เอชทีเอ็มแอล
โลโก้อย่างเป็นทางการของเวอร์ชันล่าสุด, เอชทีเอ็มแอล5[1] | |
นามสกุลไฟล์ |
|
---|---|
ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต |
text/html |
ชนิดของโค้ด | TEXT |
Uniform Type Identifier (UTI) | public.html |
ผู้พัฒนา | WHATWG |
เปิดตัวครั้งแรก | 1993 |
รุ่นล่าสุด | Living Standard 2022 |
รูปแบบ | รูปแบบไฟล์เอกสาร |
บรรจุสำหรับ | ส่วนย่อยเอชทีเอ็มแอล |
บรรจุโดย | เว็บเบราว์เซอร์ |
แยกสำหรับ | SGML |
แยกไปยัง | เอกซ์เอชทีเอ็มแอล |
รูปแบบไฟล์เปิด | ใช่ |
เว็บไซต์ | html |
เอชทีเอ็มแอล | |||
---|---|---|---|
|
|||
Comparisons | |||
|
|||
เอชทีเอ็มแอล (อังกฤษ: HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปัจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม
เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน [2] ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 [3]
HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรับ .html และ สำหรับ .htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร
Markup
ลักษณะชนิดของมาร์กอัป ใน
- markupสำหรับ การมี sอธิบายจุดประสงค์ ของข้อมูล ตัวอย่างเช่น
<h2>ฟุตบอล</h2>
- กำหนดให้เบราว์เซอร์คำนวณ "ฟุตบอล" เป็นลักษณะของหัวข้ออันดับที่ 2 มาร์กอัปโครงหลัก โดยปกติไม่ได้กำหนดลักษณะการแสดงผล แต่อย่างไรก็ตาม ทางเบราว์เซอร์กำหนดการแสดงผลมาตรฐานของมาร์กอัป โดยปกติจะแสดงผลในลักษณะที่ตัวอักษรขนาดใหญ่ และมีความหนา การกำหนดลักษณะสามารถทำได้ในส่วนของ Cascading Style Sheets (CSS)
- มาร์กอัปสำหรับ การแสดงผล อธิบายการแสดงผลของ ข้อความโดยไม่ได้มีความหมายอื่นในทางโครงสร้าง ตัวอย่างเช่น
<b>ตัวหนา</b> <i>ตัวเอียง</i> <u>ขีดเส้นใต้</u>
- กำหนดให้คำว่า "ตัวหนา" แสดงผลในลักษณะตัวหนา เช่นเดียวกับการแสดงผลใน ตัวเอียง หรือ ขีดเส้นใต้
- มาร์กอัปไฮเปอร์เท็กซท์ อธิบายการเชื่อมโยงระหว่าง ส่วนหนึ่งของข้อมูลไปยังอีกส่วนหนึ่งของข้อมูล ไม่ว่าจะถูกจัดเก็บในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น
- กำหนดให้การแสดงผล เว็บไซต์วิกิพีเดีย เป็น ไฮเปอร์ลิงก์ ไปที่ URL ที่กำหนดไว้
การพัฒนาเว็บเพจแนวใหม่ด้วยมาร์กอัป <div>
เนื่องจากข้อจำกัดของ HTML ทำให้ผู้ใช้แนวทางเก่าใช้แท็ก Table ในการจัดโครงสร้างของเนื้อหา ในปัจจุบัน ได้มีแนวทางใหม่ในการใช้แท็ก div ร่วมกับ การกำหนด CSS ในการจัดโครงสร้างของเนื้อหา ตามแบบฉบับการทำงานของบริษัทแมโครมีเดีย ซึ่งทำให้เราสามารถออกนอกกรอบและสามารถจัดเอกสารได้ง่าย และรวดเร็วกว่า อีกด้วย
ตัวอักษรเลื่อน
- โค้ดนี้จะทำให้ตัวอักษรเลื่อนไปทางซ้ายได้
<marquee>ตัวอักษรเลื่อน</marquee>
อ้างอิง
- ↑ "W3C Html".
- ↑ ประวัติที่มาของ HTML
- ↑ A vocabulary and associated APIs for HTML and XHTML W3C Working Draft 22 January 2008