เอฟเอคัพ
ผู้จัด | สมาคมฟุตบอล |
---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1871 |
ภูมิภาค |
|
จำนวนทีม | 729 (2023–24) |
ผ่านเข้าไปเล่นใน | ยูฟ่ายูโรปาลีก |
ถ้วยในประเทศ | เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (13 สมัย) |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | อาร์เซนอล (14 สมัย) |
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์ |
|
เว็บไซต์ | thefa.com |
เอฟเอคัพ ฤดูกาล 2023–24 |
เดอะฟุตบอลอะโซชีเอเชินแชลลินจ์คัพ (อังกฤษ: The Football Association Challenge Cup) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า เอฟเอคัพ (อังกฤษ: FA Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเภทแพ้คัดออกประจำปีของฟุตบอลชายในประเทศอังกฤษ เริ่มแข่งขันครั้งแรกเมื่อ ฤดูกาล 1871–72 โดยเป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[1] การแข่งขันตั้งชื่อตามและจัดโดยสมาคมฟุตบอล (ดิเอฟเอ) การแข่งขันมีชื่อว่า เอมิเรตส์เอฟเอคัพ ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 เพราะได้รับการสนับสนุนจาก เอมิเรตส์ การแข่งขันจัดพร้อมกันกับเอฟเอคัพหญิงตั้งแต่ ค.ศ. 1970
การแข่งขันเปิดให้ทุกสโมสรที่มีสิทธิ์ลงไปจนถึงระดับ 9 ของระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ โดยมีสโมสรระดับ 10 ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในกรณีที่สโมสรจากระดับบนไม่ได้ส่งเข้าแข่งขัน[2] ฤดูกาล 2011–12 มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุดเป็นสถิติถึง 763 สโมสร การแข่งขันประกอบด้วยการสุ่มจับฉลาก 12 รอบ ตามมาด้วยรอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้เป็นทีมวาง แม้ว่าระบบการบายตามระดับลีกจะทำให้ทีมที่มีอันดับสูงกว่าเข้าสู่รอบต่อ ๆ ไป แต่จำนวนเกมขั้นต่ำที่ต้องชนะ ขึ้นอยู่กับรอบที่ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน มีตั้งแต่ 6 ถึง 14 เกม
หกรอบแรกเป็นการแข่งขันรอบคัดเลือก และแข่งขันกันโดยสโมสรในระบบลีกแห่งชาติ ระดับ 5 ถึง 10 ของระบบฟุตบอลอังกฤษ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฟุตบอลนอกลีก 32 ทีมจากรอบนี้ผ่านเข้าสู่รอบแรกของการแข่งขันที่แท้จริง โดยพบกับทีมอาชีพทีมแรก 48 ทีมจาก ลีกวันและทู ผู้เข้าแข่งขันชุดสุดท้ายคือ 20 ทีมจากพรีเมียร์ลีกและ 24 ทีมจากแชมเปียนชิป โดยมาเข้ามาจับสลากในรอบสาม[2] ในยุคปัจจุบัน มีทีมนอกลีกเพียงทีมเดียวเท่านั้นที่ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ และทีมที่ต่ำกว่าระดับ 2 ไม่เคยผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ[note 1] เป็นผลให้มีการมุ่งเน้นไปที่ทีมเล็ก ๆ ที่ผ่านเข้ารอบได้ไกลที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาได้รับชัยชนะแบบ "สังหารยักษ์" ที่ไม่น่าเป็นไปได้
ผู้ชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลเอฟเอคัพ ซึ่งมีสองแบบและถ้วยจริงห้าใบ ถ้วยแบบล่าสุดคือแบบจำลองของถ้วยแบบที่สองใน ค.ศ. 2014 ซึ่งเปิดตัวเมื่อ ค.ศ. 1911 ผู้ชนะเลิศยังได้เข้าแข่งขันในรายการ ยูฟ่ายูโรปาลีกและเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ อาร์เซนอล คือสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดด้วยการชนะเลิศ 14 สมัย โดยครั้งล่าสุดคือเมื่อ ค.ศ. 2020 และ อาร์แซน แวงแกร์ อดีตผู้จัดการทีมของอาร์เซนอล เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการแข่งขันรายการนี้ โดยชนะเลิศ 7 ครั้งกับอาร์เซนอล แมนเชสเตอร์ซิตี ทีมแชมป์ปัจจุบันคือแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด หลังเอาชนะแมนเชสเตอร์ซิตีในดาร์บีแมนเชสเตอร์ในสกอร์2-1สโมสร ใน ค.ศ. 2024
ประวัติศาสตร์
เมื่อ ค.ศ. 1863 สมาคมฟุตบอล (ดิเอฟเอ) ที่ก่อตั้งขึ้นใหม่เผยแพร่กติกาฟุตบอลของสมาคมฟุตบอล โดยรวมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ก่อนหน้านั้นเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1871 ภายในออฟฟิศของ หนังสือพิมพ์ เดอะสปอร์ตส์แมน ซี. ดับเบิลยู. อัลค็อก เลขานุการเอฟเอ เสนอต่อคณะกรรมการเอฟเอว่า "เป็นที่พึงประสงค์ว่าควรมีการจัดตั้งแชลลินจ์คัพขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับสมาคม โดยสโมสรทั้งหมดที่เป็นของสมาคมควรได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน" การแข่งขันเอฟเอคัพครั้งแรก เริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1871 วันเดอเรอส์ เป็นผู้ชนะในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1872 หลังแข่งขันไปสิบสามนัด วันเดอเรอส์ยังคงรักษาแชมป์ในปีถัดมา รูปแบบการแข่งขันในสมัยปัจจุบันเริ่มต้นเมื่อฤดูกาล 1888–89 ด้วยการเปิดตัวรอบคัดเลือก[3]
หลังการแข่งขันในฤดูกาล 1914–15 การแข่งขันก็ถูกระงับเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกลับมาแข่งขันต่อในฤดูกาล 1919–20 ในรอบชิงชนะเลิศ 1923 ที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ไวต์ฮอร์สไฟนอล" เป็นรอบชิงชนะเลิศแรกที่แข่งขันใน สนามกีฬาเวมบลีย์ (รู้จักกันในชื่อเอ็มไพร์สเตเดียมในเวลานั้น) ที่เพิ่งเปิดใหม่ เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1927 มีการร้องเพลง "อะไบด์วิทมี" เป็นครั้งแรกในรอบชิงชนะเลิศซึ่งกลายเป็นประเพณีก่อนการแข่งขัน[4] ไม่มีการแข่งขันระหว่าง ฤดูกาล 1938–39 ถึง 1945–46 เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง การแข่งขันจึงไม่ได้ฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีจนกระทั่ง ฤดูกาล 1980–81
หลังความสับสนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแข่งขันครั้งแรก เอฟเอตัดสินใจว่านัดที่เสมอกันจะนำไปสู่การแข่งใหม่ โดยทีมต่าง ๆ จะแข่งใหม่เพิ่มเติมจนกว่าจะได้ผู้ชนะในที่สุด[5] อัลเวเชิร์ชและออกซฟอร์ดซิตี มีการแข่งใหม่มากที่สุดถึง 6 ครั้ง ในรอบคัดเลือก ฤดูกาล 1971–72[5] การแข่งใหม่หลายครั้งถูกยกเลิกในรอบการแข่งขันในฤดูกาล 1991–92 และรอบคัดเลือกในฤดูกาล 1997–98[5] การแข่งใหม่ถูกยกเลิกในรอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศใน ค.ศ. 2000, รอบก่อนรองชนะเลิศในฤดูกาล 2016–17 และรอบห้าในฤดูกาล 2019–20[5]
การสร้างสนามเวมบลีย์ใหม่ ทำให้มีการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศนอกประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 2001–2006 โดยแข่งขันที่มิลเลนเนียมสเตเดียมในคาร์ดิฟฟ์ รอบชิงชนะเลิศกลับมาแข่งขันที่เวมบลีย์อีกครั้งใน ค.ศ. 2007 ตามมาด้วยรอบรองชนะเลิศใน 2008
รูปแบบการแข่งขัน
ภาพรวม
กำหนดการ
รอบ[2] | เดือน | ลีกที่เข้ามาในรอบนี้[2] | ผู้เข้ามาใหม่ในรอบนี้ | ผู้ชนะจากรอบก่อนหน้านี้ | จำนวนนัด |
---|---|---|---|---|---|
การแข่งขันรอบคัดเลือก[2] | |||||
รอบเบื้องต้นพิเศษ | สิงหาคม | สโมสรระดับ 10 หากมีที่ว่าง สโมสรระดับ 9 สโมสรระดับ 8 (96 ทีมอันดับต่ำสุด) |
416 | 208 | |
รอบเบื้องต้น | สโมสรระดับ 8 (64 ทีมอันดับสูงสุด) | 64 | 208 | 136 | |
รอบแรก | กันยายน | สโมสรระดับ 7 | 88 | 136 | 112 |
รอบสอง | สโมสรระดับ 6 | 48 | 112 | 80 | |
รอบสาม | ตุลาคม | ไม่มี | 0 | 80 | 40 |
รอบสี่ | สโมสรระดับ 5 | 24 | 40 | 32 | |
การแข่งขันที่แท้จริง[2] | |||||
รอบแรก | พฤศจิกายน | สโมสรระดับ 3 และ 4 | 48 | 32 | 40 |
รอบสอง | ธันวาคม | ไม่มี | 0 | 40 | 20 |
รอบสาม | มกราคม | สโมสรระดับ 1 และ 2 | 44 | 20 | 32 |
รอบสี่ | ไม่มี | 0 | 32 | 16 | |
รอบห้า | กุมภาพันธ์ | 0 | 16 | 8 | |
รอบก่อนรองชนะเลิศ | มีนาคม | 0 | 8 | 4 | |
รอบรองชนะเลิศ | เมษายน | 0 | 4 | 2 | |
รอบชิงชนะเลิศ | พฤษภาคม | 0 | 2 | 1 |
เหรียญรางวัล
แต่ละสโมสรในรอบชิงชนะเลิศจะได้รับเหรียญรางวัลผู้ชนะเลิศหรือรองชนะเลิศจำนวน 40 เหรียญเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ เหรียญกษาปณ์เนื้อทองคำรูปแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นเหรียญสำหรับผู้ชนะเลิศ ยังเป็นรูปแบบดั้งเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ทศวรรษ 1890 เหรียญรองชนะเลิศได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดใน ค.ศ. 1946 ถูกแทนที่ด้วยเหรียญรางวัลรูปแบบใหม่ใน ค.ศ. 2021 โดยเป็นเหรียญทองสำหรับผู้ชนะเลิศและเหรียญเงินสำหรับทีมรองชนะเลิศห้อยด้วยริบบิ้น[6]
ผู้สนับสนุน
ช่วงปี | ผู้สนับสนุน | ชื่อ | ถ้วยรางวัล |
---|---|---|---|
1871–1994 | — | ดิเอฟเอคัพ | ดั้งเดิม |
1994–1998 | ลิตเทิลวูดส์ | ดิเอฟเอคัพสปอนเซอร์ดบายลิตเทิลวูดส์[7] | |
1998–2002 | แอกซ่า | ดิแอกซ่าสปอนเซอร์ดเอฟเอคัพ[8] (1998–1999) ดิเอฟเอคัพสปอนเซอร์ดบายแอกซ่า (1999–2002) | |
2002–2006 | — | ดิเอฟเอคัพ | |
2006–2011 | เอ.ออน | ดิเอฟเอคัพสปอนเซอร์ดบายเอ.ออน[9][10] | |
2011–2014 | บัดไวเซอร์ | ดิเอฟเอคัพวิทบัดไวเซอร์[11] | |
2014–2015 | — | ดิเอฟเอคัพ | |
2015–2028 | เอมิเรตส์ | ดิเอมิเรตส์เอฟเอคัพ[12][13] |
การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ
* | การแข่งขันชนะในช่วงหลังต่อเวลาพิเศษ |
† | การแข่งขันชนะในช่วงการดวลลูกโทษ |
A. ^ ปี 1923 ผู้ชมอย่างเป็นทางการคือ 126,047 แต่เชื่อได้ว่ามีผู้ชมจริงอยู่ในราว 150,000 – 300,000 คน[24][25]
ทำเนียบผู้ชนะเลิศจำแนกตามสโมสร
สโมสร | ชนะเลิศ | ชนะเลิศครั้งแรก | ชนะเลิศครั้งล่าสุด | รองชนะเลิศ | รองชนะเลิศครั้งล่าสุด | เข้าชิงชนะเลิศทั้งหมด |
---|---|---|---|---|---|---|
อาร์เซนอล | 14 | 1930 | 2020 | 7 | 2001 | 21 |
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | 13 | 1909 | 2024 | 9 | 2023 | 22 |
เชลซี | 8 | 1970 | 2018 | 8 | 2022 | 16 |
ลิเวอร์พูล | 8 | 1965 | 2022 | 7 | 2012 | 15 |
ทอตนัมฮอตสเปอร์ | 8 | 1901 | 1991 | 1 | 1987 | 9 |
แมนเชสเตอร์ซิตี | 7 | 1904 | 2023 | 6 | 2024 | 13 |
แอสตันวิลลา | 7 | 1887 | 1957 | 4 | 2015 | 11 |
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด | 6 | 1910 | 1955 | 7 | 1999 | 13 |
แบล็กเบิร์นโรเวอส์ | 6 | 1884 | 1928 | 2 | 1960 | 8 |
เอฟเวอร์ตัน | 5 | 1906 | 1995 | 8 | 2009 | 13 |
เวสต์บรอมมิชอัลเบียน | 5 | 1888 | 1968 | 5 | 1935 | 10 |
วันเดอเรอส์ | 5 | 1872 | 1878 | 0 | – | 5 |
วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ | 4 | 1893 | 1960 | 4 | 1939 | 8 |
โบลตันวอนเดอเรอส์ | 4 | 1923 | 1958 | 3 | 1953 | 7 |
เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด | 4 | 1899 | 1925 | 2 | 1936 | 6 |
เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ | 3 | 1896 | 1935 | 3 | 1993 | 6 |
เวสต์แฮมยูไนเต็ด | 3 | 1964 | 1980 | 2 | 2006 | 5 |
เพรสตันนอร์ทเอนด์ | 2 | 1889 | 1938 | 5 | 1964 | 7 |
โอลด์อีโตเนียน | 2 | 1879 | 1882 | 4 | 1883 | 6 |
พอร์ตสมัท | 2 | 1939 | 2008 | 3 | 2010 | 5 |
ซันเดอร์แลนด์ | 2 | 1937 | 1973 | 2 | 1992 | 4 |
นอตทิงแฮมฟอเรสต์ | 2 | 1898 | 1959 | 1 | 1991 | 3 |
เบรี | 2 | 1900 | 1903 | 0 | – | 2 |
ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ | 1 | 1922 | 1922 | 4 | 1938 | 5 |
เลสเตอร์ซิตี | 1 | 2021 | 2021 | 4 | 1969 | 5 |
ออกซฟอร์ดยูนิเวอร์ซิตี | 1 | 1874 | 1874 | 3 | 1880 | 4 |
โรยอร์เอ็นจิเนีย | 1 | 1875 | 1875 | 3 | 1878 | 4 |
ดาร์บีเคาน์ตี | 1 | 1946 | 1946 | 3 | 1903 | 4 |
ลีดส์ยูไนเต็ด | 1 | 1972 | 1972 | 3 | 1973 | 4 |
เซาแทมป์ตัน | 1 | 1976 | 1976 | 3 | 2003 | 4 |
เบิร์นลีย์ | 1 | 1914 | 1914 | 2 | 1962 | 3 |
คาร์ดิฟฟ์ซิตี | 1 | 1927 | 1927 | 2 | 2008 | 3 |
แบล็กพูล | 1 | 1953 | 1953 | 2 | 1951 | 3 |
แชปแฮมโรเวอส์ | 1 | 1880 | 1880 | 1 | 1879 | 2 |
นอตส์เคาน์ตี | 1 | 1894 | 1894 | 1 | 1891 | 2 |
บาร์นสลีย์ | 1 | 1912 | 1912 | 1 | 1910 | 2 |
ชาร์ลตันแอธเลติก | 1 | 1947 | 1947 | 1 | 1946 | 2 |
โอลด์คาร์โตเซียน | 1 | 1881 | 1881 | 0 | – | 1 |
แบล็กเบิร์นโอลิมปิก | 1 | 1883 | 1883 | 0 | – | 1 |
แบรดเฟิร์ดซิตี | 1 | 1911 | 1911 | 0 | – | 1 |
อิปสวิชทาวน์ | 1 | 1978 | 1978 | 0 | – | 1 |
คอเวนทรีซิตี | 1 | 1987 | 1987 | 0 | – | 1 |
วิมเบิลดัน | 1 | 1988 | 1988 | 0 | – | 1 |
วีแกนแอทเลติก | 1 | 2013 | 2013 | 0 | – | 1 |
ควีนส์พาร์ก | 0 | 2 | 1885 | 2 | ||
เบอร์มิงแฮมซิตี | 0 | 2 | 1956 | 2 | ||
คริสตัลพาเลซ | 0 | 2 | 2016 | 2 | ||
วอตฟอร์ด | 0 | 2 | 2019 | 2 | ||
บริสทอลซิตี | 0 | 1 | 1909 | 1 | ||
ลูตันทาว์น | 0 | 1 | 1959 | 1 | ||
ฟูลัม | 0 | 1 | 1975 | 1 | ||
ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ | 0 | 1 | 1982 | 1 | ||
ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน | 0 | 1 | 1983 | 1 | ||
มิดเดิลส์เบรอ | 0 | 1 | 1997 | 1 | ||
มิลล์วอลล์ | 0 | 1 | 2004 | 1 | ||
สโตกซิตี | 0 | 1 | 2011 | 1 | ||
ฮัลล์ซิตี | 0 | 1 | 2014 | 1 |
หมายเหตุ
- ↑ นับตั้งแต่ก่อตั้งฟุตบอลลีกในปี ค.ศ. 1888 สโมสรนอกลีกเพียงสโมสรเดียวที่ชนะเลิศเอฟเอคัพคือทอตนัมฮอตสเปอร์ในปี ค.ศ. 1901 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 เมื่อควีนส์พาร์กเรนเจอส์เข้าถึงรอบสี่ (รอบ 8 ทีมสุดท้าย/รอบก่อนรองชนะเลิศ) สโมสรเดียวที่ไม่ใช่ลีกเดียวที่ไปถึงรอบนั้นได้คือลินคอล์นซิตีใน ค.ศ. 2017 ทั้งทอตนัมและคิวพีอาร์ประสบความสำเร็จในขณะที่เป็นสมาชิกของเซาเทิร์นฟุตบอลลีกซึ่งแข่งขันคู่ขนานกับฟุตบอลลีกจนถึง ค.ศ. 1920 เมื่อฟุตบอลลีกขยายตัวและดูดซับดิวิชันสูงสุดของเซาเทิร์นลีก ตั้งแต่นั้นมาเซาเทิร์นลีกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของปิรามิดลีกอังกฤษ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าฟุตบอลลีก
อ้างอิง
- ↑ "Oldest football cup 'not for sale'". BBC News. 14 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Faulkner, Bryan (13 July 2022). "Rules of the FA Challenge Cup 2022–23". The Football Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2022. สืบค้นเมื่อ 18 August 2022.
- ↑ Collett, Mike (2003). The Complete Record of The FA Cup. p. 878. ISBN 1-899807-19-5.
- ↑ "Cup final competition for fans". Reading FC. 26 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2015. สืบค้นเมื่อ 6 April 2016.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "A Brief History of FA Cup Replays". FA Cup Factfile. 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 July 2023.
- ↑ "Rules of the FA Challenge Cup Competition". The Football Association. p. 25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2018. สืบค้นเมื่อ 16 May 2018.
- ↑ "F.A. Cup Soccer Gets A Sponsor". The New York Times. 2 September 1994. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2020. สืบค้นเมื่อ 10 October 2011.
- ↑ "Axa wins FA Cup". BBC News. 23 July 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2003. สืบค้นเมื่อ 10 October 2011.
- ↑ "FA announces new Cup sponsorship". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2006. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
- ↑ "NotFound". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2010. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
- ↑ "FA Cup to be sponsored by Budweiser beer". BBC News. 16 June 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
- ↑ "FA Cup get first title sponsor following deal with Emirates Airline". BBC Sport. 30 May 2015. สืบค้นเมื่อ 30 May 2015.
- ↑ "The FA Cup extends its global partnership with Emirates for four more years". The FA. 1 August 2024. สืบค้นเมื่อ 15 August 2024.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 "F A Cup Summary – Contents". The Football Club History Database. สืบค้นเมื่อ 4 November 2008.
- ↑ 15.0 15.1 Barnes, Stuart (2008). Nationwide Football Annual 2008–2009. SportsBooks Ltd. pp. 132, 134–143. ISBN 1–899807–72–1.
- ↑ "Arsenal v Hull". BBC Sport.
- ↑ "Arsenal v Aston Villa". BBC Sport.
- ↑ "Crystal Palace v Manchester United". BBC Sport.
- ↑ "Arsenal v Chelsea". BBC Sport.
- ↑ "ManU v Chelsea". BBC Sport.
- ↑ "ManCity v Watford". BBC Sport.
- ↑ "Manchester City 2–1 Manchester United". BBC Sport. 3 June 2023. สืบค้นเมื่อ 3 June 2023.
- ↑ "Man United win FA Cup with superb display against Man City". ESPN. 26 May 2024. สืบค้นเมื่อ 26 May 2024.
- ↑ Bateson, Bill; Albert Sewell (1992). News of the World Football Annual 1992–93. Harper Collins. p. 219. ISBN 0–85543–188–1.
- ↑ "The F.A. Cup – Bolton's Victory – Record Crowds". The Times. News International. 30 May 1923. สืบค้นเมื่อ 13 October 2008.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- The FA Cup Archive – England's official Football Association site, all results with dates, including all qualifying rounds
- Thomas Fattorini Ltd. makers of the 1911 FA Cup – manufacturers of the 1911 FA Cup and other sporting trophies
- FA Cup going under the hammer – BBC News story on the sale of the second trophy