ไข้ซิกา

ไข้ซิกา
(Zika fever)
ชื่ออื่นโรคไวรัสซิกา, ซิกา, การติดเชื้อไวรัสซิกา
ผื่นที่พบในผู้ป่วยไข้ซิกา
การออกเสียง
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
อาการไข้, ตาแดง, ปวดข้อ, ปวดศีรษะ, ผื่น[1][2][3]
ภาวะแทรกซ้อนภาวะหัวเล็กเกินในทารก (หากมารดาติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์, กลุ่มอาการกิลแลงบาร์เร[4][5][6]
ระยะดำเนินโรคน้อยกว่า 1 สัปดาห์[2]
สาเหตุเชื้อไวรัสซิกา ส่วนใหญ่ติดผ่านพาหะคือยุง[2]
วิธีวินิจฉัยการตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลายเพื่อหาอาร์เอ็นเอของไวรัส หรือตรวจหาแอนติบอดีในเลือด[1][2]
โรคอื่นที่คล้ายกันชิคุนกุนยา, มาลาเรีย, ไข้เลือดออกเดงกี, โรคฉี่หนู, โรคหัด[7]
การป้องกันการป้องกันไม่ให้ยุงกัด, ถุงยางอนามัย[2][8]
การรักษาการรักษาประคับประคอง[2]
การเสียชีวิตการติดเชื้อเฉียบพลันไม่ทำให้เสียชีวิต[4]

ไข้ซิกา หรือโรคไวรัสซิกา เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสซิกา[1] ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยคล้ายกับไข้เดงกี[1][9] อาการมักคงอยู่ไม่เกินเจ็ดวัน[2] โดยอาการเหล่านี้เช่น ไข้ ตาแดง ปวดข้อ ปวดหัว ผื่นแดง เป็นต้น[1][3][2] ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้[9] ภาวะนี้สัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการกิลแลงบาร์เรอีกด้วย[9]

ไข้ซิกาติดต่อผ่านทางการถูกยุง Aedes เช่น ยุงลาย กัด[2] เป็นส่วนใหญ่ และยังอาจติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์และการถ่ายเลือด[2]ได้ด้วย เชื้ออาจติดต่อผ่านทางมารดาไปยังทารกและทำให้ทารกมีศีรษะเล็กได้[1][9] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจหา RNA ของไวรัสในเลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลายจากผู้ป่วย[1][2]

การป้องกันทำได้โดยการลดโอกาสการถูกยุงกัดในพื้นที่ที่มีการระบาด[2] ทำได้โดยการใช้สารไล่แมลง การปกคลุมร่างกาย การใช้มุ้ง และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเช่นในน้ำนิ่ง[1] ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ได้ผลดี[2] บุคลากรทางสาธารณสุขเริ่มให้คำแนะนำแก่คู่สามีภรรยาในพื้นที่ระบาดว่าให้ชะลอการมีบุตรออกไปก่อน และแนะนำให้สตรีมีครรภ์งดการเดินทางไปยังพื้นที่ระบาด[2][10] การรักษาทำได้ด้วยวิธีรักษาประคับประคอง ยังไม่มีการรักษาจำเพาะที่มีประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ยาแก้ปวดลดไข้เข่นพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ[2] ส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล[9]

ไวรัสนี้ถูกแยกได้สำเร็จครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1947[11] การระบาดในมนุษย์มีบันทึกไว้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2007 ในสหพันธรัฐไมโครนีเซีย[2] จนถึงมกราคม ค.ศ. 2016 มีการพบโรคนี้ในกว่า 20 พื้นที่ของสหรัฐอเมริกา[2] นอกจากนี้ยังพบได้ในแอฟริกา เอเชีย และในเขตแปซิฟิก[1] องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคนี้เป็นหัวข้อฉุกเฉินนานาชาติทางสุขภาพเมื่อกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 หลังจากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศบราซิลเมื่อ ค.ศ. 2015[12]

อาการและอาการแสดง

ผื่นที่แขนของผู้ป่วย

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย[13] อาการเหล่านี้ได้แก่ ไข้ ผื่น เยื่อบุตาอักเสบ (ตาแดง) ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ซึ่งคล้ายคลึงกับอาการของไข้เดงกีหรือไข้ชิคุนกุนยา[14] ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลของระยะฟักตัวที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าอยู่ที่ประมาณ 2-7 วัน[15] ผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการเหล่านี้มักไม่เป็นมากถึงขั้นที่ทำให้ผู้ป่วยเดินทางไปโรงพยาบาล[1][16]

เนื่องจากโรคนี้มีอาการคล้ายกับไข้เดงกี จึงมีความกังวลว่าผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติในลักษณะเดียวกันได้ อย่างไรก็ดีมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเช่นนี้เพียง 1 ราย โดยมีเลือดออกมากับน้ำอสุจิ[17]

กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร

พบว่าการติดเชื้อซิกามีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเกิดกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ซึ่งเป็นอาการอ่อนแรงเฉียบพลันที่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันตนเองไปทำลายเส้นประสาทส่วนปลาย จึงเกิดเป็นอาการอ่อนแรง[18] แม้จะมีการพบว่ามีผู้ป่วยบางรายป่วยจากกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรและติดเชื้อซิกาไปพร้อม ๆ กัน แต่ก็เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าการติดไวรัสซิกาเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร[19] หลายประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิการายงานว่ามีจำนวนผู้ป่วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่นในการระบาดของไวรัสซิกาในเฟรนช์โปลินีเซียเมื่อ ค.ศ. 2013-2014 มีรายงานผู้ป่วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร 42 ราย ในระยะเวลา 3 เดือน สูงกว่าที่พบในภาวะปกติ โดยพบเพียง 3-10 รายต่อปี[20]

ระหว่างการตั้งครรภ์

Microcephaly

เชื่อกันว่าโรคนี้สามารถถ่ายทอดจากมารดาไปยังทารกในครรภ์ได้ และทำให้ทารกมีศีรษะเล็ก[21] อย่างไรก็ดีกรณีเช่นนี้ยังมีรายงานตีพิมพ์ไม่มากนัก[22]

พฤศจิกายน 2558 กระทรวงสาธารณสุขบราซิลรายงานว่าตรวจพบความสัมพันธ์ระหว่างไวรัสซิกากับการเกิดภาวะศีรษะเล็กในทารกแรกเกิดในตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล อ้างอิงจากกรณีผู้ป่วยทารกสองรายที่มีภาวะศีรษะเล็กรุนแรง และผลการตรวจเจาะน้ำคร่ำพบมีไวรัสซิกาในน้ำคร่ำ[23][24][25][26] รายงานเมื่อ 5 มกราคม 2559 ระบุว่าผลการตรวจอัลตราซาวนด์ทารกสองรายนี้พบว่ามีศีรษะเล็กจากการที่เนื้อสมองบางส่วนถูกทำลาย[27] ในจำนวนนี้หนึ่งรายพบมีแคลเซียมจับในตาและมีตาเล็กด้วย กระทรวงฯ ของบราซิลได้รายงานยืนยันในเวลาต่อมาว่ากรณีที่เคยมีข้อสังเกตถึงความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อซิกาและการเกิดทารกมีศีรษะเล็กนั้นมีความสัมพันธ์กันจริง โดยตรวจพบผู้ป่วยทารกแรกเกิดมีศีรษะเล็ก 2,400 รายในประเทศใน พ.ศ. 2558 นับจนถึง 12 ธันวาคม และเสียชีวิต 29 ราย[28][29][30][31]

สาเหตุ

แหล่งสะสมเชื้อ

ไวรัสซิกาเป็นไวรัสในกลุ่มฟลาวิไวรัสซึ่งติดต่อโดยมียุงเป็นพาหะ มีความใกล้เคียงกับไวรัสเดงกีที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก เชื้อนี้มียุงเป็นพาหะ แต่สัตว์ที่เป็นแหล่งกักเก็บเชื้อนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ทราบเพียงแต่ว่ามีการค้นพบหลักฐานทางวิทยาอิมมูนในลิงและสัตว์ฟันแทะในแอฟริกาตะวันตก

การติดต่อ

โรคนี้ติดต่อผ่านการถูกยุงในจีนัส Aedes (เช่น ยุงลายบ้าน Aedes aegypti) ที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้ยังพบเชื้อนี้ในยุงอื่นๆ เช่น Aedes africanus, Aedes apicoargenteus, Aedes luteocephalus[32], Aedes albopictus[33][34], Aedes vittatus, และ Aedes furcifer[35] การระบาดที่เกาะแยพเมื่อ ค.ศ. 2007 เกิดโดยมียุง Aedes hensilli เป็นพาหะ ในขณะที่การระบาดในเฟรนช์โพลินิเซียเมื่อ ค.ศ. 2013 เกิดโดยมียุง Aedes polynesiensis เป็นพาหะ[36]

อ้างอิง

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Zika virus". WHO. January 2016. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 Chen, LH; Hamer, DH (2 February 2016). "Zika Virus: Rapid Spread in the Western Hemisphere". Annals of internal medicine. PMID 26832396. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-03. สืบค้นเมื่อ 2016-02-05.
  3. 3.0 3.1 Musso, D.; Nilles, E.J.; Cao-Lormeau, V.-M. (2014). "Rapid spread of emerging Zika virus in the Pacific area". Clinical Microbiology and Infection. 20 (10): O595–6. doi:10.1111/1469-0691.12707. PMID 24909208.
  4. 4.0 4.1 คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name ecdc1 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  5. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name NEJM201604 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  6. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name CDC2016Cause cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  7. Bope, Edward T.; Kellerman, Rick D. (2016). Conn's Current Therapy 2017 E-Book (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 635. ISBN 9780323443357. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  8. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name CDC2016 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "Factsheet for health professionals". ecdc.europa.eu. สืบค้นเมื่อ 22 December 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "EU2015" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  10. "Brazil warns against pregnancy due to spreading virus - CNN.com". CNN. สืบค้นเมื่อ 24 December 2015.
  11. Haddow, AD; Schuh, AJ; Yasuda, CY; Kasper, MR; Heang, V; Huy, R; Guzman, H; Tesh, RB; Weaver, SC (2012). "Genetic characterization of Zika virus strains: geographic expansion of the Asian lineage". PLoS neglected tropical diseases. 6 (2): e1477. PMID 22389730.
  12. "WHO Director-General summarizes the outcome of the Emergency Committee regarding clusters of microcephaly and Guillain-Barré syndrome". WHO. 1 February 2016. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
  13. "Symptoms, Diagnosis, & Treatment of Zika Virus". Zika Virus Home. Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 29 April 2016.
  14. Heang, Vireak; Yasuda, Chadwick Y.; Sovann, Ly; และคณะ (2012). "Zika Virus Infection, Cambodia, 2010". Emerging Infectious Diseases. 18 (2): 349–351. doi:10.3201/eid1802.111224. ISSN 1080-6040. PMC 3310457. PMID 22305269. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-18. สืบค้นเมื่อ 2016-09-03.
  15. "Signs and Symptoms". Zika virus home. Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
  16. Sikka, Veronica; Chattu, Vijay Kumar; Popli, Raaj K.; และคณะ (11 February 2016). "The emergence of zika virus as a global health security threat: A review and a consensus statement of the INDUSEM Joint working Group (JWG)". Journal of Global Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). 8 (1): 3–15. doi:10.4103/0974-777X.176140. ISSN 0974-8245.
  17. Foy, Brian D.; Kobylinski, K.C.; Foy, J.L.C.; และคณะ (2011). "Probable Non–Vector-borne Transmission of Zika Virus, Colorado, USA". Emerging Infectious Diseases. 17 (5): 880–882. doi:10.3201/eid1705.101939. ISSN 1080-6040. PMC 3321795. PMID 21529401. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2016-09-03.
  18. Oehler, E; Watrin, L; Larre, P; และคณะ (2014). "Zika virus infection complicated by Guillain-Barré syndrome – case report, French Polynesia, December 2013". Eurosurveillance. 19 (9): 20720. doi:10.2807/1560-7917.ES2014.19.9.20720. ISSN 1560-7917.
  19. "Guillain-Barré syndrome Q & A". Centers for Disease Control and Prevention. 8 February 2016. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
  20. Cao-Lormeau, Van-Mai; Blake, Alexandre; Mons, Sandrine; และคณะ (2016). "Guillain-Barré Syndrome outbreak associated with Zika virus infection in French Polynesia: a case-control study". The Lancet. 387: 1531–1539. doi:10.1016/S0140-6736(16)00562-6. ISSN 0140-6736.
  21. Schnirring, Lisa (30 November 2015). "Zika virus spreads to more countries". Center for Infectious Disease Research and Policy, U. of Minnesota Academic Health Center. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
  22. Duffy, M.R.; Chen, T.H.; Hancock, W.T.; Powers, A.M.; Kool, J.L.; Lanciotti, R.S.; Pretrick, M.; Marfel, M.; Holzbauer, S.; Dubray, C.; Guillaumot, L.; Griggs, A.; Bel, M.; Lambert, A.J.; Laven, J.; Kosoy, O.; Panella, A.; Biggerstaff, B.J.; Fischer, M.; Hayes, E.B. (2009). "Zika Virus Outbreak on Yap Island, Federated States of Micronesia". New England Journal of Medicine. 360 (24): 2536–43. doi:10.1056/NEJMoa0805715. PMID 19516034.
  23. "News - Microcephaly in Brazil potentially linked to the Zika virus epidemic, ECDC assesses the risk". European Centre for Disease Prevention and Control. 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
  24. Alexandra Sims. "Zika virus: Health alerts in South America and Caribbean following fears illness may cause birth deformities | Americas | News". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
  25. "Brazil reports 739 suspected microcephaly cases in nine states". Agenciabrasil.ebc.com.br. 2015-11-24. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
  26. "Ministério da Saúde divulga boletim epidemiológico". Portal da Saúde – Ministério da Saúde – www.saude.gov.br. สืบค้นเมื่อ 16 January 2016.
  27. Oliveira Melo, A. S.; Malinger, G.; Ximenes, R.; Szejnfeld, P. O.; Alves Sampaio, S.; Bispo de Filippis, A. M. (1 January 2016). "Zika virus intrauterine infection causes fetal brain abnormality and microcephaly: tip of the iceberg?". Ultrasound in Obstetrics & Gynecology. 47 (1): 6–7. doi:10.1002/uog.15831. ISSN 1469-0705. PMID 26731034.
  28. (In Portuguese) Governo confirma relação entre zika vírus e epidemia de microcefalia, BBC
  29. Blount, Jeb (2015-11-28). "Brazil confirms zica virus link to fetal brain-damage outbreak". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
  30. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name :3 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  31. "País registra 1.248 casos de microcefalia e sete mortes; maioria em PE - Notícias - Saúde". Noticias.uol.com.br. 2015-11-30. สืบค้นเมื่อ 2016-02-04.
  32. "Aedes luteocephala". Medically Important Mosquitoes. Walter Reed Biosystematics Unit. สืบค้นเมื่อ 1 February 2016.
  33. Grard, G; Caron, M; Mombo, I M; Nkoghe, D; Ondo, S M; Jiolle, D; Fontenille, D; Paupy, C; Leroy, E M (2014). "Zika Virus in Gabon (Central Africa) – 2007: A New Threat from Aedes albopictus ?". PLOS Negl Trop Dis. 8 (2): e2681. doi:10.1371/journal.pntd.0002681. ISSN 1935-2735. PMC 3916288. PMID 24516683.
  34. Wong, PJ; Li, M I; Chong, C; Ng, L; Tan, C (2013). "Aedes ( Stegomyia ) albopictus (Skuse): A Potential Vector of Zika Virus in Singapore". PLOS Negl Trop Dis. 7 (8): e2348. doi:10.1371/journal.pntd.0002348. ISSN 1935-2735. PMC 3731215. PMID 23936579.
  35. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name Hayes2009 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  36. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name :5 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก