โปรวินเชียลลีก
ก่อตั้ง | 2542 |
---|---|
ยุติ | 2551 |
ประเทศ | ไทย |
จำนวนทีม | 60 ทีม |
ระดับในพีระมิด | 1 (2542-2548) 2 (2549-2550) 4 (2551) |
เลื่อนชั้นสู่ | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 |
ทีมชนะเลิศสุดท้าย | ไทยซัมมิท สมุทรปราการ (สมัยที่ 1) (2551) |
ชนะเลิศมากที่สุด | สุพรรณบุรี วอร์ริเออร์ (2 สมัย) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | สทท. |
โปรวินเชียลลีก (อังกฤษ: Provincial League) หรือรู้จักในชื่อสั้นว่า โปรลีก เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างจังหวัดจาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ จัดโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยทีมเข้าร่วม 60 ทีม จาก 5 ภูมิภาค เริ่มแข่งขันกันภายในภูมิภาค และผู้ชนะและรองผู้ชนะแต่ละภูมิภาคจะมาแข่งขันในรายการ แซตแชมเปียนชิพ (SAT Championship) และจะได้สิทธิในการไปร่วมเล่นในลีกฟุตบอล ไทยลีกดิวิชัน 2
ประวัติการแข่งขัน
โดยที่ในขณะนั้น ความนิยมในฟุตบอลลีกของไทยในเวลานั้น กระจายแค่อยู่ในวงจำกัดเพียงใน กรุงเทพมหานคร (ในปกติ ไทยลีก จะแข่งขันในสนามเป็นกลางหรือสนามเหย้าซึ่งส่วนใหญ่ ที่ตั้งจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล) ทำให้มีความพยายามที่จะส่งเสริมฟุตบอลลีกให้มีความนิยมในเขตภูมิภาคมากขึ้น โดยมีการหารือกัน ที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลลีก ตามแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติฉบับที่ 2 (2540 – 2544) ที่กำหนดไว้ในแผนงานหลักที่ 4 โดยสาระสำคัญ คือการพัฒนาฟุตบอลอาชีพในประเทศ ให้มีความนิยมในประเทศ และ สามารถพัฒนาเป็นกีฬาอาชีพได้[1]
ทำให้ ทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ทำการหารือกับ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยทาง จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (กำกับดูแลการกีฬาแห่งประเทศไทย) และ วรวีร์ มะกูดี (เลขาธิการสมาคมฯ) ได้เห็นชอบที่จะจัดโครงการลีกอาชีพนำร่อง โดยเชิญทีมจากจังหวัดต่างๆ ที่ได้รับการคัดสรรมาทำการแข่งขันในระบบ ลีก[1] โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า โปรวินเชียล ลีก ซึ่งทำการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 โดยทางฝ่ายจัดการแข่งขันกำหนดให้ในการแข่งขัน 3 ปีแรกจะไม่มีการตกชั้น[2]
จนกระทั่ง ปี 2546 จึงได้มีการแบ่งระดับการแข่งขัน โดย มี โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 1 (โปรลีก 1) และ โปรวินเชี่ยลลีก ดิวิชั่น 2 (โปรลีก 2) ซึ่งทีมท้ายตารางโปรลีก 1 จะถูกลดชั้นไปเล่นในโปรลีก 2 ในขณะเดียวกันทีมชนะเลิศจากโปรลีก 2 จะมีสิทธิร่วมเล่นใน โปรลีก 1 ด้านโปรลีก 2 จะมีการคัดเลือกทีมจังหวัด โดยแบ่งตามภูมิภาค 5 ภาคทั่วประเทศ โดยทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศในแต่ละภาค จำนวน 10 ทีม (2 ทีมจากแต่ละภูมิภาค) จะเข้ามาแข่งขันรอบสุดท้าย โดยมีลักษณะเหมือนกับ การแข่งขันฟุตบอลในกีฬาแห่งชาติ รอบคัดเลือก
ต่อมาในปี 2549 การกีฬาแห่งประเทศไทย และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้จัดการแข่งขันเอง และใช้ชื่อการแข่งขันว่า โปรเฟสชั่นนอล ลีก (โปรลีก) และได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ[3] ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีก ทั้ง โปรลีก และ ไทยลีก เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้โปรลีก แปรสภาพเป็นการแข่งขัน แซต แชมเปียนชิพ (SAT Championship) โดยมีลักษณะการแข่งขันคล้ายคลึงกับ โปรลีก 2 โดยที่ทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศ จะได้สิทธิในการไปร่วมเล่นในลีกฟุตบอล ไทยลีกดิวิชัน 2
ต่อมาเมื่อทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการปรับโครงสร้าง ไทยลีกดิวิชัน 2 ให้เป็น ลีกภูมิภาค ซึ่งเป็นไปตามบันทึกข้อตกลง จึงทำให้โปรลีก ถูกรวมเข้ากับลีกภูมิภาคในเวลาต่อมา
ทีมจังหวัดที่ชนะเลิศ
โปรลีก 1
โปรลีก 2
ฤดูกาล | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ |
---|---|---|
2547 | สตูล | พังงา |
2548 | พิษณุโลก | สกลนคร |
2549 | ราชบุรี | สมุทรสงคราม |
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 https://sites.google.com/site/konhagfootbool/home/xudrthani-f-c เก็บถาวร 2020-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สโมสรฟุตบอลอุดรธานี ยุคโปรลีก
- ↑ http://www.satununited.com/forum/redirect.php?tid=708&goto=lastpost[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://web.archive.org/web/20070202012321if_/http://www.fat.or.th:80/Download/SATMemo.doc บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ - เว็บไซต์เก่า ส.ฟ.ท.
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
- สถิติผลฟุตบอล จาก rsssf.com (อังกฤษ)
- รวมโลโก้สโมสรฟุตบอลยุคโปรลีก เก็บถาวร 2011-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน