แกรนด์พรินเซส (เรือ)
ประวัติ | |
---|---|
ชื่อ | แกรนด์พรินเซส |
เจ้าของ |
|
ผู้ให้บริการ | พรินเซสครูซเซส |
ท่าเรือจดทะเบียน |
|
Ordered | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 |
อู่เรือ | บ. ฟินกันติเอริ (Fincantieri) |
มูลค่าสร้าง | $450 ล้านเหรียญสหรัฐ |
Yard number | มอนฟัลโกเน (Monfalcone), 5956 |
เดินเรือแรก | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 |
Christened | 29 กันยายน พ.ศ. 2541 โดย โอลิเวีย เดอ แฮวีลันด์ |
สร้างเสร็จ | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 |
Maiden voyage | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 |
Refit | พฤษภาคม พ.ศ. 2554, มีนาคม พ.ศ. 2562 |
รหัสระบุ |
|
สถานะ | กักกันโรค (Quarantined) |
หมายเหตุ | Vessel Details and Current Position[1] |
ลักษณะเฉพาะ | |
ประเภท: | เรือสำราญชั้น แกรนด์คลาส (Grand-class) |
ขนาด (ตัน): | 107,517 ตันกรอส |
ความยาว: | 289.86 m (951 ft 0 in) |
ความกว้าง: | 35.97 m (118 ft 0 in) |
ความสูง: | 61.26 m (201 ft 0 in) |
กินน้ำลึก: | 7.92 m (26 ft 0 in) |
ดาดฟ้า: | 17 |
ระบบขับเคลื่อน: |
สองใบจักร แบบปีกปรับมุมบิดไม่ได้ ขับโดยเครื่องยนต์กำเนิดกำลังดีเซล Sulzer 16ZAV40S, 11,520 kW (15,450 hp) จำนวน 6 เครื่อง |
ความเร็ว: | 22.5 นอต (41.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 25.9 ไมล์ต่อชั่วโมง) (cruising) |
จำนวนเรือและอากาศยาน: | เรือเล็กอเนกประสงค์ 6 ลำ |
ความจุ: |
|
ลูกเรือ: | 1,100 คน |
หมายเหตุ: | Vessel Details and Current Position[1] |
แกรนด์พรินเซส (Grand Princess) เป็นเรือสำราญชั้นแกรนด์คลาส ของสายการเดินเรือ พรินเซสครูซเซส ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยอู่ต่อเรือ ฟินกันติเอรี (Fincantieri Cantieri Navali Italiani) ในเมือง มอนฟัลโกเน (Monfalcone) ประเทศอิตาลี ด้วยหมายเลขอู่ต่อเรือ 5956 ในราคาประมาณ 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แกรนด์พรินเซสเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดและแพงที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาในเวลานั้น เป็นเรือธงของกองเรือ พรินเซสครูซเซส จนกระทั่งถูกแทนที่โดยเรือลำใหม่คือ รอยัลพรินเซส ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556
การออกแบบ
แกรนด์พรินเซส เป็นเรือลำแรกของเรือสำราญในชั้นแกรนด์คลาส และมีรูปแบบการตกแต่งที่แตกต่างกับเรือพี่น้องในชั้น โดยใช้ไม้สีเข้มและการตกแต่งภายในมีความคล้ายคลึงกับเรือชั้นซันคลาส ซึ่งเป็นชั้นเล็กกว่า เมื่อเปิดตัวเรือแกรนด์พรินเซส เอกสารแนะนำเรือของสายการเดินเรือ พรินเซสครูซเซส แสดงฐานะเรืออยู่ในชั้นซันคลาส จนกระทั่งการเปิดตัวในช่วงต่อมาของเรือโกลเดนพรินเซส จึงปรากฏชั้นแกรนด์คลาสในจุลสารประชาสัมพันธ์
แกรนด์พรินเซสเป็นเรือพี่น้องของ สตาร์พรินเซส และ โกลเดนพรินเซส ซึ่งเรือแกรนด์พรินเซส เคยเป็นฉากสำหรับภารกิจในซีรีย์ที่สองของรายการโทรทัศน์เรียลลิตีโชว์ ดิแอปเพรนทิซ (The Apprentice)
แกรนด์พรินเซส มีโรงละครขนาดใหญ่, โถงสังสรรค์ที่มีเวทีแสดงกลางขนาดใหญ่ และเลานจ์แสดงท้ายเรือ
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 แกรนด์พรินเซสได้รับการปรับปรุงในอู่แห้งอย่างครอบคลุมที่สุดในประวัติของสายการเดินเรือพรินเซสครูซเซส ซึ่งรวมถึงการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์และการรื้อถอนโถงสังสรรค์ผู้โดยสารออกจากท้ายเรือ[2] สิ่งนี้ทำให้เรือมีแนวหัวเรือที่สูงขึ้นขณะแล่น ซึ่งทำให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ประมาณ 3-4% แนวหัวเรือที่สูงเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับแกรนด์พรินเซส และไม่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต่อเรือชั้นแกรนด์คลาสอื่น ๆ (หรือชั้นเรือที่เล็กกว่า) ซึ่งเรือเหล่านั้นแตกต่างจากแกรนด์พรินเซส โดยมีดาดฟ้าชั้นบนทำด้วยวัสดุอะลูมิเนียม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 แกรนด์พรินเซสกลับเข้ารับการตกแต่งในอู่แห้งอีกครั้ง
ท่าเรือแวะพัก
จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 แกรนด์พรินเซสมีท่าแวะพักตลอดทั้งปีในซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย โดยกำหนดล่องเรือในเส้นทางระหว่าง อลาสกา ฮาวาย เม็กซิกันริเวียรา และชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย[3]
ปูมเรือที่สำคัญ
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560 มีการพบวาฬตายบริเวณหัวเรือในขณะที่จอดที่เมืองเคตชิแกน ในอลาสกา[4]
เหตุการณ์จากการระบาดทั่วของโคโรนาไวรัส พ.ศ. 2562-2563
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 มีรายงานว่าผู้โดยสารสองคนซึ่งล่องเรือไปยังเม็กซิโกเมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) และหนึ่งในนั้นเสียชีวิต[5][6] การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเรือเข้าใกล้ซานฟรานซิสโก โดยมีผู้โดยสาร 2,500 คนบนเรือ บางคนรายงานอาการที่สอดคล้องกับโรค และเรือได้ถูกกักไว้นอกชายฝั่งโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อกักกันโรคและตรวจสอบผู้โดยสารและลูกเรือ[6]
เช่นเดียวกับ ไดมอนด์พรินเซสซึ่งเป็นเรือชั้นแกรนด์คลาส ของสายการเดินเรือ พรินเซสครูซเซสอีกลำหนึ่ง ก็ประสบกับการระบาดของโรคในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และถูกกักกันโรคเกือบหนึ่งเดือนในท่าเรือโยโกฮามะ ประเทศญี่ปุ่น[7]
ในวันที่ 5-6 มีนาคม พ.ศ. 2563 ขณะที่เรือกำลังแล่นใกล้ชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย หน่วยบินกู้ภัยที่ 129 กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการบินเพื่อหย่อนและรับกลับชุดทดสอบการติดเชื้อโคโรนาไวรัส[8][9] เมื่อวันที่ 6 มีนาคม มี 46 คนบนเรือได้รับการทดสอบโดย 21 คนมีผลการทดสอบเป็นบวก ซึ่งเป็นลูกเรือ 19 คนและผู้โดยสาร 2 คน ส่วนการทดสอบในรายอื่นอีก 25 คน ผลของการทดสอบหนึ่งสรุปไม่ได้และการทดสอบอื่น ๆ นั้นผลเป็นลบ[10] แกรนด์พรินเซส ได้รับอนุญาตให้จอดที่ท่าเรืออุตสาหกรรมของเมืองโอกแลนด์ แคลิฟอร์เนียในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 และผู้โดยสารจำนวนหนึ่งได้ทยอยขึ้นฝั่ง เริ่มด้วยผู้ที่ต้องการการรักษาทางการแพทย์ที่เร่งด่วน[11][12] ลูกเรือยังถูกกักตัวไว้บนเรือเพื่อกักกันโรคและเพื่อการรักษา ผู้โดยสารที่ขึ้นจากเรือทั้งหมดได้ถูกทดสอบการติดเชื้อโคโรนาไวรัส และเคลื่อนย้ายโดยเครื่องบินหรือรถโดยสารไปยังฐานทัพต่าง ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย, เท็กซัส และจอร์เจีย เพื่อกักกันโรค ขณะที่มีจำนวนเล็กน้อยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและแพทย์อนุญาตให้กลับได้ ได้ถูกย้ายไปที่โรงแรมต่าง ๆ[11] ในวันที่ 10 มีนาคม แคนาดาได้นำผู้โดยสารเรือที่เป็นชาวแคนาดาขึ้นเครื่องบินไปยังฐานทัพทหารซีเอฟบี เทรนตัน (CFB Trenton) ในออนแทรีโอ เพื่อกักกันโรคที่นั่น[13] ในวันที่ 11 มีนาคมมีรายงานว่า หนึ่งในชาวแคนาดาที่ถูกส่งตัวกลับประเทศมีผลการทดสอบหาเชื้อไวรัสเป็นบวกภายหลังจากที่ได้ขึ้นฝั่ง[12]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Grand Princess Vessel Details and Current Position". Marine Traffic. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
- ↑ Peter Knego (10 February 2011). "Grand Princess To Lose Her 'Handle'". MaritimeMatters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
- ↑ "2019 Cruise Schedule at the Port of San Francisco" (PDF). sfport.com.
- ↑ Joling, Dan (9 August 2017). "Dead whale found on bow of cruise ship entering Alaska port". The Canadian Press. สืบค้นเมื่อ 9 August 2017.
- ↑ "Report: Two former guests form a U.S. based cruise ship have COVID-19". The Maritime Executive. 3 March 2020. สืบค้นเมื่อ 3 March 2020.
- ↑ 6.0 6.1 "Coronavirus: What happens when cruise ship with exposed passengers reaches San Francisco?". The Mercury News. 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
- ↑ "COVID-19 Coronavirus Outbreak". worldometers.info. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
- ↑ "Video: See Air National Guard members board a cruise ship with coronavirus test kits". MilitaryTimes. 6 March 2020. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
- ↑ Rodriguez, Olga R. (7 March 2020). "21 positive for coronavirus on cruise ship off California". Anchorage Daily News. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
- ↑ Fuller, Thomas; Mervosh, Sarah; Arango, Tim & Gross, Jenny (6 March 2020). "21 Coronavirus Cases on Cruise Ship Near California". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
- ↑ 11.0 11.1 Rodriguez, Tristi; Thorn, Dan (7 March 2020). "Grand Princess cruise ship will dock at Port of Oakland". KRON 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-08.
- ↑ 12.0 12.1 Hines, Morgan & Oliver, David (11 March 2020). "Coronavirus: More than 1,000 passengers await their turn to leave Grand Princess, begin quarantine". USA Today. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
- ↑ "Canada to repatriate citizens on coronavirus-hit cruise ship in California". CBC News. 8 March 2020. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
บรรณานุกรม
- Saunders, Aaron (2013). Giants of the Seas: The Ships that Transformed Modern Cruising. Barnsley, South Yorkshire, UK: Seaforth Publishing. ISBN 9781848321724.
- Smith, Peter C. (2010). Cruise Ships: The World's Most Luxurious Vessels. Barnsley, South Yorkshire, UK: Pen & Sword Maritime. ISBN 9781848842182.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ทางการ
- ภาพเรือแกรนด์พรินเซสออกจากท่าเรือฟอร์ตลอเดอร์เดล หลังการซ่อมแซม