved Stone Ball) แห่งสกอตแลนด์แสดงถึงรูปแบบของความสมมาตรที่หลากหลาย รวมถึงทรงตันเพลโต
  • 1800 ปีก่อนคริสตกาล แผ่นปาปิรุสทางคณิตศาสตร์แห่งมอสโค (Moscow Mathematical Papyrus) แสดงถึงวิธีการหาปริมาตรของฟรัสตัม
  • 1600 ปีก่อนคริสตกาล แผ่นปาปิรุสทางคณิตศาสตร์แห่งรินด์เป็นคัดลอกของม้วนกระดาษต้นฉบับสูญหาย คาดว่าต้นฉบับน่าจะเขียนราว 1850 ปีก่อนคริสตกาลคัดลอกโดยอาลักษณ์ที่ชื่อว่าอาเมส ได้บันทึกการประมาณค่า π ด้วยค่า 3.16 เป็นความพยายามครั้งแรกที่จะหาวิธีการสร้างสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่วงกลมโดยใช้หลักการของโคแทนเจนต์ และแสดงถึงวิธีการแก้สมการเชิงเส้นอันดับหนึ่ง
  • 1300 ปีก่อนคริสตกาล แผ่นปาปิรุสแห่งเบอร์ลินซึ่งกล่าวถึงสมการกำลังสองและวิธีการหาคำตอบของสมการดังกล่าว

1 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล

ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (เรอเนซองต์)

  • ค.ศ. 1520 - สคิปิโอเน เดล เฟอโร คิดค้นคำตอบในรูปแบบราก ของสมการกำลังสาม แบบลดรูป (คือสมการกำลังสาม ที่สัมประสิทธิ์ของเทอม x2 เท่ากับ 0) ได้สำเร็จ แต่ว่าไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานนี้ และได้ถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์คนสนิทชื่อ "อันโตนิโอ ฟิออ" คนเดียวเท่านั้น
  • ค.ศ. 1535 - อันโตนิโอ ฟิออ ซึ่งได้รับถ่ายทอดเทคนิคจาก เดล เฟอโร ได้ท้า นิคโคโล ฟอนตาน่า หรือ ทาร์ทากลียา แข่งทำโจทย์คณิตศาสตร์ โดยต่างคนต่างให้โจทย์อีกฝ่ายคนละ 30 ข้อ โดยฟิออได้ให้ทาร์ทากลียาทำโจทย์สมการกำลังสาม ลดรูปทั้งหมด 30 ข้อ และในที่สุด ทาร์ทากลียาก็คิดค้นคำตอบในรูปแบบรากได้เช่นเดียวกันกับ เดล เฟอโร และชนะการแข่งขันครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ทาร์ทากลียาก็ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้เช่นกัน,
  • ค.ศ. 1539 - จีโรลาโม คาร์ดาโน เรียนรู้วิธีในการหาคำตอบสมการกำลังสามลดรูปจากทาร์ทากลียา และในเวลาต่อมา คาร์ดาโนก็สามารถคิดค้นวิธีหาคำตอบในรูปแบบรากของสมการกำลังสามแบบสมบูรณ์ได้,
  • ค.ศ. 1540 - โลโดวิโค เฟอรารีซึ่งเป็นลูกศิษย์ของคาร์ดาโน คิดค้นวิธีหาคำตอบในรูปแบบรากของสมการกำลังสี่ ได้สำเร็จ,
  • ค.ศ. 1614 - จอห์น นาเปียร์ คิดค้นลอการิทึมได้สำเร็จหลังจากทุ่มเทมานับสิบปี และตีพิมพ์ผลงานนี้ใน Mirifici Logarithmorum Canonis Descriptio,
  • ค.ศ. 1619 - เรอเน เดการ์ต และปีแยร์ เดอ แฟร์มา คิดค้นเรขาคณิตวิเคราะห์ได้ ในเวลาใกล้เคียงกัน,
  • ค.ศ. 1629 - ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ได้คิดค้นรากฐานบางส่วนของแคลคูลัสอนุพันธ์,
  • ค.ศ. 1637 - ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ได้จดบันทึกเล็ก ๆ ในหนังสือ Arithmetica ของไดโอแฟนตุสว่า ผมสามารถพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ได้ แต่ว่าที่ว่างตรงนี้มันน้อยเกินไปที่จะเขียนบทพิสูจน์ ทฤษฎีบทที่ว่านี้ก็คือ ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาซึ่งไม่มีใครพิสูจน์ได้เลยเป็นเวลานานเกือบ 400 ปี จนกระทั่งแอนดรูว์ ไวล์ได้ให้บทพิสูจน์ในปี ค.ศ. 1995,
  • ค.ศ. 1654 - แบลซ ปัสกาล และ ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ได้ร่วมมือกันคิดค้นรากฐานของทฤษฎีความน่าจะเป็น,จากสามเหลี่ยมปาสกาลซึ่งเป็นผลงานทางคณิตศาสตร์ของชาวจีน

คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (ยุคคลาสสิก)

  • ค.ศ. 1665 - ไอแซก นิวตัน พิสูจน์ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส และสร้างแคลคูลัสขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางกลศาสตร์ในฟิสิกส์ โดยนิวตันเรียกแคลคูลัสว่า วิธีแห่งการเปลี่ยนแปลง ,
  • ค.ศ. 1671 - เจมส์ เกรกอรี คิดค้นอนุกรมอนันต์ในการแทนฟังก์ชันผกผันของแทนเจนต์ซึ่งเป็นอนุกรมอนันต์ที่มีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เช่น นำไปใช้คำนวณค่า π,
  • ค.ศ. 1673 - กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ประดิษฐ์แคลคูลัสของเขาเองโดยไม่ขึ้นกับของนิวตัน แคลคูลัสของไลบ์นิซนั้นมีรากฐานมาจากคณิตศาสตร์บริสุทธิ์โดยตรงซึ่งต่างจากนิวตันที่มีรากฐานมาจากการประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง โดยประเด็นที่ว่าใครเป็นผู้คิดค้นแคลคูลัสเป็นคนแรกนั้นถูกถกเถียงกันมานานนับศตวรรษ ชื่อ แคลคูลัส มาจากฝั่งของไลบ์นิซ นอกจากนั้นสัญลักษณ์ทางแคลคูลัสในคณิตศาสตร์ปัจจุบันเราก็ใช้ของไลบ์นิซ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยให้จดจำกฎต่างๆ ของแคลคูลัสได้ง่ายกว่าในที่สุดจึงได้รับเป็นบิดาแห่งวิชาแคลคูลัส (ในทำนองเดียวกันกับ สัญลักษณ์ของดิแรกในกลศาสตร์ควอนตัม)
  • ค.ศ. 1675 - ไอแซก นิวตัน คิดค้นการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเพื่อหาคำตอบของสมการไม่เชิงเส้น เรียกว่าวิธีของนิวตัน หรือ วิธีของนิวตันและราฟสัน เนื่องจากเวลาต่อมานักคณิตศาสตร์ชื่อราฟสันก็คิดค้นวิธีเดียวกันนี้ได้โดยไม่ขึ้นกับนิวตัน,
  • ค.ศ. 1691 - กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ คิดค้นเทคนิคในการแยกตัวแปรของสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ,
  • ค.ศ. 1696 - กุยลอมเมอ เดอ โลปิตาล (ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของโยฮัน เบอร์นูลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของไลบ์นิซอีกที) ได้คิดค้นกฎของโลปีตาล ในการคำนวณหาค่าลิมิตของฟังก์ชันที่อยู่ในรูป 0/0,
  • ค.ศ. 1696 - โยฮัน เบอร์นูลลี หาคำตอบในปัญหา brachistochrone problem ได้สำเร็จและเป็นจุดเริ่มต้นของแคลคูลัสของการแปรผัน,
  • ค.ศ. 1712 - บรู๊ค เทย์เลอร์ พัฒนาอนุกรมเทย์เลอร์ได้สำเร็จ,
  • ค.ศ. 1722 - อับราฮัม เดอ มอยเร ได้แสดง De Moivre's theorem ซึ่งทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันของตรีโกณมิติและจำนวนเชิงซ้อน,
  • ค.ศ. 1730 - เจมส์ สเติรริง ตีพิมพ์ The Differential Method,
  • ค.ศ. 1733 - อับราฮัม เดอ มอยเร นำ การกระจายตัวแบบปกติในการประมาณค่าของการกระจายตัวแบบทวินามของนิวตัน(โดยคันพบจากสามเหลี่ยมปาสคาล)ในทฤษฎีความน่าจะเป็น,
  • ค.ศ. 1734 - เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ คิดค้น integrating factor technique ในการแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับหนึ่ง,
  • ค.ศ. 1736 - เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ แก้ปัญหาสะพานทั้งเจ็ดแห่งเมืองโคนิกส์เบิร์ก ได้สำเร็จและส่งผลให้ทฤษฎีกราฟกำเนิดขึ้นมาเป็นสาขาใหม่ของคณิตศาสตร์,
  • ค.ศ. 1739 - เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ คิดวิธีมาตรฐานในการแก้สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้นแบบเอกพันธ์ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงที่ได้สำเร็จ,
  • ค.ศ. 1761 - โทมัส เบย์ ได้สร้างทฤษฎีบทของเบย์ขึ้นมาในทฤษฎีความน่าจะเป็น,
  • ค.ศ. 1762 - โจเซพ หลุยส์ ลากรองช์ คิดค้น divergence theorem,
  • ค.ศ. 1796 - คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ พิสูจน์ว่า รูป 17 เหลี่ยมด้านเท่า สามารถสร้างได้ด้วยไม้บรรทัดและวงเวียนเท่านั้น ซึ่งนับเป็นการต่อยอดความรู้กรีกที่นิ่งมาราว 2000 ปีได้สำเร็จ,
  • ค.ศ. 1796 - เอเดรียน-แมรี เลอจองด์ ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับทฤษฎีบทจำนวนเฉพาะ,
  • ค.ศ. 1799 - คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ให้บทพิสูจน์ของทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต ที่บอกว่า ทุกๆ สมการพหุนามจะมีคำตอบในรูปจำนวนเชิงซ้อนเสมอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญที่สุดของจำนวนเชิงซ้อนในพีชคณิต,

คริสต์ศตวรรษที่ 19

คริสต์ศตวรรษที่ 20

  • ค.ศ. 1901 - เอเลีย คาร์ตันพัฒนาแนวคิดอนุพันธ์ภายนอก
  • ค.ศ. 1903 - คาร์ล เดวิด ทอร์ม รูจ นำเสนอ ผลการแปลงฟูรีเยแบบเร็ว
  • ค.ศ. 1903 - เอ็ดมันด์ ลันเดาได้ให้บทพิสูจน์อย่างง่ายของทฤษฎีบทจำนวนเฉพาะ
  • ค.ศ. 1908 - เอิร์นส เซอเมโลได้นิยามกลุ่มสัจพจน์ของทฤษฎีเซตขึ้น เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่คันทอร์และรัสเซลล์พบ
  • ค.ศ. 1908 - โจซิพ เปลเมลจ์ ค้นพบวิธีแก้ปัญหาของรีมันน์เกี่ยวกับการมีจริงของ สมการเชิงอนุพันธ์ จากกลุ่มโมโนโดรมี โดยใช้วิธีการของซอกฮอทสกี-เปลเมลจ์
  • ค.ศ. 1912 - บราวเวอร์นำเสนอทฤษฎีบทจุดตรึงของบราวเวอร์
  • ค.ศ. 1912 - โจซิพ เปลเมลจ์ ตีพิมพ์วิธีการพิสูจน์อย่างง่ายของทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาเมื่อค่าเลขชี้กำลัง n = 5
  • ค.ศ. 1913 - ศรีนิวาสะ รามานุจัน ส่งทฤษฎีบทจำนวนมากชุดหนึ่ง (แต่ไม่ได้ให้บทพิสูจน์) ไปยังก็อดฟรีย์ ฮาร์ดี้แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
  • ค.ศ. 1914 - ศรีนิวาสะ รามานุจัน ตีพิมพ์ Modular Equations and Approximations to π
  • ค.ศ. 1919 - วิกโก บรันนิยามค่าคงที่ของบรัน สำหรับจำนวนเฉพาะฝาแฝด
  • ค.ศ. 1928 - จอห์น ฟอน นอยมันน์ นำเสนอทฤษฎีเกมและพิสูจน์ทฤษฎีบท minimax
  • ค.ศ. 1930 - แคซิเมียร์ กุราคอฟสกีพิสูจน์ว่าปัญหากระท่อมสามหลังเป็นไปไม่ได้
  • ค.ศ. 1931 - เคิร์ท เกอเดลพิสูจน์ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดลที่บอกว่า ระบบรูปนัย ถ้ามีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว จำเป็นที่จะต้องไม่สมบูรณ์ หรือไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีความต้องกัน
  • ค.ศ. 1931 - จอร์จ เดอ ลามพัฒนาแนวคิด cohomology และ characteristic class ในทอพอโลยี
  • ค.ศ. 1933 - แครอล บอร์ซัก และ สแตนนิซลอว์ อูลามนำเสนอทฤษฎีบทบอร์ซัก-อูลาม ในทอพอโลยี
  • ค.ศ. 1933 - แอนดรี นิโคเลวิช โคโมโกรอฟ ตีพิมพ์หนังสือ Basic notions of the calculus of probability (Grundbegriffe der Wahrscheinlichkeitsrechnung) ซึ่งประกอบไปด้วย สัจพจน์ของความน่าจะเป็น บนพื้นฐานของ ทฤษฎีการวัด
  • ค.ศ. 1940 - เคิร์ท เกอเดล แสดงให้เห็นว่าทั้งสมมติฐานความต่อเนื่องและสัจพจน์การเลือกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จจากสัจพจน์พื้นฐานของทฤษฎีเซต
  • ค.ศ. 1942 - แดนเนียลสันและแลนก์ซอสพัฒนาขั้นตอนวิธีแปลงฟูรีเยแบบเร็ว
  • ค.ศ. 1943 - เคนเน็ธ เลเวนเบิร์กเสนอวิธีการหาค่าเหมาะในรูปแบบที่ไม่เป็นเชิงเส้นโดยใช้กำลังสองน้อยสุด
  • ค.ศ. 1945 - สตีเฟน โคล คลีน เสนอแนวคิด realizability
  • ค.ศ. 1948 - จอห์น ฟอน นอยมันน์ เริ่มนำเครื่องจักรที่ทำงานด้วยตัวเองมาวิเคราะห์ตามหลักคณิตศาสตร์
  • ค.ศ. 1949 - จอห์น ฟอน นอยมันน์ คำนวณ π ได้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 2,037 โดยใช้ENIAC
  • ค.ศ. 1950 - สแตนนิซลอว์ อูลามและ จอห์น ฟอน นอยมันน์เสนอ cellular automata
  • ค.ศ. 1953 - นิโคลัส เมโทโพลิส เสนอขั้นตอนวิธีการอบเหนียวจำลองซึ่งประยุกต์มาจากแนวคิดของอุณหหลศาสตร์
  • ค.ศ. 1955 - เอนรีโก แฟร์มี จอห์น พาสต้าและสแตนนิซลอว์ อูลาม ศึกษาการนำความร้อนโดยใช้โมเดลการสั่นของสายเส้นเชิงตัวเลข และค้นพบว่ามีพฤติกรรมชุดคลื่นโซลิตอน
  • ค.ศ. 1960 - C. A. R. Hoare คิดค้นขั้นตอนวิธี quicksort
  • ค.ศ. 1960 - เออวิง รีดและกุสตาฟ โซโลมอน นำเสนอรหัสแก้ความผิดพลาดรีด-โซโลมอน
  • ค.ศ. 1961 - เดเนียล แชงคส์และ จอห์น เวนช์คำนวณค่า π ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 100,000 โดยใช้ฟังก์ชันผกผันของแทนเจนต์ และคอมพิวเตอร์ IBM-7090
  • ค.ศ. 1962 - โดนัลด์ มาควอรต์ เสนอขั้นตอนวิธีการหาค่าเหมาะในรูปแบบที่ไม่เป็นเชิงเส้นโดยใช้กำลังสองน้อยสุดเลเวนเบิร์ก-มาควอรต์
  • ค.ศ. 1963 - พอล โคเฮ็นคิดค้นเทคนิคการ forcing เพื่อแสดงว่าสมมติฐานความต่อเนื่องและสัจพจน์การเลือกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงจากสัจพจน์พื้นฐานของทฤษฎีเซต
  • ค.ศ. 1963 - มาร์ติน ครุซกัล และนอร์มอน ซาบัสกี วิเคราะห์การทดลองของแฟร์มี-พาสต้า-อูลามในลิมิตที่ต่อเนื่องและค้นพบว่าระบบนี้สอดคล้องกับสมการเคดีวี
  • ค.ศ. 1963 - เอ็ดวาร์ด นอร์ตัน ลอเรนซ์ ตีพิมพ์ผลเฉลยของโมเดลคณิตศาสตร์อย่างง่ายสำหรับอธิบายความแปรปรวนของสภาพอากาศ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่รู้จักกันทั่วไปในด้านพฤติกรรมโกลาหล ตัวดึงดูดลอเรนซ์ หรือที่มักเรียกกันว่าปรากฏการณ์การกระพือปีกของผีเสื้อ
  • ค.ศ. 1965 - ลอตฟิ อาสเกอร์ ซาเดห์ นักคณิตศาสตร์ชาวอิรักค้นพบทฤษฎีเซตวิภัชนัย อันเป็นการขยายแนวคิดของเซตดั้งเดิมและทำให้เกิดวิชาคณิตศาสตร์คลุมเคลือ
  • ค.ศ. 1965 - มาร์ติน ครุซกัล และนอร์มอน ซาบัสกีศึกษาการชนกันของชุดคลื่นโซลิตอน เชิงตัวเลขในพลาสมา และค้นพบว่าชุดคลื่นดังกล่าวไม่เกิดการกระจายหลังการชน
  • ค.ศ. 1965 - เจมส์ คูลลี และจอห์น ตูกี เสนอขั้นตอนวิธีแปลงฟูรีเยแบบเร็วที่ใช้ในปัจจุบัน
  • ค.ศ. 1966 - อับราฮัม โรบินสัน เสนอการวิเคราะห์ Abraham Robinson presents Non-standard analysis.
  • ค.ศ. 1965 - พุตเซอร์เสนอวิธีการคำนวณการชี้กำลังของเมทริกซ์สองวิธีในรูปของพหุนามของเมทริกซ์นั้น
  • ค.ศ. 1967 - โรเบิร์ต แลงค์แลนดส์เสนอโปรแกรมของแลงค์แลนดส์อันเป็นข้อคาดการณ์นำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีจำนวนและทฤษฎีตัวแทน
  • ค.ศ. 1968 - มิเชลล์ อาติยา และอิซาดอร์ ซิงเกอร์ พิสูจน์ทฤษฎีบทดัชนีอาติยา-ซิงเกอร์ซึ่งกล่าวถึงตัวดำเนินการเชิงวงรี
  • ค.ศ. 1973 - ลอตฟิ ซาเดห์ คิดค้นตรรกศาสตร์คลุมเคลือ
  • ค.ศ. 1975 - เบอนัว มานดัลบรอ ตีพิมพ์ Les objets fractals, forme, hasard et dimension ซึ่งกล่าวถึงแฟรกทัล เป็นครั้งแรก
  • ค.ศ. 1976 - เคนเนต แอพพิว และวูลฟ์กัง ฮาเกน ใช้คอมพิวเตอร์พิสูจน์ทฤษฎีบทสี่สี
  • ค.ศ. 1983 - เกิร์ต ฟัลติงส์พิสูจน์ข้อคาดการณ์ของมอร์เดล ซึ่งเป็นการแสดงโดยทางอ้อมในทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา ว่าสำหรับ n > 2 ว่าจะมีจำนวนเต็ม a b และ c ซึ่งเป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กัน และทำให้ an + bn = cn อยู่จำนวนจำกัด
  • ค.ศ. 1983 - classification of finite simple groups ในทฤษฎีกลุ่ม ซึ่งเป็นงานที่ทำโดยนักคณิตจำนวนมากและใช้เวลารวมสามสิบปีได้เสร็จสิ้นลง
  • ค.ศ. 1985 - หลุยส์ เดอ บรังกส์ เดอ บอเชียพิสูจน์ข้อคาดการณ์ของบีเบอร์บาค สำเร็จ
  • ค.ศ. 1987 - ยาสึมาสะ คานาดะ เดวิด เบลเลย์ โจนาทาน บอร์เวน และปีเตอร์ บอร์เวน ใช้การประมาณสมการมอดูลาร์แบบวนซ้ำประมาณอินทิกรัลเชิงวงรี บนเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ NEC SX-2 เพื่อคำนวณค่า π ได้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 134 ล้าน
  • ค.ศ. 1991 - อลอง คอนส์ และจอห์น ดับเบิลยู ลอตต์ พัฒนาเรขาคณิตสลับที่ไม่ได้
  • ค.ศ. 1994 - แอนดรูว์ ไวลส์พิสูจน์ข้อคาดการณ์ทะนิยะมะ-ชิมูระได้บางส่วนและเป็นการพิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา โดยทางอ้อมไปด้วย
  • ค.ศ. 1998 - โทมัส คาลิสเตอร์ เฮลส์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยพิสูจน์ข้อคาดการณ์ของเคปเลอร์ (รอการรับรองบทพิสูจน์อยู่)
  • ค.ศ. 1999 - ข้อคาดการณ์ทะนิยะมะ-ชิมูระได้รับการพิสูจน์ทั้งหมด
  • ค.ศ. 2000 - สถาบันคณิตศาสตร์เคลย์ (Clay Mathematics Institute) ได้ประกาศให้เงินรางวัลหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้ที่สามารถหาคำตอบปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในปัญหา 7 ข้อของเคลย์ได้

คริสต์ศตวรรษที่ 21 (ปัจจุบัน)

  • ค.ศ. 2002 - มานินดรา อกราวัล นิทิน แซกซินา และนีราจ คายัล จากสถาบันเทคโนโลยีอินเดียคานเปอร์ (Indian Institute of Technology Kanpur) เสนอขั้นตอนวิธีไม่มีเงื่อนไขเชิงกำหนดซึ่งใช้เวลาเชิงพหุนามสำหรับพิจารณาว่าจำนวนที่ให้มาเป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่ ซึ่งเรียกกันว่าการทดสอบจำนวนเฉพาะ AKS
  • ค.ศ. 2002 - ยาสึมาสะ คานาดะ วาย. ยูชิโร่ ฮิซะยาสึ คุโรดะ มาโกโตะ คุโด้ และทีมงานอีกเก้าคนได้ทำการคำนวณ π ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 1,241 ล้าน โดยใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาด 64 node ของฮิตาชิ
  • ค.ศ. 2002- Preda Mihăilescu พิสูจน์ข้อความคาดการณ์ของคาตาลาน ได้สำเร็จ
  • ค.ศ. 2003- กริกอรี เพเรลมานพิสูจน์ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหา 7 ข้อของเคลย์ได้สำเร็จ
  • ค.ศ. 2007- นักวิจัยในอเมริกาเหนือและยุโรปร่วมมือกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อสร้าง ในทฤษฎีกลุ่ม
  • ค.ศ. 2009- Ngo Bao Chau นักคณิตศาสตร์ชาวเวียดนามพิสูจน์บทตั้งมูลฐาน (Fundamental lemma) ในโปรแกรมของแลงค์แลนดส์ (Langlands program) ได้สำเร็จ [1]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  • บางส่วนของบทความนี้นำมาจาก Niel Brandt (1984) ซึ่งอนุญาตให้ใช้ในโครงการวิกิพีเดียตามที่ระบุไว้ใน [2]

อ้างอิง

  1. Laumon, G.; Ngô, B. C. (2004), Le lemme fondamental pour les groupes unitaires, arXiv:math/0404454
  2. en:Talk:Timeline of mathematics