โอลิมปิกฤดูร้อน 1984

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 23
เมืองเจ้าภาพลอสแอนเจลิส  สหรัฐ
คำขวัญPlay a Part in History
ประเทศเข้าร่วม140
นักกีฬาเข้าร่วม6,800 (ชาย 5,231; หญิง 1,569)
ชนิด221 รายการ ใน 21 ชนิดกีฬา (29 ชนิดย่อย)
พิธีเปิด28 กรกฎาคม 2527
พิธีปิด12 สิงหาคม 2527
ประธานพิธีเปิด
ผู้จุดคบเพลิง
ราเฟอร์ จอห์นสัน[1]
สนามกีฬาโคลิเซียมอนุสรณ์แห่งลอสแอนเจลิส
ฤดูร้อน
ฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูร้อน 1984

โอลิมปิกฤดูร้อน 1984 หรือ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 23 ซึ่งสหภาพโซเวียตได้คว่ำบาตรการแข่งขันในปีนี้ ไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน ส่วนหนึ่งเพื่อแก้คืนที่สหรัฐอเมริกา ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งก่อนที่กรุงมอสโก ในปี ค.ศ. 1980 ส่วนหนึ่งเป็นห่วงความปลอดภัยของนักกีฬาจากประเทศตน แต่บุคคลบางกลุ่มเชื่อว่าสหภาพโซเวียตเกรงว่านักกีฬาของตนจะไม่ผ่านการทดสอบสารกระตุ้น[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งจะทำให้ทั่วโลกรู้ถึงที่มาแห่งชัยชนะทางการกีฬาของตน[ต้องการอ้างอิง] นักกีฬาที่มีชื่อเสียงจากการแข่งขันในปีนี้ได้แก่ Carl Lewis จากสหรัฐอเมริกาโดยสามารถครอง 4 เหรียญทองจากการแข่งขัน Mary lou Retton ครองเหรียญทองยิมนาสติกมากที่สุด นอกจากนั้นยังมี Greg Louanis ซึ่งเป็นนักกีฬาคนแรกที่สามารถครองเหรียญทอง 2 เหรียญทองพร้อมกันจากการแข่งขัน Springbroad และ Platform diving

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

กีฬาสาธิต

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

การคว่ำบาตรการแข่งขัน

แผนที่แสดงประเทศคว่ำบาตรการแข่งขัน

เมื่อปี ค.ศ. 1980 นักกีฬาอเมริกันไม่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต เนื่องจากจิมมี คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาได้สั่งถอนนักกีฬาที่ไม่ร่วมการแข่งขัน แต่สหภาพโซเวียตก็คว่ำบาตรเช่นเดียวกัน โดยไม่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี ค.ศ. 1984 ที่ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา


สรุปเหรียญการแข่งขัน

ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 สหรัฐ 83 61 30 174
2 โรมาเนีย 20 16 17 53
3 เยอรมนีตะวันตก 17 19 23 59
4 จีน 15 8 9 32
5 อิตาลี 14 6 12 32
6 แคนาดา 10 18 16 44
7 ญี่ปุ่น 10 8 14 32
8 นิวซีแลนด์ 8 1 2 11
9 ยูโกสลาเวีย 7 4 7 18
10 เกาหลีใต้ 6 6 7 19

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Factsheet - Opening Ceremony of the Games of the Olympiad" (PDF) (Press release). International Olympic Committee. 9 October 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.