แบร็สต์ (ประเทศฝรั่งเศส)

แบร็สต์
เมืองย่อยและเทศบาล
ทิวทัศน์Tour Tanguy โดยมีปราสาทแบร็สต์เป็นฉากหลัง
ทิวทัศน์Tour Tanguy โดยมีปราสาทแบร็สต์เป็นฉากหลัง
ธงของแบร็สต์
ธง
ตราราชการของแบร็สต์
ตราอาร์ม
ประเทศฝรั่งเศส
แคว้นเบรอตาญ
จังหวัดฟีนิสแตร์
เขตแบร็สต์
อำเภอแบร็สต์-1, 2, 3, 4 และ 5
สหเทศบาลBrest Métropole
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–2026) ฟร็องซัว กุยย็องดร์[1] (เปแอ็ส)
พื้นที่149.51 ตร.กม. (19.12 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (มกราคม ค.ศ. 2018)2
139,602 คน
 • ความหนาแน่น2,800 คน/ตร.กม. (7,300 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสอีนเซ/ไปรษณีย์29019 /29200
สูงจากระดับน้ำทะเล0–103 m (0–338 ft)
(avg. 34 m หรือ 112 ft)
เว็บไซต์brest.fr
1 ข้อมูลอาณาเขตที่ตามขึ้นทะเบียนไว้โดยไม่รวมทะเลสาบ, หนองน้ำ, ธารน้ำแข็งที่ขนาดใหญ่กว่า 1 ตารางกิโลเมตรตลอดจนปากแม่น้ำ 2 Population without double counting: residents of multiple communes (e.g., students and military personnel) only counted once.

แบร็สต์ (ฝรั่งเศส: Brest, ออกเสียง: [bʁɛst]) เป็นชื่อเมืองในจังหวัดฟีนิสแตร์ (Finistère) แคว้นเบรอตาญ (หรือบริตตานีในภาษาอังกฤษ) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ไม่ไกลจากปลายด้านตะวันตกของคาบสมุทรเบรอตาญ[2] แบร็สต์เป็นเมืองที่อยู่ตะวันตกที่สุดของเขตปกครองฝรั่งเศส และเป็นที่ตั้งของท่าเรือทางทหารที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจากตูลง จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2552 แบร็สต์มีจำนวนผู้อยู่อาศัย 142,722 คน และเป็นเมืองที่มีจำนวนพลเมืองหนาแน่นเป็นอันดับที่ 22 ของฝรั่งเศส แบร็สต์เป็นศูนย์กลางของเขตปกครองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของแคว้นเบรอตาญตะวันตก ให้บริการดูแลราษฎรจำนวน 1 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่[3] แม้ว่าจะเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของฟีนิสแตร์ แต่เมืองหลักของจังหวัดกลับเป็นแก็งแปร์ (Quimper) ที่มีขนาดเล็กกว่ามาก

ในยุคกลาง ประวัติความเป็นมาของแบร็สต์ส่วนมากเกี่ยวข้องกับปราสาท จนกระทั่งพระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ ได้เปลี่ยนเมืองให้เป็นท่าเรือทางทหารใน พ.ศ. 2174[4] แบร็สต์จึงกลายเป็นคลังสรรพาวุธจนถึงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ที่เมืองถูกทำลายอย่างหนักจากการจู่โจมทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์กลางของเมืองได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ภายหลังการเสร็จสิ้นของสงคราม ในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไปถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 เมืองลดความสำคัญของอุตสาหกรรมลง และหันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจการให้บริการแทน ปัจจุบันแบร็สต์เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นบริตตานี ที่มีนักศึกษากว่า 23,000 คน[5]

นอกเหนือจากการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายทางวิชาการแล้ว แบร็สต์และพื้นที่ล้อมรอบยังเป็นแหล่งของโรงเรียนและสถาบันสำหรับชนชั้นสูงที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนนายเรือแห่งฝรั่งเศส (the French Naval Academy) เตเลกอมเบรอตาญ (Télécom Bretagne) และสถาบันเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเบรอตาญ (Superior National School of Advanced Techniques of Brittany) นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยที่สำคัญซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องเกี่ยวกับทะเล ได้แก่ สถาบันการวิจัยเรื่องการแสวงประโยชน์จากทะเลแห่งฝรั่งเศส (French Research Institute for Exploitation of the Sea) ศูนย์ข้อมูลการวิจัยและทดลองด้านมลภาวะทางน้ำ (Centre of Documentation, Research and Experimentation on Accidental Water Pollution) และสถาบันวิจัยขั้วโลกใต้

ประวัติศาสตร์ของแบร็สต์เกี่ยวโยงกับทะเลมาโดยตลอด ในปี พ.ศ. 2295 โรงเรียนนายเรือก่อตั้งขึ้นพร้อม ๆ กันกับการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินชาร์ล เดอ โกล และทุก ๆ 4 ปี แบร็สต์จะจัดงานเฉลิมฉลองระดับนานาชาติเนื่องในเทศกาลเกี่ยวกับทะเลและการเดินเรือ ซึ่งจะเป็นแหล่งพบปะและดึงดูดนักเดินเรือจากทั่วทุกมุมโลก

ประวัติศาสตร์

เมืองแบร็สต์ พ.ศ. 2322
เมซงเดอลาฟองแตน ในเขตเรอกูฟ์ร็องซ์ คือหนึ่งในบ้านที่เก่าแก่ที่สุดของแบร็สต์ (ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ไปจนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18)

ก่อนหน้าปี พ.ศ. 1783 แบร็สต์ไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งเคานต์แห่งลียงยกให้ฌ็องที่ 1 ดยุกแห่งเบรอตาญ ต่อมาในปี พ.ศ. 1885 ฌ็องที่ 4 ได้ส่งมอบแบร็สต์ให้กับอังกฤษซึ่งยึดครองไว้จนกระทั่งปี พ.ศ. 1940 ความสำคัญของแบร็สต์ในช่วงยุคกลางมีมากจนทำให้เกิดคำพูดที่ว่า "ไม่มีดยุกแห่งเบรอตาญคนใด ที่ไม่ใช่ลอร์ดของแบร็สต์" ด้วยการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส กับพระราชินีโกลด พระธิดาในแอนน์แห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ทำให้แบร็สต์กลายเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ความได้เปรียบของแบร็สต์ในฐานะเมืองท่าเรือเดินทะเลเป็นที่ยอมรับครั้งแรกโดยพระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ ผู้สร้างท่าเทียบเรือไม้ในปี พ.ศ. 2174 ซึ่งเวลาต่อมาได้กลายเป็นฐานที่มั่นของทัพเรือฝรั่งเศส หลังจากนั้น ฌ็อง-บาติสต์ กอลแบร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้สร้างท่าเรือใหม่ด้วยการก่ออิฐ ต่อด้วยการสร้างป้อมปราการโดยโวบ็อง ในระหว่างปี พ.ศ. 2223 – 2231 ความสำคัญของเมืองในฐานะที่มีปราการทางทะเลที่แน่นหนา สามารถป้องกันข้าศึกได้ดำเนินมาต่อเนื่องจนถึงศตวรรษที่ 18 ในปี พ.ศ. 2237 กองเรือรบภายใต้บัญชาการของลอร์ดเบิร์กลีย์แห่งอังกฤษ ได้พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงในการมาโจมตีแบร็สต์

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2460 แบร็สต์ถูกใช้เป็นท่าขึ้นฝั่งของกองทหารหลายพันนายที่เดินทางมาจากสหรัฐอเมริกา เพื่อผ่านไปยังแนวด้านหน้าของสนามรบ[6] ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันใช้แบร็สต์เป็นฐานขนาดใหญ่ของเรือดำน้ำ หลังจากการบุกครองนอร์ม็องดี ของฝ่ายสัมพันธมิตรในปี พ.ศ. 2487 การต่อสู้ที่แบร็สต์ถือเป็นสมรภูมิรบที่ดุเดือดที่สุดของแนวรบด้านตะวันตก เมืองเกือบทั้งหมดถูกทำลาย ภายหลังสงครามเสร็จสิ้น รัฐบาลของเยอรมันตะวันตกต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาลหลายพันล้านดอยช์มาร์ค เป็นค่าปฏิกรรมสงครามให้กับแบร็สต์ เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเมือง ปัจจุบันพื้นที่ขนาดใหญ่หลายแห่งและอาคารถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยหินแกรนิตและคอนกรีต และฐานทัพเรือของฝรั่งเศสกลายเป็นศูนย์ฝึกอบรม[7]

ในปี พ.ศ. 2515 กองทัพเรือฝรั่งเศสทำพิธีเปิดฐานทัพเรือดำน้ำอาวุธนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการที่เกาะลงก์ (Île Longue) ในอาณาเขตของแบร็สต์ ซึ่งยังคงเป็นฐานที่มั่นสำคัญของเรือดำน้ำขีปนาวุธนิวเคลียร์ของฝรั่งเศสมาจนถึงปัจจุบัน

ประชากร

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
1793 24,180—    
1800 25,865+0.97%
1806 22,130−2.57%
1821 26,361+1.17%
1831 29,860+1.25%
1836 29,773−0.06%
1841 48,225+10.13%
1846 55,820+2.97%
1851 61,160+1.84%
1856 54,665−2.22%
1861 67,833+4.41%
1866 79,847+3.32%
1872 66,270−3.06%
1876 66,828+0.21%
1881 69,110+0.67%
1886 70,778+0.48%
1891 75,854+1.39%
1896 74,538−0.35%
1901 84,284+2.49%
ปีประชากร±% p.a.
1906 85,294+0.24%
1911 90,540+1.20%
1921 73,960−2.00%
1926 67,861−1.71%
1931 69,841+0.58%
1936 79,342+2.58%
1946 74,991−0.56%
1954 110,713+4.99%
1962 136,104+2.61%
1968 154,023+2.08%
1975 166,826+1.15%
1982 156,060−0.95%
1990 147,956−0.66%
1999 149,634+0.13%
2007 142,722−0.59%
2012 139,676−0.43%
2017 140,064+0.06%
2020 139,456−0.14%
ที่มา: EHESS[8] และ INSEE (1968-2017)[9][10]

มุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา

นิยามของตรา: ด้านซ้ายเป็น เฟลอร์เดอลี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรฝรั่งเศสในอดีตสีทองสามดวงบนพื้นสีกรมท่า ด้านขวาเป็นพื้นลายสีดำบนพื้นสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของแคว้นเบรอตาญ เมื่อรวมกันหมายถึงการร่วมกันของฝรั่งเศสและแบร็สต์ ประกาศใช้เป็นครั้งแรกภายใต้ความเห็นชอบร่วมกันของสภาเทศบาลเมืองในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2226[11]

หลังจากท่าเรือแห่งแรกของดัชชีแห่งแบร็สต์ (เบรอตาญ: Dugelezh Breizh)ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่แคว้นแยกจากอังกฤษ ได้ใช้ธงสัญลักษณ์ไม้กางเขนสีดำ (เบรอตาญ: Kroaz Du) ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงหลายครั้ง โดยล่าสุดธงเป็นสัญลักษณ์ของสหภาพของฝรั่งเศสและแบร็สต์

ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17
ธงของแบร็สต์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 
ธงพิธีการของแบร็สต์: ธงที่ใช้มากที่สุดของเบรสต์ในปัจจุบัน
ธงพิธีการของแบร็สต์: ธงที่ใช้มากที่สุดของเบรสต์ในปัจจุบัน 

อ้างอิง

  1. "Répertoire national des élus: les maires". data.gouv.fr, Plateforme ouverte des données publiques françaises (ภาษาฝรั่งเศส). 2 December 2020.
  2. Stina Backer (31 March 2018). "Brest, France: What to see and do". CNN Travel.
  3. Brest.fr – Brest perspectives เก็บถาวร 3 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name Britannica cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  5. Gaële MALGORN (22 February 1999). "Brest accueille ses 23 000 étudiants". Participation Brest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 April 2011.
  6. Van Wyen, Adrian O. (1969). Naval Aviation in World War I. Washington, D.C.: Chief of Naval Operations. p. 65.
  7. "The Nizkor Project - Nuremberg Trials transcript". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26.
  8. Des villages de Cassini aux communes d'aujourd'hui: รายการข้อมูลเทศบาล Brest, EHESS. (ในภาษาฝรั่งเศส)
  9. Population en historique depuis 1968, INSEE
  10. Populations légales 2020, INSEE
  11. Malte-Brun (1882). "Donne un autre blason en parallèle à celui ci-dessus : D'azur à un navire d'or, au chef d'hermine". La France illustrée.
ทั่วไป

บรรณานุกรม

ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
  • C.B. Black (1876). "Brest". Guide to the North of France. Edinburgh: Adam and Charles Black.
ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20

แหล่งข้อมูลอื่น