แฟรงก์ โอเชียน

แฟรงก์ โอเชียน
Portrait of Frank Ocean
โอเชียนเมื่อปี 2021
เกิดคริสโตเฟอร์ เอ็ดวิน โบรซ์[1]
(1987-10-28) 28 ตุลาคม ค.ศ. 1987 (37 ปี)
ลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • แร็ปเปอร์
  • โปรดิวเซอร์เพลง
  • ช่างภาพ
  • ศิลปินทัศนศิลป์
ปีปฏิบัติงาน2005–ปัจจุบัน
องค์การโฮเมอร์
ผลงานผลงานเพลง
รางวัลรายการทั้งหมด
อาชีพทางดนตรี
ที่เกิดนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา สหรัฐ
แนวเพลง
  • ออลเทอร์นาทิฟอาร์แอนด์บี
  • ฮิปฮอป
  • ป็อป
  • ไซเคเดลิกโซล
  • อาวองต์-โซล
เครื่องดนตรี
  • เสียงร้อง
  • คีย์บอร์ด
ค่ายเพลง
อดีตสมาชิกออดฟิวเจอร์
เว็บไซต์blonded.co

คริสโตเฟอร์ ฟรานซิส โอเชียน (อังกฤษ: Christopher Francis Ocean; เกิด 7 เมษายน ค.ศ. 1987) หรือชื่อเกิด คริสโตเฟอร์ เอ็ดวิน โบรซ์ (Christopher Edwin Breaux)[3][4] เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และแร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน นักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่าผลงานของเขานำเสนอรูปแบบดนตรีทดลองและเนื้อเพลงที่มีความคลุมเครือชวนขบคิด[5][6] โอเชียนได้รับรางวัลแกรมมีสองครั้งและบริตอะวอดส์ สาขาศิลปินเดี่ยวชายต่างชาติ รวมถึงรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย อัลบั้มสองชุดของเขาอยู่ในรายชื่อ 500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ของนิตยสาร โรลลิงสโตน ด้วย

โอเชียนริเริ่มอาชีพทางดนตรีในฐานะนักเขียนเงา ก่อนจะได้เข้าร่วมกลุ่มดนตรีฮิปฮอป ออดฟิวเจอร์ ในปี 2010 ปีต่อมาเขาออกมิกซ์เทปชุดแรกชื่อ นอสตัลเจีย, อุลตรา จากนั้นได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงเดฟแจมเรเคิดดิงส์ สตูดิโออัลบั้มชุดแรกของเขา แชนแนลออเรนจ์ เป็นการรวมกันระหว่างอาร์แอนด์บีและโซล ในงานรางวัลแกรมมี 2013 แชนแนลออเรนจ์ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอัลบั้มแห่งปีและได้รับรางวัลอัลบั้มเพลงเออร์เบินร่วมสมัยยอดเยี่ยม หนึ่งในซิงเกิลอย่าง "ทิงกิงเบาต์ยู" ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบันทึกเสียงแห่งปี เขาได้รับเลือกจากนิตยสาร ไทม์ ให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2013

หลังจากพักงานนานกว่า 4 ปี โอเชียนออกอัลบั้มภาพชื่อ เอนด์เลส ในปี 2016 ตามสัญญาที่ตกลงไว้กับเดฟแจม เขาออกอัลบั้มชุดที่สอง บลอนด์ หนึ่งวันหลังจากเอนด์เลสวางจำหน่าย บลอนด์ เป็นการต่อยอดแนวดนตรีทดลองของโอเชียน ซึ่งติดอันดับหนึ่งในรายชื่ออัลบั้มที่ดีที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 2010 ของ พิตช์ฟอร์ก เป็นอัลบั้มแรกของเขาที่เปิดตัวอันดับหนึ่งบน บิลบอร์ด 200 และการรับรองระดับทองคำขาวจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา โอเชียนออกซิงเกิลเป็นระยะ ทำงานเป็นช่างภาพให้กับนิตยสาร ตลอดจนเปิดแบรนด์แฟชั่นชื่อ โฮเมอร์ ในปี 2018

เชิงอรรถ

  1. Frank Ocean became independent of any record label in August 2016. He released his album Blonde under Boys Don't Cry, the reissue of his video album Endless under Fresh Produce, LP,[2] and all singles featured on Blonded Radio under Blonded.

อ้างอิง

  1. Lewis, Randy (2013-01-03). "Frank Ocean cited for speeding, pot possession on New Year's Eve". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
  2. "Endless by Frank Ocean on Apple Music". Apple (ภาษาอังกฤษ). February 17, 2020. สืบค้นเมื่อ February 17, 2020.
  3. Solway, Diane (September 30, 2019). "Frank Ocean Makes Moves Like Nobody Else". W. สืบค้นเมื่อ March 16, 2021.
  4. "Frank Ocean". GRAMMY.com (ภาษาอังกฤษ). May 19, 2020. สืบค้นเมื่อ November 9, 2020.
  5. "Why Frank Ocean is a musical icon". British GQ (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). April 24, 2017. สืบค้นเมื่อ May 25, 2020.
  6. Dhaenens, Frederik; De Ridder, Sander (May 2014). "Resistant masculinities in alternative R&B? Understanding Frank Ocean and The Weeknd's representations of gender". European Journal of Cultural Studies. 18 (3). สืบค้นเมื่อ August 12, 2020 – โดยทาง ResearchGate.

แหล่งข้อมูลอื่น