แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยามุมมองจากสะพานตากสิน ฝั่งซ้าย (โรงแรม เพนนินซูลา ศูนย์การค้าไอคอนสยาม โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน) ฝั่งขวา (โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติ บางรัก)
แผนที่แสดงตำแหน่งลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกับลุ่มน้ำสาขาต่าง ๆ
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำปากน้ำโพ
 • ตำแหน่งตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
 • พิกัด15°42′02.0″N 100°08′28.4″E / 15.700556°N 100.141222°E / 15.700556; 100.141222
 • ระดับความสูง25 เมตร (82 ฟุต)
ปากน้ำปากน้ำเจ้าพระยา
 • ตำแหน่ง
ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
 • พิกัด
13°32′37.9″N 100°35′28.8″E / 13.543861°N 100.591333°E / 13.543861; 100.591333
 • ระดับความสูง
0 เมตร (0 ฟุต)
ความยาว372 กิโลเมตร (231 ไมล์)
พื้นที่ลุ่มน้ำ20,125 ตารางกิโลเมตร (7,770 ตารางไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำน่าน, แม่น้ำลพบุรี, คลองบางแก้ว, คลองเมือง, แม่น้ำป่าสัก, คลองบ้านพร้าว, คลองบางหลวงเชียงราก, แม่น้ำลัดเกร็ด
 • ขวาแม่น้ำปิง, แม่น้ำสะแกกรัง, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำน้อย, คลองบางบาล, คลองอ้อมนนท์, คลองบางกรวย, คลองบางกอกน้อย, คลองบางกอกใหญ่

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสาขาหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน โดยมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจะเห็นความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ แม่น้ำน่านมีสีค่อนข้างแดง ส่วนแม่น้ำปิงมีสีค่อนข้างเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อย ๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่[1] จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ในอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่บริเวณปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน แม่น้ำทั้งสองรับน้ำมาจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาผีปันน้ำ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ 20,125 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน) และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีน (คลองมะขามเฒ่า) ที่จังหวัดชัยนาท

ที่มาของชื่อ

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2041 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการขุดลอกคลองสำโรงเนื่องจากคลองตื้นเขิน เรือใหญ่เดินทางไปมาผ่านคลองสำโรงไม่สะดวก และมีการขุดพบรูปเทพารักษ์ 2 องค์ได้แก่ พระยาแสนตาและพระยาบาทสังขกร จึงเรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า บางเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้นำชื่อชุมชนบริเวณปากน้ำนี้มาตั้งเป็นชื่อแม่น้ำ[2]

ธรณีกาล

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำเก่าในยุคไพลสโตซีน เป็นหนึ่งในแควหลักของแม่น้ำซุนดาเหนือ ร่วมสมัยกับแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำพุมดวง–ตาปี ต่อมาช่วงต้นยุคโฮโลซีน น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็ง ทำให้ขอบเขตแม่น้ำเจ้าพระยาหายไป เนื่องจากพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจมอยู่ใต้อ่าวไทยโบราณ จากนั้นเริ่มมีการทับถมของดินตะกอนใหม่อีกครั้ง จนเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน[3]

การขุดลัดแม่น้ำ

แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสามครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด

การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยคลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[4] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช, คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ, คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และในสมัยรัตนโกสินทร์มีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนองและตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า[ต้องการอ้างอิง]

ลำน้ำสาขา

ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายในให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

ต้นน้ำ

ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย

ลำน้ำสาขาฝั่งขวา

จังหวัดชัยนาท

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดปทุมธานี

  • คลองสระ
  • คลองควาย
  • คลองบางเตย
  • คลองบางโพธิ์เหนือ
  • คลองวัดโคก
  • คลองบางหลวง
  • คลองบางโพธิ์ใต้
  • คลองบางเดื่อ
  • คลองบางคูวัด
  • คลองเกาะเกรียง

จังหวัดนนทบุรี

  • คลองบางตะไนย์
  • คลองบ้านแหลมเหนือ
  • คลองบ้านแหลม
  • คลองพระอุดม
  • คลองบางภูมิ
  • คลองบางวัด
  • คลองบางพลับ
  • คลองบางน้อย
  • คลองบางบัวทอง
  • คลองโยธา
  • คลองวัดแดง
  • คลองบางกำลัง
  • คลองสวนพริก
  • คลองอ้อมนนท์ (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)
    • คลองวัดพุฒิ
    • คลองบางศรีเมือง
    • คลองวัดโตนด
    • คลองบางกร่าง
    • คลองบางประดู่
    • คลองวัดบางระโหง
    • คลองวัดขวัญเมือง
    • คลองบางรักน้อย
    • คลองวัดประชารังสรรค์
    • คลองวัดโบสถ์ดอนพรหม
    • คลองบางรักใหญ่
    • คลองบางพลู
    • คลองบางไผ่
    • คลองบางสะแก
    • คลองวัดเสาธงหิน
    • คลองบางใหญ่ คลองโยง ออกแม่น้ำท่าจีน
  • คลองบางสีทอง
  • คลองบางไผ่ใหญ่
  • คลองบางไผ่น้อย
  • คลองบางกรวย (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)

กรุงเทพมหานคร

  • คลองบางละมุด
  • คลองเตย
  • คลองข้างมัสยิดดารุลอิหฺซาน
  • คลองบางอ้อ
  • คลองสะพานยาว
  • คลองมอญ
  • คลองเตาอิฐ
  • คลองบางพระครู
  • คลองมะนาว
  • คลองบางพลัด
  • คลองบางพลู
  • คลองซอยเทพนิมิตร
  • คลองต้นซอยวัดภคินีนาถ
  • คลองปลายซอยวัดภคินีนาถ
  • คลองบางจาก
  • คลองวัดบวรมงคล
  • คลองหลังโรงเรียนวัดคฤหบดี
  • คลองวัดคฤหบดี
  • คลองบางยี่ขัน
  • คลองวัดดาวดึงษ์
  • คลองเจ้าครุฑ
  • คลองวัดดุสิต
  • คลองขนมจีน
  • คลองบางกอกน้อย (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า เดิมชื่อ ลำน้ำธนบุรี)[ต้องการอ้างอิง]
    • คลองพิณพาทย์ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองต้นไทร แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองน้ำดอกไม้ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองผักหนาม แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองพริกป่น แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองบางบำหรุ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองตราชู แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองพิกุล แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองคูเมืองตะวันตก-คลองบ้านขมิ้น ขุดแยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย ผ่านคลองมอญ ไปบรรจบคลองบางกอกใหญ่
    • คลองวัดทอง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองชักพระ
    • คลองบางขุนนนท์ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองวัดทอง
    • คลองวัดใหม่ภาวนา แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย บรรจบคลองบางขุนนนท์
    • คลองวัดไก่เตี้ย แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองสวนแดน แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองมหาสวัสดิ์ ขุดแยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย เชื่อมแม่น้ำท่าจีน
    • คลองวัดพิกุลทอง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองวัดสนามนอก แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองวัดเกตุ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองบางยี่พระ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองวัดโตนด แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองวัดโพธิ์บางโอ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองวัดสักน้อย แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองวัดสักใหญ่ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองยายจีน แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองวัดบางอ้อยช้าง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองหมอจำปี แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองป้าจุไร แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองวัดแก้วฟ้า แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองตาหมอวัน แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองวัดแดงประชาราษฎร์ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองยายเล็ก แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองบางขนุน แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองบางกร่าง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
    • คลองบางขุนกอง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองวัดไทยเจริญ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองบางนายไกร แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองบางราวนก แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองบางคูเวียง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองบางค้อ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
    • คลองบางม่วง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
  • คลองชักพระ (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)
    • คลองวัดตลิ่งชัน แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย
    • คลองบ้านไทร แยกจากคลองบางระมาดฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
      • คลองลัดถมยา แยกจากคลองบ้านไทรฝั่งซ้าย เชื่อมคลองบางพรม
      • คลองลัดกัลยา แยกจากคลองบ้านไทรฝั่งซ้าย เชื่อมคลองบางระมาด
      • คลองลัดมะยม แยกจากคลองบ้านไทรฝั่งซ้าย เชื่อมคลองบางเชือกหนัง
      • คลองบัว-คลองขื่อขวาง แยกจากคลองบ้านไทรฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองมหาสวัสดิ์
    • คลองบางพรม แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
    • คลองวัดแก้ว แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย
    • คลองผ้าลุ่ย (คลองพระจุ้ย) แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองบางน้อย
    • คลองบางเชือกหนัง แยกจากคลองบางน้อยฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
      • คลองบางน้อย แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
      • คลองลัดวัดฉิม ขุดแยกจากคลองบางเชือกหนังฝั่งซ้าย เชื่อมคลองบางจาก
    • คลองวัดเจ้าอาม แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
    • คลองขุนคลัง แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
    • คลองวัดช่างเหล็ก แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
    • คลองเชิงเลน แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
    • คลองวัดมะลิ แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
    • คลองวัดทอง (คลองจักรทอง) แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา ไปบรรจบคลองบางกอกน้อย
    • คลองวัดยาง แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา ไปบรรจบคลองวัดทอง
    • คลองวัดรวกสุทธาราม แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
    • คลองกระท้อนแถว แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา ไปบรรจบคลองวัดยาง
    • คลองทรงเทวดา แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
  • คลองวัดระฆัง
  • คลองมอญ
  • คลองวัดอรุณ ไปบรรจบคลองมอญ
  • คลองบางกอกใหญ่ (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)
    • ลำรางซอย สน.บางเสาธง แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
    • คลองบางแวก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
    • คลองข้างโรงเรียนเปี่ยมสุวรรณ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
    • คลองวัดคูหาสวรรค์ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
    • คลองบางจาก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
      • คลองบางเพลี้ย แยกจากคลองบางจากฝั่งขวา
      • คลองวัดประดู่ ขุดแยกจากคลองบางจากฝั่งซ้าย ออกคลองภาษีเจริญ
      • คลองบางด้วน แยกจากคลองบางจากฝั่งขวา เชื่อมคลองพระยาราชมนตรี
      • คลองบางหว้า แยกจากคลองบางจากฝั่งซ้าย เชื่อมคลองภาษีเจริญ-คลองด่าน
    • คลองสวน แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
    • ลำรางข้างโรงพยาบาลพญาไท 3 แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
    • คลองภาษีเจริญ ขุดแยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมแม่น้ำท่าจีน
    • คลองด่าน คลองบางหลวงน้อย-คลองสนามชัย-คลองมหาชัย ขุดแยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมแม่น้ำท่าจีน
      • คลองขุนราชพินิจใจ (เชื่อมคลองสนามชัย-คลองสรรพสามิต)
    • คลองบางสะแก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองดาวคะนอง
    • คลองบางน้ำชน แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา
    • คลองสำเหร่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา
    • คลองศรีภูมิ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
    • คลองบางไส้ไก่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา
    • คลองบุปผาราม แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
    • คลองต้นตาล (อาชีวธนบุรี) แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองวัดดีดวด แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองซอยกิตติกมล แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองวัดเจ้ามูล แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองอภิชาติ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองวัดคูหาสวรรค์ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองวัดท่าพระ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองซอยจรัญสนิทวงศ์ 1 แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • ลำกระโดงเชิงสะพานบางไผ่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • ลำกระโดงอำนวยสุข แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
    • คลองแยกวัดประดู่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองวัดประดู่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองบ้านข้าว แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คูข้างเขตบางกอกใหญ่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองศาลเจ้า แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองต้นไทร แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองต้นตาล (เกษจำเริญ) แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองโรงสีไฟ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา ไปบรรจบคลองวัดอรุณ
    • คลองบางลำเจียกน้อย แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองบางลำเจียก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • ลำกระโดงข้างวัดสังข์กระจาย แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
    • คลองวัดสังข์กระจาย แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา ไปบรรจบคลองวัดราชสิทธาราม
    • คลองในตรอกกระจก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
    • คลองวัดราชสิทธาราม แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองวัดอรุณ
    • คลองวัดหงส์รัตนาราม แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
  • คลองวัดกัลยาณ์
  • คลองกุฎีจีน
  • คลองวัดประยูร
  • คลองตลาดสมเด็จ บรรจบคลองสมเด็จเจ้าพระยา
  • คลองบ้านหลวงวารี
  • คลองวัดทองธรรมชาติ
  • คลองวัดทองนพคุณ (เหนือ)
  • คลองวัดทองนพคุณ (ใต้)
  • คลองสาน
  • คลองวัดทองเพลง
  • คลองวัดสุวรรณ (เหนือ)
  • คลองวัดสุวรรณ (ใต้)
  • คลองต้นไทร
  • คลองพนาโรจน์
  • คลองบางลำภูล่าง บรรจบคลองบางไส้ไก่
  • คลองพระยาเกษม
  • คลองโรงหนัง
  • คลองโรงปลา
  • คลองภาษี (คลองโรงปูน)
  • คลองบางไส้ไก่
  • คลองสำเหร่
  • คลองบางน้ำชน
  • คลองข้างวัดบุคคโล
  • คลองดาวคะนอง
  • คลองบางปะแก้ว
  • คลองบางปะกอก
  • คลองราษฎร์บูรณะ
  • คลองผู้ใหญ่สังข์
  • คลองบางบูน
  • คลองแจงร้อน

จังหวัดสมุทรปราการ

ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดปทุมธานี

จังหวัดนนทบุรี

  • คลองบ้านใหม่ (คลองบ้านใหม่ตลาดเนื้อ)
  • คลองบ้านเก่า
  • คลองวัดช่องลม
  • คลองบางพัง
  • คลองบางพูด
  • แม่น้ำลัดเกร็ด
  • คลองกลางเกร็ด
  • คลองบางตลาด
  • คลองท่าทราย
  • คลองวัดตำหนักใต้
  • คลองบางธรณี
  • คลองวัดแคนอก
  • คลองอ้อช้าง
  • คลองสร้อยทอง
  • คลองบางกระสอ
  • คลองบางซื่อ
  • คลองมะขามโพรง
  • คลองบางแพรก
  • คลองบางขวาง
  • คลองบางตะนาวศรี
  • คลองบางขุนเทียน
  • คลองบางบุนนาค

กรุงเทพมหานคร

จังหวัดสมุทรปราการ

  • คลองวัดโยธินประดิษฐ์
  • คลองสำโรง (ออกแม่น้ำบางปะกง)
  • คลองบางนางเกรง (บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา)
  • คลองมหาวงษ์ บรรจบคลองสำโรง
  • คลองบางปิ้ง เชื่อมกับคลองชลประทาน (เลียบถนนสุขุมวิท) ไปบรรจบคลองสำโรง

ท่าน้ำ

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้[5]

  • ท่าปากเกร็ด
  • ท่าวัดกลางเกร็ด
  • ท่ากระทรวงพาณิชย์
  • ท่าสะพานพระนั่งเกล้า
  • ท่าพิบูลสงคราม 4
  • ท่านนทบุรี (พิบูลสงคราม 3)
  • ท่าบางศรีเมือง
  • ท่าพิบูลสงคราม 2
  • ท่าสะพานพระราม 5
  • ท่าวัดเขียน
  • ท่าวัดตึก
  • ท่าวัดเขมา
  • ท่าวัดค้างคาว
  • ท่าพิบูลสงคราม 1
  • ท่าพระราม 7
  • ท่าวัดสร้อยทอง
  • ท่าบางโพ
  • ท่าเกียกกาย
  • ท่าวัดฉัตรแก้วจงกลณี
  • ท่าเขียวไข่กา
  • ท่าวัดเทพากร
  • ท่าหน้าวัดราชาธิวาส
  • ท่ากรมชลประทาน
  • ท่าพายัพ
  • ท่าวัดเทพนารี
  • ท่าสะพานกรุงธน
  • ท่าวาสุกรี
  • ท่าวัดคฤหบดี
  • ท่าวัดบางกระเจ้านอก
  • ท่าเพชรหึงษ์
  • ท่าวัดคลองเตยนอก
  • ท่าวัดบางน้ำผึ้งนอก
  • ท่าบางนา (วัดบางนานอก)
  • ท่าตาเลื่อน (บางน้ำผึ้ง)
  • ท่าเภตรา (พระประแดง)
  • ท่าวิบูลย์ศรี (ปากน้ำ)
  • ท่าพระสมุทรเจดีย์

สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ

จังหวัดนครสวรรค์

จังหวัดชัยนาท

จังหวัดสิงห์บุรี

จังหวัดอ่างทอง

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดปทุมธานี

จังหวัดนนทบุรี

กรุงเทพมหานคร

จังหวัดสมุทรปราการ

การผลิตน้ำประปา

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของการประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่ภาคกลาง ส่วนเขตจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ รับผิดชอบโดยการประปานครหลวง โดยมีสถานีสูบน้ำดิบสำแล ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

การใช้เส้นทางทางน้ำในการพระราชพิธีทางชลมารค

ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 กรมเจ้าท่าได้ประกาศกำหนดควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการซ้อมรูปขบวนเรือพระราชพิธี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

สัตว์น้ำหายากที่พบ

  • วาฬบรูด้า[9]
  • ปลาทรงเครื่อง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (Labeo chrysophekadion) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาว มีขนาดเล็กกว่ามาก สีลำตัวสีแดงอ่อน ครีบหางสีแดงเข้ม มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 12 เซนติเมตร และยังเป็นปลาน้ำจืดเฉพาะถิ่นของไทย และพบได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเท่านั้น[10]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ
  2. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "แม่น้ำเจ้าพระยา ได้ชื่อ "เจ้าพระยา" จากเทวรูป พบที่คลองสำโรง สมุทรปราการ". มติชน.
  3. "คลองเก่าเล่าประวัติเมือง". สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. p. 120.
  4. การบันทึกน่าจะคลาดเคลื่อน เพราะในปีนั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชยังไม่ขึ้นครองราชย์
  5. "ข้อมูลท่าเทียบเรือ (สผง.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  6. "สถานที่ท่าสำคัญ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-21. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  8. เขื่อนเจ้าพระยา
  9. “ดร.ธรณ์” ฝากคนกรุงเทพฯ รักษาภาพ “วาฬบรูด้า” โผล่แม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยการลดใช้ถุงพลาสติก
  10. “ปลาทรงเครื่อง” ไม่ใช่อาหาร แต่เป็นปลาสวยงามสัญชาติไทย
  • จารุภัทร วิมุตเศรษฐ์. สะพานข้ามเจ้าพระยา. กรุงเทพมหานคร. 2553.

แหล่งข้อมูลอื่น