เฮลซิงกิ

เฮลซิงกิ

Helsinki – Helsingfors
Helsingin kaupunki
Helsingfors stad
City of Helsinki
ตามเข็มจากบน: อาสนวิหารเฮลซิงกิ, เฮลซิงกิตอนกลาง, ซาโนมากับคีอัสมา, ใจกลางนครยามค่ำคืน, ชายหาดออรินโกลาห์ตี, รัฐสภา และ ซูโอเมนลินนา
ตามเข็มจากบน: อาสนวิหารเฮลซิงกิ, เฮลซิงกิตอนกลาง, ซาโนมากับคีอัสมา, ใจกลางนครยามค่ำคืน, ชายหาดออรินโกลาห์ตี, รัฐสภา และ ซูโอเมนลินนา
ตราราชการของเฮลซิงกิ
ตราอาร์ม
สมญา: 
Stadi, Hesa[1]
Location in the Uusimaa region and the Helsinki sub-region
Location in the Uusimaa region and the Helsinki sub-region
ประเทศฟินแลนด์
ภูมิภาค Uusimaa
อนุภูมิภาคHelsinki
Charter1550
Capital city1812
การปกครอง
 • Lord MayorJussi Pajunen
 • MayorTo be elected in 2017
พื้นที่
 • เขตเมือง672.08 ตร.กม. (259.49 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,697.52 ตร.กม. (1,427.62 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • เขตเมือง1,231,595 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง1,800 คน/ตร.กม. (4,700 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,431,641 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล387.2 คน/ตร.กม. (1,003 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมhelsinkiläinen (Finnish)
helsingforsare (Swedish)
Helsinkian (English)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (EEST)
รหัสพื้นที่+358-9
ClimateDfb
เว็บไซต์www.hel.fi

เฮลซิงกิ (ฟินแลนด์: Helsinki, ออกเสียง: [ˈhelsiŋki] ( ฟังเสียง); สวีเดน: Helsingfors, ภาษาสวีเดนถิ่นฟินแลนด์: [hɛlsɪŋˈfɔrs] ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฟินแลนด์ ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศ ริมชายฝั่งอ่าวฟินแลนด์ ตัวเมืองมีประชากรประมาณ 600,000 คน เฮลซิงกิอยู่ติดกับเมืองวันตาและเอสโปซึ่งรวมตั้งเป็นเขตเมืองหลวงหรือมหานครเฮลซิงกิ มีประชากรเกือบหนึ่งล้านคน และถ้านับเขตที่อยู่อาศัยในปริมณฑลด้วยจะมีประชากรมากกว่า 1.2 ล้านคน

เฮลซิงฟอร์สเป็นชื่อเมืองดั้งเดิม และยังคงเป็นชื่อเมืองในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน ในอดีตเป็นชื่อที่ใช้ในระดับนานาชาติด้วย

ประวัติ

ในปีพ.ศ. 2093 พระเจ้ากุสตาฟที่ 1 แห่งสวีเดน ทรงก่อตั้งเมืองเฮลซิงกิขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้า แข่งกับเมืองทาลลินน์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอ่าวฟินแลนด์ จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางการทหาร เฮลซิงกิจึงตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำวันตา ได้รับการปกป้องจากบรรดาเกาะเล็กๆทั้งหลาย[5] ในช่วงแรกเฮลซิงกิไม่ประสบความสำเร็จมากนัก 90 ปีต่อมา สมเด็จพระราชินีคริสตินา ทรงดำริให้ย้ายเมืองไปทางใต้ 5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันของเมือง เฮลซิงกิได้รับสถานะเป็นเมืองสำคัญ สามารถทำการค้าขายกับต่างประเทศได้ แต่ในเวลานี้สวีเดนได้ครอบครองทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์แล้ว เฮลซิงกิจึงไม่มีความสำคัญมากนัก และยังคงเป็นเมืองเล็กๆอยู่[6]

ในปีพ.ศ. 2291 เริ่มมีการสร้างฐานทัพ Suomenlinna บนหมู่เกาะบริเวณปากอ่าวของเฮลซิงกิ การก่อสร้างนี้ส่งผลต่อเฮลซิงกิจากการที่คนงานนับพันคนเข้ามาทำให้การค้าเจริญเติบโตขึ้น รวมถึงทหารประจำการที่มาพร้อมกับครอบครัวและวัฒนธรรมแบบชาวสวีเดนชั้นสูง[7]

พ.ศ. 2351-52 เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและสวีเดน ดินแดนฟินแลนด์ตกเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนในฐานะราชรัฐปกครองตนเองฟินแลนด์ ชาวฟินแลนด์บางส่วนเริ่มสนับสนุนความคิดการตั้งเฮลซิงกิเป็นเมืองหลวงของราชรัฐ ความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากฝั่งรัสเซียเช่นกัน เนื่องจากเฮลซิงกิอยู่ใกล้กับเซนต์ปีเตอส์เบิร์กมากกว่า และมีอิทธิพลของสวีเดนน้อยกว่าตุรกุซึ่งเป็นเมืองหลวงเดิม ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 จึงตั้งเฮลซิงกิเป็นเมืองหลวงของฟินแลนด์แทนที่ตุรกุในปีพ.ศ. 2355[8] จากการที่เฮลซิงกิถูกทำลายด้วยไฟในปี 2351 ทำให้ซาร์วางแผนที่จะสร้างเมืองขึ้นใหม่ ได้มีการแต่งตั้งวิศวกรชาวฟินแลนด์ให้ออกแบบเมืองใหม่ และเชิญสถาปนิกชาวเยอรมันมาร่วมงาน มีการสร้างอาคารใหม่จำนวนมาก รวมถึงการย้ายมหาวิทยาลัยมาจากตุรกุด้วย สถาปัตยกรรมที่สร้างใหม่นี้มีรูปแบบนีโอคลาสสิกตามแบบเมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เฮลซิงกิได้กลายมาเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรม

ในช่วงสงครามกลางเมืองฟินแลนด์ พ.ศ. 2461 เฮลซิงกิถูกยึดโดยฝ่ายแดงในเดือนมกราคม วุฒิสภาย้ายไปประจำการที่เมืองวาซา กองทัพฝ่ายขาว ร่วมกับทหารเยอรมันสามารถยึดเฮลซิงกิกลับมาได้ในเดือนเมษายน เฮลซิงกิได้รับความเสียหายไม่มากนัก ในช่วงสงครามฤดูหนาวและสงครามต่อเนื่อง (ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) เฮลซิงกิถูกโจมตีทางอากาศจากสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม เฮลซิงกิได้รับความเสียหายไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองสำคัญอื่นๆในยุโรป เฮลซิงกิยังเป็นหนึ่งในสามเมืองหลวงของประเทศในทวีปยุโรปที่เข้าร่วมสงครามที่ไม่ถูกยึดครองโดยฝ่ายศัตรู (อีกสองเมืองคือลอนดอนและมอสโก)

สถาปัตยกรรม

อาสนวิหารของเฮลซิงกิ เป็นที่หมายตาของกรุงเฮลซิงกิ

หลังจากเฮลซิงกิถูกตั้งเป็นเมืองหลวง เฮลซิงกิก็ถูกแปรสภาพจากเมืองเล็กๆที่มีประชากรเพียง 4,000 คนเป็นศูนย์กลางการปกครองของฟินแลนด์ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดิรัสเซีย โดยเฉพาะรูปแบบนีโอคลาสสิกตามแบบเมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก คาร์ล ลุดวิก เองเกล ชาวเยอรมัน ทำหน้าที่เป็นสถาปนิกใหญ่ในโครงการสร้างเมืองใหม่นี้ ศูนย์กลางของแผนอยู่ที่จัตุรัสวุฒิสภา (Senaatintori; Senatstorgot) ซึ่งมีขนาดใหญ่รองรับคนได้หลายหมื่นคน สิ่งก่อสร้างสำคัญบริเวณจัตุรัสนี้คืออาสนวิหาร (ในอดีตเรียกโบสถ์นิโคลัส) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจัตุรัส ทางทิศตะวันออกและตะวันตกเป็นทำเนียบรัฐบาลและอาคารหลักของมหาวิทยาลัยตามลำดับ อาคารสองหลังนี้มีขนาดใกล้เคียงกัน ทำเนียบรัฐบาลมีเสาหินแบบคอรินเธียน ในขณะที่อาคารมหาวิทยาลัยเป็นแบบไอออนิก[9] สิ่งก่อสร้างทั้งสามนี้เป็นผลงานของเองเกล เช่นเดียวกับสิ่งก่อสร้างอีกหลายแห่ง อาคารที่มีชื่อเสียงของเองเกลอีกแห่งหนึ่งคือห้องสมุดมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการยกย่องในเรื่องความงดงาม อิทธิพลของรัสเซียอีกอย่างหนึ่งคือโบสถ์ออร์โธดอกซ์ ซึ่งแห่งที่สำคัญของเฮลซิงกิคือมหาวิหารอุสเปนสกี ก่อสร้างในช่วงปีพ.ศ. 2405-2411[10]

เฮลซิงกิยังมีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว (Jugenstil) โดยมีสถาปนิกคนสำคัญคือเอเลียล ซาริเนน ในช่วงแรกซาริเนนร่วมงานกับสถาปนิกอีกสองคนในบริษัท Gesellius, Lindgren & Saarinen ผลงานที่สำคัญในเฮลซิงกิคือพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ออกแบบในปีพ.ศ. 2445 ผลงานสำคัญของซาริเนนอีกอย่างหนึ่งคือสถานีรถไฟกลางเฮลซิงกิ

อาคารรัฐสภา (Eduskuntatalo) เป็นผลงานนีโอคลาสสิกชิ้นสำคัญของฟินแลนด์ยุคหลังประกาศเอกราช ออกแบบโดยโยฮัน ซิกฟริด ซิเรน ในปีพ.ศ. 2467 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2474 ภายหน้าอาคารเป็นเสาหินแบบคอรินเธียน 14 ต้น[11]

สถาปัตยกรรมแบบประโยชน์นิยม (อังกฤษ: functionalism) ได้รับความนิยมในฟินแลนด์ยุคใหม่ อัลวาร์ อาลโต เป็นสถาปนิกชาวฟินแลนด์ที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ โดยมีสิ่งก่อสร้างในเฮลซิงกิคือหอฟินแลนเดีย

ศิลปะและวัฒนธรรม

ที่เซนาทสแคว์เมื่อเดือนกันยายน/ตุลาคม 2010 งานนิทรรศการศิลปะกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในฟินแลนด์: มีผู้เข้าชมงานนิทรรศการสากล United Buddy Bears ประมาณ 1.4 ล้านคน

อ้างอิง

  1. Ainiala, Terhi (2009). "Place Names in the Construction of Social Identities: The Uses of Names of Helsinki". Research Institute for the Languages of Finland. สืบค้นเมื่อ 22 September 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Area by municipality as of 1 January 2011" (PDF) (ภาษาฟินแลนด์ และ สวีเดน). Land Survey of Finland. สืบค้นเมื่อ 2011-03-09.
  3. 3.0 3.1 3.2 "VÄESTÖTIETOJÄRJESTELMÄ REKISTERITILANNE 30.06.2015" (ภาษาฟินแลนด์ และ สวีเดน). Population Register Center of Finland. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.
  4. 4.0 4.1 "List of municipal and parish tax rates in 2011". Tax Administration of Finland. 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  5. Bell & Hietala p.19
  6. Bell & Hietala p.20
  7. Bell & Hietala p.21
  8. Bell & Hietala p.22
  9. Roininen p.18
  10. Roininen p.44-47
  11. Finland & Morris p.66

บรรณานุกรม

  • Bell, M., & Hietala, M. (2002). Helsinki: the innovative city ; historical perspectives. Helsinki: Suomalaisen Kirjallisuuden Seura [u.a.]. ISBN 951-746-359-6 (อังกฤษ)
  • Roininen, V., Ekbom, M., & Miller, E. (2003). Vanha, kaunis Helsinki = Det gamla, vackra Helsingfors = Beautiful old Helsinki. Jyväskylä: Atena. ISBN 951-796-309-2 (ฟินแลนด์ สวีเดน อังกฤษ)
  • Finland, & Morris, D. (2000). The Finnish parliament. Helsinki: Finnish Parliament : Edita. ISBN 951-37-3228-2(อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น