แผ่นซุนดา

แผ่นซุนดา
แผ่นซุนดา
ประเภทแผ่นรอง
การเคลื่อนตัว1ทิศตะวันออก
อัตราเร็ว111–14 มม./ปี
ลักษณะภูมิศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เกาะบอร์เนียว, เกาะชวา, เกาะสุมาตรา, ทะเลจีนใต้
1โดยเทียบกับแผ่นแอฟริกา

แผ่นซุนดา (อังกฤษ: Sunda Plate) เป็นแผ่นธรณีแปรสัณฐานขนาดเล็กที่วางตัวอยู่คร่อมแนวเส้นศูนย์สูตรในซีกโลกตะวันออก ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1]

แต่เดิมแผ่นซุนดาถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเชีย แต่จากการตรวจวัดโดยใช้ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกแล้ว มีการยืนยันว่าแผ่นทั้งสองเป็นอิสระจากกัน โดยแผ่นซุนดามีการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก 10 มม./ปี เทียบกับแผ่นยูเรเซีย[2]

ขอบเขต

แผ่นซุนดา ประกอบด้วย ทะเลจีนใต้ ทะเลอันดามัน ทางใต้ของประเทศเวียดนาม ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศไทย พร้อมด้วยประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียว สุมาตรา ชวา และบางส่วนของสุลาเวสีในประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ปาลาวัน และกลุ่มเกาะซูลู

แผ่นซุนดามีขอบเขตทางด้านตะวันออกโดยบริเวณพัฒนาการของแนวเคลื่อนไหวฟิลิปปิน, เขตการชนกันทะเลโมลุกกะ, แผ่นทะเลโมลุกกะ, แผ่นทะเลบันดา และแผ่นติมอร์ ทางใต้และทางตะวันตกโดยแผ่นออสเตรเลีย และทางเหนือโดยแผ่นพม่า, แผ่นยูเรเชีย และแผ่นแยงซี โดยแผ่นอินโด-ออสเตรเลียนั้นเป็นมุมเท (dips) อยู่ข้างใต้แผ่นซุนดาไปตามร่องลึกซุนดาซึ่งก่อให้เกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยครั้ง[1]

ขอบเขตทางตะวันออก ใต้ และตะวันตกของแผ่นซุนดานั้นมีความซับซ้อนของแผ่นธรณีและมีกิจกรรมของแผ่นดินไหว โดยมีเพียงแค่ขอบเขตทางด้านเหนือเท่านั้นที่ค่อนข้างนิ่ง

ดูเพิ่ม

  • แอ่งกูไต
  • ส่วนโค้งซุนดา
  • ไหล่ทวีปซุนดา
  • ร่องลึกซุนดา

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Whitten, T; Soeriaatmadja, R. E.; Suraya A. A. (1996). The Ecology of Java and Bali. Hong Kong: Periplus Editions Ltd. p. 87. ISBN 978-9625938882.
  2. Socquet, Anne; Wim Simons; Christophe Vigny; Robert McCaffrey; Cecep Subarya; Dina Sarsito; Boudewijn Ambrosius; Wim Spakman (2006). "Microblock rotations and fault coupling in SE Asia triple junction (Sulawesi, Indonesia) from GPS and earthquake slip vector data" (PDF). Journal of Geophysical Research. 111 (B8). Bibcode:2006JGRB..11108409S. doi:10.1029/2005JB003963. ISSN 0148-0227.[ลิงก์เสีย]

การค้นคว้าเพิ่มเติม

  • Bird, P. (2003) An updated digital model of plate boundaries, Geochemistry Geophysics Geosystems, 4(3), 1027, doi:10.1029/2001GC000252. [1] also available as a PDF file (13 mb) [2]