แฟรนซิส โอลแดม เคลซีย์
แฟรนซิส โอลแดม เคลซีย์ | |
---|---|
เกิด | แฟรนซีส แคธลีน โอลแดม (Frances Kathleen Oldham) 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 คอบเบิลฮิล บริทิชโคลัมเบีย แคนาดา |
เสียชีวิต | 7 สิงหาคม ค.ศ. 2015 ลอนดอน ออนทารีโอ แคนาดา | (101 ปี)
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยวิกตอเรีย บริทิชโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยแม็กกิล มหาวิทยาลัยชิคาโก |
อาชีพ | นักเภสัชวิทยา, แพทย์ |
มีชื่อเสียงจาก | ป้องกันไม่ให้ทาลิโดไมด์เข้าตลาดสหรัฐ |
คู่สมรส | เฟรมอนต์ เอลลิส เคลซีย์ (Fremont Ellis Kelsey, แต่งงาน 1943, เสียชีวิต 1966) |
บุตร | 2 |
รางวัล | รางวัลของประธานาธิบดีสำหรับราชการพลเรือนกลางดีเด่น (1962) |
แฟรนซิส แคธลีน โอลแดม เคลซีย์ (อังกฤษ: Frances Kathleen Oldham Kelsey, CM, 24 กรกฎาคม 1914 – 7 สิงหาคม 2015) เป็นนักเภสัชวิทยาและแพทย์ชาวแคนาดา-อเมริกัน[1] ขณะดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบประจำองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) เธอปฏิเสธการขึ้นทะเบียนอนุญาตให้จำหน่ายยาทาลิโดไมด์ในตลาด เนื่องจากเธอกังวลว่าหลักฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของยาที่มีอยู่นั้นไม่มากพอ[2] ความกังวลของเธอได้ถูกพิสูจน์ว่าเป็นจริงภายหลังมีการค้นพบว่าทาลิโดไมด์ก่อให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดหลายประการ เคลซีย์เป็นสตรีคนที่สองที่ได้รับรางวัลของประธานาธิบดีสำหรับราชการพลเรือนกลางดีเด่นซึ่งมอบให้โดยจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในปี 1962
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
เคลซีย์เกิดในเมืองคอบเบิลฮิล รัฐบริติชโคลัมเบีย[3] และเข้าศึกษาที่โรงเรียนเซนต์มากาเรท ที่เมืองวิกตอเรีย ในปี 1928 - 1931 ซึ่งเธอจบการศึกษาด้วยวัย 15 ปี[4] ในปี 1930–1931 เธอเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยวิกตอเรีย (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย) หลังจากนั้นก็ได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ที่ซึ่งเธอได้รับวุฒิวิทยาศาสตร์บัณฑิตในปี 1934 และวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตในปี 1935 ในสาขาเภสัชวิทยา[3] ภายหลังจากได้รับการผลักดันโดยเคลซีย์ อาจารย์ท่านหนึ่งของเธอ เธอได้เขียนจดหมายถึงนายแพทย์ อีเอ็มเค ไกลิง (EMK Geiling, M.D.) นักวิจัยชื่อดังที่กำลังจะจัดตั้งแผนกเภสัชศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยชิคาโก เพื่อที่จะหาตำแหน่งงานหลังเรียนจบ[4] ไกลิงอ่านชื่อในจดหมายผิดจาก Frances (ชื่อในรูปสตรี) เป็น Francis (ชื่อในรูปบุรุษ) จึงคิดว่าเธอคือผู้ชายและตกลงรับเธอเข้าทำงานในปี 1936[5]
ในช่วงปีที่สองของการทำงาน องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้มอบหมายให้ไกลิงทำการวิจัยเกี่ยวกับรายงานการเสียชีวิตที่ผิดปกติเกี่ยวกับยาเอลิเซียร์ซัลฟานิลาไมด์ ซึ่งเป็นยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์ตัวหนึ่ง เคลซีย์ช่วยเหลือไกลิงในการทำวิจัยนี้และพบว่ามีผู้เสียชีวิต 107 รายจากการใช้ไดเอทิลีนไกลคอลเป็นตัวทำละลาย ในปีต่อมา สภาคองเกรสได้อนุมัติรัฐบัญญัติอาหาร ยา และเครื่องสำอางของปี 1938[4] ในปีเดียวกัน เคลซีย์จบการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้านเภสัชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโก[4] การทำงานกับไกลิงทำให้เธอเกิดความสนใจพิเศษในยาพวกเทราโทเจน ซึ่งคือยาที่ก่อให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด[6]
ชีวิตการทำงานช่วงต้น
ภายหลังจบการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต เธอได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชิคาโก ในปี 1942 เช่นเดียวกับนักเภสัชวิทยาคนอื่น ๆ เธอพยายามเสาะหาวิธีการรักษาแบบสังเคราะห์ที่จะรักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งทำให้เธอได้เรียนรู้ว่ามีสารบางกลุ่มที่สามารถเดินทางผ่านรกได้[7] ขณะทำงาน เธอได้พบรักกับอาจารย์ผู้ร่วมงาน เฟรมอนต์ เอลลิส เคลซีย์ (Fremont Ellis Kelsey) และแต่งงานกันในปี 1943[4]
ขณะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชิคาโก เธอได้รับปริญญาแพทยศาสตร์กิตติมศักดิ์ในปี 1950[4] นอกจากงานสอนแล้วเธอยังเป็นสมาชิกบรรณาธิการประจำวารสาร เจเอเอ็มเอ ของสมาคมแพทย์สหรัฐเป็นเวลาสองปี เคลซีย์ลาออกจากมหาวิทยาลัยชิคาโกในปี 1954 และตัดสินใจเข้าเป็นอาจารย์สอนด้านเภสัชศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซาท์ดาโคตา พร้อมทั้งย้ายบ้านไปอาศัยกับสามีและลูกทั้งสองคนในเวอร์มิลเลียน รัฐเซาท์ดาโคตา เธอสอนอยู่ที่นี่จนถึงปี 1957[3]
เธอได้รับสถานะพลเมืองสองรัฐทั้งแคนาดาและสหรัฐฯ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เพื่อที่จะสามารถประกอบวิชาชีพแพทย์ในสหรัฐฯ ได้ แต่เธอยังคงมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับแคนาดาที่ซึ่งเธอยังคงเดินทางไปเยี่ยมญาติของเธอเป็นประจำจนเสียชีวิต[2]
การทำงานที่ FDA และทาลิโดไมด์
ในปี 1960 เคลซีย์ถูกจ้างงานโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ในวอชิงตันดีซี ที่ซึ่งในเวลานั้น เธอ "เป็นสตรีหนึ่งในเจ็ดคนที่ทำงานเต็มเวลาในฐานะแพทย์ตรวจสอบยา"[4] ให้กับ FDA หนึ่งในงานมอบหมายแรกของเธอจาก FDA คือการตรวจสอบใบขออนุญาตจากริชาร์ดสัน-เมอร์เรลสำหรับยาทาลิโดไมด์ (ภายใต้ชื่อการค้า Kevadon) ซึ่งถูกใช้เป็นยากล่อมประสาทและยาแก้ปวดสำหรับข้อบ่งใช้เฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยอาการแพ้ท้อง ถึงแม้ว่ายานี้จะได้รับการอนุมัติแล้วทั้งในแคนาดาและอีกมากกว่า 20 ประเทศในยุโรปและแอฟริกา[8] เธอกลับตัดสินใจระงับการอนุมัติยาไว้ก่อนและเรียกของานวิจัยเพิ่มเติม[3] ถึงแม้จะถูกกดดันโดยผู้ผลิตทาลิโดไมด์ เคลซีย์ยังยืนหยัดที่จะขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่ออธิบายผลการศึกษาของอังกฤษชิ้นหนึ่งที่รายงานอาการประสาทส่วนปลายอักเสบ[9] ในฐานะผลข้างเคียงจากยา[4] นอกจากนี้เธอยังเรียกขอผลงานวิจัยที่ยืนยันว่ายาไม่อันตรายต่อทารกในครรภ์[9]
คำยืนกรานของเธอว่ายาจะต้องถูกทดลองโดยสมบูรณ์ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติ ได้รับการพิสูจน์ยืนยันเมื่อมีรายงานว่าทารกที่มีความผิดปกติแรกเกิดจากมารดาที่ทานยาทาลิโดไมด์ขณะตั้งครรภ์ในยุโรป[10][11] นักวิจัยในภายหลังได้พบว่าทาลิโดไมด์สามารถข้ามผ่านรกและก่อให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดในทารกได้[7] เธอได้รับการเชิดชูเกียรติบนหน้าหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันโพสท์ ในฐานะวีรสตรี[12] ผู้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดหายนะทาลิโดไมด์ขึ้นในสหรัฐฯ[13] มอร์ทัน มิทซ์ ผู้เขียนบทความบนหนังสือพิมพ์ดังกล่าว ระบุว่า "เคลซีย์ได้ป้องกันความเสี่ยงของเด็กนับร้อยจนถึงนับพันคนที่จะเกิดมาโดยไม่มีแขนขา (ซึ่งเป็นความผิดปกติแรกเกิดจากทาลิโดไมด์)"[12] เคลซีย์ยืนยันว่าผู้ช่วยของเธอทั้งสอง โอยามา จีโร (Oyama Jiro) และ ลี ไกส์มาร์ (Lee Geismar) รวมถึงผู้มีตำแหน่งสูงกว่าใน FDA ที่สนับสนุนจุดยืนของเธอ ล้วนสมควรได้รับเครดิตเช่นกัน วาทกรรมเกี่ยวกับความแน่วแน่ของเคลซีย์ถูกนำมาใช้ในการอนุมัติกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจตรายาที่เข้มงวดขึ้นในปี 1962[1]
หลังมอร์ทัน มินทซ์ (Morton Mintz) เปิดโปงเรื่องนี้ในเดือนกรกฎาคม 1962 ได้มีการเรียกร้องครั้งใหญ่ในหมู่สาธารณชน สภาคองเกรสได้อนุมัติการผ่านข้อแปรญัติเคฟอเวอร์ แฮร์ริสโดยไม่มีเสียงคัดค้านในเดือนตุลาคม 1962 เพื่อทำให้การตรวจสอบยาเคร่งครัดกว่าเดิม[10][11] บริษัทยาจะต้องแสดงประสิทธิผลของยาตัวใหม่ รายงานผลข้างเคียงแก่ FDA และขออนุญาตจากผู้ป่วยที่เข้าร่วมในโครงการวิจัยยา[14] การปฏิรูปการตรวจสอบยาครั้งนี้เป็นการตั้ง "ข้อจำกัดที่รัดกุมยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการทดสอบและวางจ่ายยาใหม่ ๆ"[7] เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่คล้ายกันอีก นอกจากนี้ข้อแปรญัตินี้ยังเป็นครั้งแรกที่ "ประสิทธิภาพถูกบังคับให้มาก่อนการตลาด"[10][11]
จากการที่เคลซีย์ได้ป้องกันการอนุมัติยาทาลิโดไมด์ในสหรัฐฯ เธอได้รับรางวัลของประธานาธิบดีสำหรับราชการพลเรือนกลางดีเด่นจากประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดีในวันที่ 7 สิงหาคม 1962[15] ทำให้เธอกลายเป็นสตรีคนที่สองที่ได้รับเกียรตินี้[16] หลังจากนั้น เคลซีย์ยังคงทำงานให้กับ FDA และยังมีบทควาทสำคัญในการร่างข้อแปรญัติของปี 1962[13] และได้รับตำแหน่งกำกับควบคุมดูแลการตรวจสอบยาประจำ FDA[3]
เคลซีย์เกษียณอายุราชการจาก FDA ในปี 2005 ด้วยวัย 90 ปี และอายุงาน 45 ปี[8]
บั้นปลายชีวิตและการเสียชีวิต
เคลซีย์ยังคงทำงานให้กับ FDA ในขณะเดียวกันก็ได้รับการยอมรับจากงานที่ทำก่อนหน้า เธอยังคงทำงานประจำอยู่ที่ FDA ในศูนย์วิจัยและประเมินยา ในปี 1995 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกิจการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ในปี 1994 โรงเรียนมัธยมแฟรนซิส เคลซีย์ ในมิลล์เบย์ ได้ตั้งชื่อโรงเรียนตามชื่อเธอ[17]
ในปี 2010 FDA ได้มอบรางวัลความปลอดภัยยายอดเยี่ยม (Drug Safety Excellence Award) เป็นครั้งแรกให้กับเคลซีย์ และตัดสินใจตั้งชื่อรางวัลรายปีนี้ตามชื่อเธอ[18] โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของ FDA หนึ่งคนที่ได้รับราวัลนี้ทุกปี[19] ผู้อำนวยการศูนย์ สตีเฟน เค แกลซัน ระบุว่า "ผมดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้จัดตั้งรางวัลความปลอดภัยยายอดเยี่ยม พญ. แฟรนซิส โอ. เคลซีย์ (Dr. Frances O. Kelsey Drug Safety Excellence Award) เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้รับรางวัลคนแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่เกี่ยวกับกฎข้อบังคับด้านยาที่สำคัญนี้"[20]
เคลซีย์อายุถึง 100 ปี ในเดือนกรกฎาคม 2014[21] และไม่นานจากนั้น ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 2014 เธอย้ายจากวอชิงตันดีซีไปอาศัยกับลูกสาวในเมืองลอนดอน รัฐออนแทริโอ[22] ในเดือนมิถุนายน 2015 ขณะที่เธอได้รับเครื่องยศแคนาดา เมอร์เซดีส เบเนกบี เหยื่อยาทาลิโดไมด์และประธานสมาคมเหยื่อทาลิโดไมด์ในแคนาดา (Thalidomide Victims Association of Canada) ได้เชิดชูเกียรติเคลซีย์จากการแสดงความแข็งแกร่งและความกล้าหาญโดยปฏิเสธแรงกดดันจากบริษัทยา และได้กล่าวว่า "สำหรับเรา เธอเป็นวีรสตรีตลอดมาและตลอดไป ถึงแม้ว่าคุณงามความดีที่เธอทำจะเป็นไปในอีกประเทศหนึ่ง"[22]
เคลซีย์เสียชีวิตในลอนดอน รัฐออนแทริโอ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2015 ด้วยอายุ 101 ปี[23] ไม่ถึง 24 ชั่วโมงนับจากผู้ว่าการรัฐ (Lieutenant-Governor) เอลิซาเบธ ดาวเดสเวล ได้ไปเยี่ยมเธอที่บ้านและมอบตราประจำตำแหน่งสมาชิกเครื่องยศแคนาดา (Order of Canada) จากบทบาทของเธอในการต่อต้านทาลิโดไมด์[24]
เกียรติยศและรางวัล
- 1962 • รางวัลของประธานาธิบดีสำหรับราชการพลเรือนกลางดีเด่น[8]
- 1963 • กุญแจทอง (Gold Key Award) จากมหาวิทยาลัยชิคาโก, สมาคมศิษย์เก่าแพทย์และชีววิทยาศาสตร์[25]
- 1994 • ชื่อของเธอได้นำไปตั้งเป็นชื่อของโรงเรียนมัธยมแฟรนซิส เคลซีย์ (Frances Kelsey Secondary School) ซึ่งเปิดเรียนในปี 1995
- 2000 • เชิดชูเกียรติในหอเกียรติยศสตรีแห่งชาติ[16]
- 2001 • ชื่อของเธอถูกนำไปใช้ตั้งเป็นเมนเทอร์เสมือน (Virtual Mentor) ของสมาคมแพทย์สหรัฐ[26]
- 2006 • รางวัลฟอร์มาเธอร์ (Foremother Award) จากศูนย์วิจัยสุขภาพแห่งชาติ[27]
- 2010 • รางวัลความปลอดภัยยายอดเยี่ยม พญ. แฟรนซิส โอ เคลซีย์ (Dr. Frances O. Kelsey Award for Excellence) โดย FDA ซึ่งเธอเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้[28]
- 2012 • ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ด้านวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแวนคูเวอร์ไอแลนด์[29]
- 2015 • ได้รับเครื่องยศแห่งแคนาดา[22]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 McFadden, Robert (August 7, 2015), "Frances Oldham Kelsey, F.D.A. Stickler Who Saved U.S. Babies From Thalidomide, Dies at 101", The New York Times.
- ↑ 2.0 2.1 Peritz, Ingrid (November 24, 2014), Canadian doctor averted disaster by keeping thalidomide out of the U.S., The Globe and Mail, สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Frances Kelsey", Canada Heirloom Series, Heirloom Publishing Inc., 986, สืบค้นเมื่อ August 15, 2009.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Bren, Linda (March–April 2001), "Frances Oldham Kelsey: FDA Medical Reviewer Leaves Her Mark on History", FDA Consumer, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2006, สืบค้นเมื่อ August 15, 2009.
- ↑ "When Kelsey read Geiling's letter offering her a research assistantship and scholarship in the PhD program at Chicago, she was delighted. But there was one slight problem — one that 'tweaked her conscience a bit.' The letter began 'Dear Mr. Oldham,' Oldham being her maiden name. Kelsey asked her professor at McGill if she should wire back and explain that Frances with an 'e' is female. 'Don't be ridiculous,' he said. 'Accept the job, sign your name, put 'Miss' in brackets afterwards, and go!'" Bren (2001).
- ↑ Spiegel, Rachel, Research in the News: Thalidomide, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2007, สืบค้นเมื่อ August 15, 2009.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Simpson, Joanne Cavanaugh (September 2001), "Pregnant Pause", Johns Hopkins Magazine, 53 (4), สืบค้นเมื่อ April 30, 2006.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Rouhi, Maureen (June 20, 2005), "Top Pharmaceuticals: Thalidomide", Chemical & Engineering News, 83 (25), สืบค้นเมื่อ April 30, 2006.
- ↑ 9.0 9.1 Phillips, Stephen (2020-03-09). "How a courageous physician-scientist saved the U.S. from a birth-defects catastrophe". UChicago Medicine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-06.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "The Story Of The Laws Behind The Labels", FDA Consumer, June 1981, สืบค้นเมื่อ August 15, 2009.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "The Story Of The Laws Behind The Labels", FDA Consumer, June 1981, สืบค้นเมื่อ March 15, 2022.
- ↑ 12.0 12.1 Mintz, Morton (July 15, 1962), "'Heroine' of FDA Keeps Bad Drug Off of Market", The Washington Post, p. Front Page. See also Mintz's comments from 2005 on Kelsey.
- ↑ 13.0 13.1 Dr. Frances Kathleen Oldham Kelsey, National Library of Medicine, สืบค้นเมื่อ April 30, 2006.
- ↑ Frances Oldham Kelsey, Chemical Heritage Foundation, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2016, สืบค้นเมื่อ March 23, 2014
- ↑ Kennedy, John F. (1962), Remarks Upon Presenting the President's Awards for Distinguished Federal Civilian Service, สืบค้นเมื่อ May 1, 2006.
- ↑ 16.0 16.1 Women of the Hall – Frances Kathleen Oldham Kelsey, Ph.D., M.D., National Women's Hall of Fame, 2000, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2002, สืบค้นเมื่อ May 1, 2006.
- ↑ FKSS History, Frances Kelsey Secondary School, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2012, สืบค้นเมื่อ December 26, 2014.
- ↑ Harris, Gardiner (September 13, 2010), "The Public's Quiet Savior From Harmful Medicines", The New York Times, สืบค้นเมื่อ January 4, 2011.
- ↑ Margaret A. Hamburg, M.D., Commissioner of Food and Drugs – Remarks at the Award Ceremony for Dr. Frances Kelsey.
- ↑ Barber, Jackie (November 10, 2005), "Center ceremony honors 107 individuals, 47 groups: Spring event inaugurates Frances Kelsey Drug Safety Award", News Along the Pike, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 15, 2007, สืบค้นเมื่อ August 15, 2009.
- ↑ McElroy, Justin (July 24, 2014), Canadian scientist Frances Kelsey, who spurred FDA reforms, turns 100, Global News, สืบค้นเมื่อ July 24, 2014.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 Ingrid Peritz (July 1, 2015), "Doctor who opposed thalidomide in U.S. named to Order of Canada", The Globe and Mail, สืบค้นเมื่อ July 1, 2015.
- ↑ Bernstein, Adam; Sullivan, Patricia (August 7, 2015), "Frances Oldham Kelsey, FDA scientist who kept thalidomide off U.S. market, dies at 101", The Washington Post, สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
- ↑ Ingrid Peritz (August 7, 2015), "Canadian doctor who kept thalidomide out of U.S. dies", The Globe and Mail, สืบค้นเมื่อ August 7, 2015.
- ↑ Gold Key Award Recipients, The University of Chicago The Medical & Biological Sciences Alumni Association, สืบค้นเมื่อ August 14, 2006.
- ↑ Geraghty, Karen (July 2001), "Profile of a Role Model – Frances Oldham Kelsey, MD, PhD", Virtual Mentor – American Medical Association Journal of Ethics, 7 (7), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2007, สืบค้นเมื่อ August 15, 2009.
- ↑ "Foremother and Health Policy Hero Awards Luncheon". May 7, 2018.
- ↑ "FDA honors one of its own". CNN blog. September 16, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-30. สืบค้นเมื่อ August 9, 2015.
- ↑ "Honorary doctor of science degree from Vancouver Island University", Nanaimo News Bulletin, Black Press, Inc., 2012-06-06, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-06, สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
อ่านเพิ่มเติม
- Bren, Linda (มีนาคม–เมษายน 2001), "Frances Oldham Kelsey: FDA Medical Reviewer Leaves Her Mark on History", FDA Consumer, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ตุลาคม 2006, สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2009
- Harris, Gardiner (13 กันยายน 2010), "The Public's Quiet Savior From Harmful Medicines", The New York Times.
- Harris, Steven B. (1992), The Right Lesson to Learn from Thalidomide, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 เมษายน 2001.
- Kelsey, Frances O. (1993), Autobiographical Reflections (PDF). This was drawn from oral history interviews conducted in 1974, 1991, and 1992; presentation, Founder's Day, St. Margaret's School, Duncan, B. C., 1987; and presentation, groundbreaking, Frances Kelsey School, Mill Bay, B. C., 1993.
- McGovern, James (2020), "Quieter Things: The Tale of Frances Oldham Kelsey", Boulevard, 35 (2 & 3): 209–219.
- Mintz, Morton (1965), The therapeutic nightmare; a report on the roles of the United States Food and Drug Administration, the American Medical Association, pharmaceutical manufacturers, and others in connection with the irrational and massive use of prescription drugs that may be worthless, injurious, or even lethal., Boston: Houghton Mifflin, LCCN 65015156. Library of Congress catalog entry.
- McFadyen, R. E. (1976), "Thalidomide in America: A Brush With Tragedy", Clio Medica, 11 (2): 79–93.
- Mulliken, J. (10 สิงหาคม 1962), "A Woman Doctor Who Would Not be Hurried", Life Magazine, 53: 28–9, LCCN 37008367.
- Perri III, Anthony J.; Hsu MD, Sylvia (2003), "A review of thalidomide's history and current dermatological applications", Dermatology Online Journal, 9 (3): 5, PMID 12952752, สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2006.
- Seidman, Lisa A.; Warren, Noreen (กันยายน 2002), "Frances Kelsey & Thalidomide in the US: A Case Study Relating to Pharmaceutical Regulations" (PDF), The American Biology Teacher, 64 (7): 495, doi:10.1662/0002-7685(2002)064[0495:FKTITU]2.0.CO;2, 7[ลิงก์เสีย].
- Stamato, Linda (17 ธันวาคม 2012), "Thalidomide, after fifty years: A tribute to Frances Oldham Kelsey and a call for thorough, responsible federal drug regulation and oversight", NJ Voices, NJ.com.