ไถจง

นครไถจง

臺中市[a]
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ทิวทัศน์เมืองไถจง, สถานีรถไฟไถจง, สนามกีฬาเบสบอลไถจงอินเตอร์คอนติเนนตัล, ทิวเขาหนานหู, ฟาร์มกังหันลมในไถจง, โบสถ์น้อยลูซเมโมเรียล, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ทิวทัศน์เมืองไถจง, สถานีรถไฟไถจง, สนามกีฬาเบสบอลไถจงอินเตอร์คอนติเนนตัล, ทิวเขาหนานหู, ฟาร์มกังหันลมในไถจง, โบสถ์น้อยลูซเมโมเรียล, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ
ธงของนครไถจง
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของนครไถจง
ตรา
ที่มาของชื่อ: ญี่ปุ่น: 台中 , โรมาจิ:Taichū
ความหมาย: ไต้หวันกลาง
สมญา: 
เมืองแห่งวัฒนธรรม (文化城)
ที่ตั้งของนครไถจง
พิกัด: 24°09′N 120°40′E / 24.150°N 120.667°E / 24.150; 120.667พิกัดภูมิศาสตร์: 24°09′N 120°40′E / 24.150°N 120.667°E / 24.150; 120.667
รัฐ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
จัดตั้งเป็นนครปกครองโดยตรงพ.ศ. 2553 (ปีสาธารณรัฐที่ 99)
ที่ตั้งศาลาว่าการอำเภอซีถุน
อำเภอ
29
  • จง
  • ตง
  • หนาน
  • ซี
  • เป่ย์
  • ซีถุน
  • หนานถุน
  • เป่ย์ถุน
  • เฟิงเอวียน
  • ตงซือ
  • ต้าเจี่ย
  • ชิงสุ่ย
  • ซฺลู่
  • อู๋ชี
  • โฮ่วหลี่
  • เสินกัง
  • ถานจื่อ
  • ต้าหย่า
  • ซินเซฺอ
  • ซือกัง
  • ไว่ปู่
  • ต้าอัน
  • วูหรื่อ
  • ต้าตู้
  • หลงฉิ่ง
  • วู่เฟิง
  • ไท่ผิง
  • ต้าหลี่
  • เหอผิง (อำเภอชนพื้นเมืองภูเขา)
การปกครอง
 • องค์กร
  • เทศบาลนครไถจง
  • สภานครไถจง
 • นายกเทศมนตรีหลู เซี่ยวเยี่ยน (盧秀燕) (ก๊กมินตั๋ง)
พื้นที่[1][2]
 • นครปกครองโดยตรง2,214.90 ตร.กม. (855.18 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง492 ตร.กม. (190 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่6 จาก 22
ประชากร
 (มกราคม 2023)[3]
 • นครปกครองโดยตรง2,819,798 คน
 • อันดับ2 จาก 22
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,300 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[4]2,635,000 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง5,400 คน/ตร.กม. (14,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานไต้หวัน (國家標準時間))
รหัสไปรษณีย์400-439
รหัสพื้นที่(0)4
รหัส ISO 3166TW-TXG
นกสัญลักษณ์นกหางรำแก้มขาว (白耳画眉 , Heterophasia auricularis)[5]
ดอกไม้สัญลักษณ์เชอร์รีญี่ปุ่น (山樱花 , Prunus serrulata)[5]
ต้นไม้สัญลักษณ์สนขาวไต้หวัน (台湾五叶松 , Pinus morrisonicola)[5]
เว็บไซต์english.taichung.gov.tw
นครไถจง
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม臺中
อักษรจีนตัวย่อ台中
ความหมายตามตัวอักษร"Tai[wan] Central"
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ台中市
คีวจิไต臺中市
คานะたいちゅうし

นครไถจง (จีนตัวย่อ: 台中市; จีนตัวเต็ม: 臺中市; อังกฤษ: Taichung City) เป็นนครปกครองโดยตรงในภาคกลางของไต้หวัน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 มีประชากรราว 2.8 ล้านคน นับเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่สองของไต้หวัน[6] ทั้งเป็นแกนกลางของเขตมหานครไถจง–จางฮว่า (台中彰化都會區) ซึ่งเป็นเขตมหานครที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ นครในปัจจุบันนั้นตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ด้วยการรวมเทศมณฑลไถจง (臺中縣) เข้ากับนครไถจงเดิมเพื่อเป็นนครปกครองโดยตรงแห่งใหม่[7]

นครไถจงตั้งอยู่ ณ แอ่งไถจง (臺中盆地) ชื่อ "ไถจง" อันแปลว่า "ไต้หวันกลาง" นั้นตั้งขึ้นในช่วงที่ญี่ปุ่นครองไต้หวัน นครนี้ยังมีสมญาว่า "เกียวโตแห่งฟอร์โมซา" (Kyoto of Formosa) เพราะสงบเงียบและงดงามดั่งนครเกียวโตของญี่ปุ่น[8] เดิมนครไถจงประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งกระจัดกระจาย แต่ญี่ปุ่นตั้งใจจะรวมเข้าเป็นนครเพื่อพัฒนา ทำให้ท้องที่นี้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมหลักในเวลาต่อมา[9] นครนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ทางวัฒนธรรมหลายแห่ง รวมถึงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (國立自然科學博物館), พิพิธภัณฑ์ศิลปากรแห่งชาติไต้หวัน (國立臺灣美術館), โรงละครแห่งชาติไถจง (台中國家歌劇院), หอสมุดข้อมูลข่าวสารสาธารณะแห่งชาติ (國立公共資訊圖書館), วงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งชาติไต้หวัน (國立臺灣交響樂團), สวนสาธารณะไถจง (臺中公園), บ้านสวนอู้เฟิงหลิน (霧峰林家宅園), และวัดมากมาย

เขิงอรรถ

ชื่อในสำเนียงท้องถิ่น

อ้างอิง

  1. "《中華民國統計資訊網》縣市重要統計指標查詢系統網" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
  2. "Demographia World Urban Areas PDF (April 2016)" (PDF). Demographia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
  3. 各區人口結構 [Population structure by district]. demographics.taichung.gov.tw (ภาษาจีนตัวเต็ม). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-30. สืบค้นเมื่อ 2019-08-08.
  4. "Demographia World Urban Areas PDF" (PDF). Demographia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-03. สืบค้นเมื่อ 2019-11-30.
  5. 5.0 5.1 5.2 "市樹、花、鳥介紹" (ภาษาจีน). 臺中市: 臺中市政府農業局. 2014-06-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
  6. "民國106年7月戶口統計資料分析". Ministry of the Interior, ROC. 2017-08-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-13. สืบค้นเมื่อ 2018-12-20.
  7. "臺中市政府全球資訊網-認識臺中-歷史沿革". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-01-22.
  8. 南進台湾. Documentary dated in 1940 (โรมาจิ: Nanshin Taiwan) – via Youtube.
  9. Taichung History Map Walk, publish by Center for Digital Cultures,Academia Sinica,2017,p.23. ISBN 9789860546279.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นครไถจง
  • คู่มือการท่องเที่ยว Taichung จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
  • Taichung City Government official website – ในภาษาจีน