ไพไรต์
ไพไรต์ | |
---|---|
ผลึกลูกบาศก์ของไพไรต์ | |
การจำแนก | |
ประเภท | แร่ซัลไฟด์ |
สูตรเคมี | FeS2 |
คุณสมบัติ | |
มวลโมเลกุล | 119.98 g/mol |
สี | สีเหลืองอ่อนสะท้อนแสง; เมื่อหมองมีสีเข้มขึ้นและมีสีเหลือบ |
รูปแบบผลึก | ลูกบาศก์, ผิวหน้าอาจมีรอยริ้วขนาน มักพบเป็นแปดด้านและ pyritohedral, ทรงกลมละเอียด เป็นประกาย |
โครงสร้างผลึก | ไอโซเมตริก |
การเกิดผลึกแฝด | Penetration and contact twinning |
แนวแตกเรียบ | Indistinct on {001}; partings on {011} and {111} |
รอยแตก | ไม่สม่ำเสมอ บางครั้งแตกแบบฝาหอย |
ความยืดหยุ่น | เปราะ |
ค่าความแข็ง | 6–6.5 |
ความวาว | วาวแบบโลหะ |
สีผงละเอียด | สีดำเขียว ถึงสีดำน้ำตาล |
ความถ่วงจำเพาะ | 4.95–5.10 |
ความหนาแน่น | 4.8–5 g/cm3 |
การหลอมตัว | 2.5–3 to a magnetic globule |
สภาพละลายได้ | ไม่ละลายน้ำ |
ความโปร่ง | ทึบแสง |
คุณสมบัติอื่น | พาราแมกเนติก |
อ้างอิง: [1][2][3][4] |
ไพไรต์ (อังกฤษ: pyrite) คือผลึกแร่โลหะชนิดที่มีสีเหลืองอร่าม คำว่าไพไรต์มาจากภาษากรีก ที่มีความหมายว่าไฟ (pyr-)[5] เหตุที่เรียกว่าไฟก็เนื่องมาจากไพไรต์เมื่อนำไปกระทบกับเหล็กแรง ๆ จะทำให้เกิดประกายไฟออกมา ประโยชน์ของไพไรต์ส่วนใหญ่จะนิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับ หรือนำไปเป็นส่วนผสมในการทำกรดกำมะถัน เนื่องจากไพไรต์มีสีเหลืองอร่ามจนดูคล้ายกับทองคำ จึงมักจะทำให้ผู้ที่พบเห็นเข้าใจผิดอยู่เสมอว่ามันคือทองคำ จนได้ฉายาว่า "ทองคนโง่" (Fool's Gold)[6]
ประวัติ
สาเหตุที่ไพไรต์มีอีกชื่อคือทองคนโง่ มาจากเซอร์ มาร์ติน โฟรบิเชอร์ นักสำรวจชาวอังกฤษพบหินสีดำที่เป็นประกายบนเกาะ Kodlunarn ในประเทศแคนาดาในปัจจุบันและเชื่อว่าเป็นทองคำ ในค.ศ. 1577 โฟรบิเชอร์ที่ได้รับเงินสนับสนุนกลับมาที่แคนาดาและตั้งเหมืองเพื่อขุดแร่นี้ ปีต่อมาสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษพระราชทานเงินแก่โฟรบิเชอร์เพื่อสนับสนุนการเดินทางไปที่แคนาดาอีกครั้ง โดยในการเดินทางครั้งนี้โฟรบิเชอร์บรรทุกหินมากว่า 1400 ตัน แต่เมื่อนำหินไปสกัดแร่ กลับพบว่าหินเหล่านี้เป็นหินกลุ่มแอมฟิบอไลต์และไพรอกซีไนต์ที่ไม่มีค่า ที่สุดแล้วหินเหล่านี้ถูกนำไปทำเป็นถนน[7]
คุณสมบัติทางฟิสิกส์
ไพไรต์เป็นแร่ในกลุ่มซัลไฟด์ มีสูตรเคมีคือ FeS2 มีโครงสร้างผลึกแบบลูกบาศก์ มีความหนาแน่น 4.8–5 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร ความถ่วงจำเพาะ 4.95–5.10 และค่าความแข็งตามมาตราโมส 6–6.5
ความเชื่อ
มีความเชื่อในประเทศไทยว่าไพไรต์เป็นวัตถุมงคลที่มีอำนาจในการป้องกันสิ่งชั่วร้าย เรียกว่า ข้าวตอกพระร่วง[8]
อ้างอิง
- ↑ Hurlbut, Cornelius S.; Klein, Cornelis (1985). Manual of Mineralogy (20th ed.). New York, NY: John Wiley and Sons. pp. 285–286. ISBN 978-0-471-80580-9.
- ↑ "Pyrite". Webmineral.com. สืบค้นเมื่อ 2011-05-25.
- ↑ "Pyrite". Mindat.org. สืบค้นเมื่อ 2011-05-25.
- ↑ Anthony, John W.; Bideaux, Richard A.; Bladh, Kenneth W.; Nichols, Monte C., บ.ก. (1990). "Pyrite" (PDF). Handbook of Mineralogy. Vol. I (Elements, Sulfides, Sulfosalts). Chantilly, VA, US: Mineralogical Society of America. ISBN 978-0962209734.
- ↑ "pyrite - Definition & Meaning". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ September 8, 2021.
- ↑ Pappas, Stephanie (June 29, 2021). "Fool's gold not completely worthless. There's real gold inside". Live Science. สืบค้นเมื่อ September 8, 2021.
- ↑ Hunter, Dana (April 1, 2015). "Famous Fools for Fool's Gold". Scientific American Blog Network. สืบค้นเมื่อ September 8, 2021.
- ↑ "ของดีหายาก "ข้าวตอกพระร่วง-ข้าวก้นบาตรพระร่วง" หินศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงสุโขทัย" [A rare good item "Khao tok Phra Ruang - Khao khon bat Phra Ruang", a sacred stone of Sukhothai kingdom]. Komchadluek. 2021-02-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.
อ่านเพิ่ม
- American Geological Institute, 2003, Dictionary of Mining, Mineral, and Related Terms, 2nd ed., Springer, New York, ISBN 978-3-540-01271-9.
- David Rickard, Pyrite: A Natural History of Fool's Gold, Oxford, New York, 2015, ISBN 978-0-19-020367-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Educational article about the famous pyrite crystals from the Navajun Mine
- How Minerals Form and Change "Pyrite oxidation under room conditions".
- Poliakoff, Martyn (2009). "Fool's Gold". The Periodic Table of Videos. University of Nottingham.