เอเรอดีวีซี

เอเรอดีวีซี
ก่อตั้งค.ศ. 1956
ประเทศธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
สมาพันธ์ยูฟ่า
จำนวนทีม18
ระดับในพีระมิด1
ตกชั้นสู่เอร์สเตอดีวีซี
ถ้วยระดับประเทศเคเอ็นวีบี คัป
โยฮัน ไกรฟฟ์ ชีลด์
ถ้วยระดับนานาชาติยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ยูฟ่ายูโรปาลีก
ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
ทีมชนะเลิศปัจจุบันไฟเยอโนร์ด (16 สมัย)
(2022–23)
ชนะเลิศมากที่สุดอาเอฟเซ อายักซ์ (36 สมัย)
หุ้นส่วนโทรทัศน์Fox Sports Eredivisie
NOS (ไฮไลต์)
ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, เอ็มคอตแฟมิลี
เว็บไซต์Eredivisie.nl
ปัจจุบัน: เอเรอดีวีซี ฤดูกาล 2023–24

เอเรอดีวีซี (ดัตช์: Eredivisie, ออกเสียง: [ˈeː.rə.di.ˌvi.zi]) เป็นลีกฟุตบอลสูงสุดของประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1956 หลังจากเริ่มมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพในเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันอยู่อันดับ 9 ของลีกที่ดีที่สุดในยุโรป จัดอันดับโดยยูฟ่า

ลีกนี้มีทีม 18 สโมสร โดยแต่ละทีมจะแข่งกับสโมสรอื่น 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งในฐานะทีมเหย้า อีกครั้งในฐานะทีมเยือน โดยเมื่อจบฤดูกาล ทีมที่อยู่ท้ายตารางสุดจะตกไปอยู่ในดิวิชัน 1 หรือเอร์สเตอดีวีซี (Eerste Divisie) โดยทันที ส่วนผู้ชนะในดิวิชัน 1 จะเลื่อนชั้นขึ้นมาในลีกนี้โดยทันที ส่วนอันดับ 16 และ 17 ของตารางเอเรอดีวีซี และทีมจากเอร์สเตอดีวีซี จะแข่งในรอบเพลย์ออฟ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีสโมสรจากเอเรอดีวีซีแข่งทั้งเหย้าและเยือน โดยผู้ชนะในแต่ละกลุ่มในรอบเพลย์ออฟจะได้อยู่ในลีกเอเรอดีวีซีในฤดูกาลถัดไป ส่วน 2 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยทีมชนะเลิศจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1 ในขณะที่ทีมอันดับ 2 จะต้องแข่งรอบเพลย์ออฟอีกทีหนึ่ง ส่วนอันดับ 3 จะมีสิทธิเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีกรอบเพลย์ออฟ

สโมสรที่ชนะในลีกมากที่สุดคือ อาเอฟเซ อายักซ์ (AFC Ajax)

ประวัติ

เนเธอร์แลนด์มีการก่อตั้งฟุตบอลแชมเปียนชิพระดับชาติขึ้นในปี ค.ศ. 1898 โดยนำผู้ชนะเลิศในลีกท้องถิ่นมาตัดสินหาแชมป์ในระบบเพลย์ออฟระดับชาติ[1] ทุกสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็นเพียงสโมสรสมัครเล่น โดยราชสมาคมฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ (KNVB) สั่งห้ามผู้เล่นคนใดรับเงินเดือน หากพบจะตัดสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันกับผู้เล่นคนนั้นทันที[2] ต่อมา ราวคริสต์ทศวรรษที่ 1950 มีการเรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบฟุตบอลอาชีพขึ้นในประเทศ หลังจากที่ผู้เล่นฝีเท้าดีหลายคนต้องย้ายไปเล่นในต่างประเทศเพื่อรับค่าตอบแทนที่ดีกว่า ผู้เล่นเหล่านี้มักจะถูกสมาคมฟุตบอลตัดชื่อไม่ให้ติดทีมชาติเนเธอร์แลนด์[3] เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่เนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1953 ผู้เล่นชาวดัตช์ที่เล่นในต่างประเทศ (ส่วนใหญ่เล่นอยู่ในลีกฝรั่งเศส) ได้จัดฟุตบอลการกุศลนัดพิเศษขึ้นเพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม โดยแข่งขันกับทีมชาติฝรั่งเศส แม้จะถูกสมาคมฟุตบอลคว่ำบาตรเกมครั้งนี้ แต่ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมเนเธอร์แลนด์สามารถเอาชนะทีมชาติฝรั่งเศสได้ 2-1 เป็นจุดที่กระตุ้นให้ประชาชนชาวเนเธอร์แลนด์ได้เห็นว่า ฟุตบอลอาชีพนำมาซึ่งการประสบความสำเร็จได้[4] จากกระแสเรียกร้องนี้ เนเธอร์แลนด์จึงได้มีการจัดตั้งลีกอาชีพขึ้นเมื่อฤดูกาล 1954-55[5]โดยสมาคมนักฟุตบอลอาชีพที่ตั้งขึ้นในนาม NBVB อย่างไรก็ตาม ราชสมาคมฟุตบอลยังไม่เห็นด้วยจึงได้จัดประชุมร่วมกับประธานสโมสรของสโมสรสมัครเล่นเดิม

ผลที่เกิดขึ้นคือ ราชสมาคมฟุตบอลและสมาคมนักฟุตบอลอาชีพได้จัดการแข่งขันแยกกัน โดยการแข่งขันแมตช์แรกระหว่างสโมสรฟุตบอลอาชีพคือแมตช์ระหว่างสโมสรอาลค์มาร์และสโมสรเฟนโล[2] หลังจากผ่านไปได้ 11 เกม สมาคมทั้งสองได้จัดประชุมกันอีกครั้งในเดือนกันยายนเพื่อเจรจารวมลีก ในที่สุด ทั้งสองลีกถูกยุบเลิกและรวมตัวกันกำเนิดลีกใหม่ในทีนที โดยมีสโมสรเดอ กราฟสคาป อัมสเตอร์ดัม อาลค์มาร์ ฟอร์ทูนา'54 ราปิดเยเซ โฮลลันด์สโปร์ต และโรดาสโปร์ต จากลีกสมาคมนักฟุตบอลอาชีพได้เข้าร่วมลีกใหม่ทันที สโมสรแรกที่ชนะเลิศการแข่งขันคือวิลเลิม ทเว[6]

ต่อมา ในฤดูกาล 1956-57 ราชสมาคมฟุตบอลได้สั่งยกเลิกลีกท้องถิ่น และก่อตั้งลีกเอเรอดีวีซีขึ้น โดยมี 18 สโมสรที่ดีที่สุดเล่นในลีกสูงสุดโดยไม่มีการเพลย์ออฟ มีสโมสรร่วมก่อตั้ง 18 สโมสร[7] และอายักซ์เป็นสโมสรแรกที่คว้าแชมป์ไปครอง[7]

ฤดูกาล 2022–23

สโมสร
เมือง ความจุสนาม อันดับใน

ฤดูกาล

2018-19

ฤดูกาลแรก

ในเอเรอดีวีซี

จำนวนฤดูกาล

ในเอเรอดีวีซี

แชมป์

เอเรอดีวีซี

อายักซ์ อัมสเตอร์ดัม 54,990 1 1956–57 64 26
อาแซด อาลค์มาร์ 17,250 4 1968–69 42 2
อาเดโอ เดนฮาก เดอะเฮก 15,000 9 1957–58 46 0
เอฟเซ เอเมิน เอเมิน 8,600 14 2018–19 2 0
ไฟเยอโนร์ด รอตเทอร์ดาม 51,137 3 1956–57 64 10
ฟอร์ทูนา ซิตทาร์ด ซิตทาร์ด 12,500 15 1968–69 21 0
เอฟเซ โกรนิงเงิน โกรนิงเงิน 22,579 8 1971–72 41 0
เอสเซ เฮเรินเฟน เฮเรินเฟน 27,224 11 1990–91 28 0
เฮราคลีส อัลเมโล อัลเมโล 12,080 7 1962–63 20 0
เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน ไอนด์โฮเฟน 36,500 2 1956–57 64 21
สปาร์ตา รอตเทอร์ดาม รอตเทอร์ดาม 11,026 เลื่อนชั้น 1956–57 54 1
ตเว็นเตอ เอ็นสเคอเด 30,205 เลื่อนชั้น 1956–57 61 1
เอฟเซ อูเทรกต์ ยูเทรกต์ 23,750 6 1970–71 50 0
ฟีเตสเซอ อาร์เนม 21,248 5 1971–72 35 0
เฟเฟเฟ เฟนโล เวนโล 8,000 12 1956–57 23 0
แอร์กาเซ วาลไวค์ วาลไวค์ 7,508 เลื่อนชั้น 1988–89 24 0
วิลเลิม ทเว ติลบืร์ค 14,500 10 1956–57 43 0
เปเอเซ ซโวลเลอ ซโวลเลอ 14,000 13 1978–79 20 0

ทีมชนะเลิศ

สโมสร ชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ
อายักซ์ 36
1917–18, 1918–19, 1930–31, 1931–32, 1933–34, 1936–37, 1938–39, 1946–47, 1956–57, 1959–60, 1965–66, 1966–67, 1967–68, 1969–70, 1971–72, 1972–73, 1976–77, 1978–79, 1979–80, 1981–82, 1982–83, 1984–85, 1989–90, 1993–94, 1994–95, 1995–96, 1997–98, 2001–02, 2003–04, 2010–11, 2011–12, 2012–13, 2013–14, 2018–19, 2020–21, 2021–22
เปเอสเฟ 24
1928–29, 1934–35, 1950–51, 1962–63, 1974–75, 1975–76, 1977–78, 1985–86, 1986–87, 1987–88, 1988–89, 1990–91, 1991–92, 1996–97, 1999–00, 2000–01, 2002–03, 2004–05, 2005–06, 2006–07, 2007–08, 2014–15, 2015–16, 2017–18
ไฟเยอโนร์ด 16
1923–24, 1927–28, 1935–36, 1937–38, 1939–40, 1960–61, 1961–62, 1964–65, 1968–69, 1970–71, 1973–74, 1983–84, 1992–93, 1998–99, 2016–17, 2022–23
HVV Den Haag 10
1890–91, 1895–96, 1899–00, 1900–01, 1901–02, 1902–03, 1904–05, 1906–07, 1909–10, 1913–14
สปาร์ตาโรตเตอร์ดัม 6 1908–09, 1910–11, 1911–12, 1912–13, 1914–15, 1958–59
RAP 5 1891–92, 1893–94, 1896–97, 1897–98, 1898–99
Go Ahead Eagles 4 1916–17, 1921–22, 1929–30, 1932–33
Koninklijke HFC 3 1889–90, 1892–93, 1894–95
วิลเลิมตเว 3 1915–16, 1951–52, 1954–55
HBS Craeyenhout 3 1903–04, 1905–06, 1924–25
อาแซด 2 1980–81, 2008–09
เฮราเกล็สอัลเมอโล 2 1926–27, 1940–41
อาโดเด็นฮาค 2 1941–42, 1942–43
RCH 2 1922–23, 1952–53
NAC Breda 1 1920–21
ตแว็นเตอ 1 2009–10
DWS 1 1963–64
Roda JC Kerkrade* 1 1955–56
Be Quick 1 1919–20
FC Eindhoven 1 1953–54
SC Enschede 1 1925–26
DOS 1 1957–58
FC Den Bosch 1 1947–48
De Volewijckers 1 1943–44
HFC Haarlem 1 1945–46
Limburgia 1 1949–50
SVV 1 1948–49
Quick Den Haag 1 1907–08
VV Concordia 1 1888–89

อ้างอิง

  1. "Netherlands – Regional Analysis". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
  2. 2.0 2.1 (ในภาษาดัตช์)"Eredivisie – ontstaan". Vak Q. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  3. "Professionalism and European Games". TimeRime. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2013.
  4. (ในภาษาดัตช์)"De Watersnoodwedstrijd van Cor van der Hart". Sportgeschiedenis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2007. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  5. "Netherlands Final Tables 1950–1954". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
  6. "Netherlands 1954/55". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
  7. 7.0 7.1 "Netherlands 1956/57". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น