ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์
ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ | |
---|---|
งานศิลปะบรรจุภัณฑ์เวอร์ชันอเมริกาเหนือ | |
ผู้พัฒนา | สแควร์ |
ผู้จัดจำหน่าย | |
กำกับ | ยาซูมิ มัตสึโนะ |
อำนวยการผลิต | ฮิโรโนบุ ซากางูจิ |
ออกแบบ | ฮิโรยูกิ อิโต |
โปรแกรมเมอร์ | ทากุ มูราตะ |
ศิลปิน |
|
เขียนบท | ยาซูมิ มัตสึโนะ |
แต่งเพลง |
|
ชุด |
|
เครื่องเล่น | เพลย์สเตชัน |
วางจำหน่าย |
|
แนว | เล่นตามบทบาทเชิงยุทธวิธี |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์[a] เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทเชิงยุทธวิธี ค.ศ. 1997 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทสแควร์สำหรับเครื่องเล่นวิดีโอเกมเพลย์สเตชัน เกมดังกล่าวออกจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997 และในสหรัฐเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1998 โดยบริษัทโซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งถือเป็นเกมแรกในซีรีส์แทกติกส์ในแฟรนไชส์ไฟนอลแฟนตาซี และเป็นเกมภาคแรกที่ดำเนินเรื่องในโลกสมมติที่ภายหลังรู้จักกันในชื่ออิวาลิซ เรื่องราวของเกมนี้กล่าวถึงแรมซา โบล์ฟ นักเรียนทหารผู้มีตระกูลสูงศักดิ์ที่ถูกส่งไปอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางทหารที่เรียกว่าสงครามราชสีห์ ซึ่งกลุ่มขุนนางสองฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กันนั้นต่างก็หมายมั่นที่จะครอบครองบัลลังก์ของอาณาจักร
การผลิตเกมนี้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1995 โดยยาซูมิ มัตสึโนะ ซึ่งเป็นผู้มาใหม่ที่สร้างซีรีส์โอเกอร์แบตเทิลที่บริษัทเควสต์คอร์ปอเรชัน ความปรารถนาของมัตสึโนะคือเกมแนววางแผนที่เข้าถึงได้และมีเนื้อเรื่องที่เน้นความขัดแย้งตามชนชั้นและการเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ มัตสึโนะทำหน้าที่เป็นผู้กำกับและเขียนบท ส่วนฮิโรโนบุ ซากางูจิ ผู้สร้างไฟนอลแฟนตาซีเป็นผู้อำนวยการผลิต และฮิโรยูกิ อิโต เป็นผู้ออกแบบการต่อสู้ นอกจากนี้ มีพนักงานอีกหลายคนเป็นผู้ได้ทำงานจากซีรีส์โอเกอร์แบตเทิลมานาน ซึ่งรวมถึงศิลปินอย่างฮิโรชิ มินางาวะ และอากิฮิโกะ โยชิดะ ตลอดจนนักแต่งเพลงอย่างฮิโตชิ ซากิโมโตะ และมาซาฮารุ อิวาตะ
เกมดังกล่าวได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์จากนิตยสารและเว็บไซต์เกม รวมทั้งกลายเป็นเกมคัลต์คลาสสิกนับตั้งแต่เปิดตัว เกมนี้มียอดจำหน่ายประมาณ 1.24 ล้านหน่วยในประเทศญี่ปุ่นช่วงระหว่าง ค.ศ. 1997 และมากกว่า 2.4 ล้านหน่วยทั่วโลกเมื่อถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 ตลอดจนได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในวิดีโอเกมยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล โดยโลกของอิวาลิซได้รับการสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นฉากหลังของเกมอื่น ๆ อีกหลายเกม รวมถึงเกมภาคแทกติกส์อื่น ๆ และเกมไฟนอลแฟนตาซี XII ซึ่งเป็นภาคหลักที่ออกจำหน่ายใน ค.ศ. 2006 ส่วนไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์: เดอะวอร์ออฟเดอะไลออนส์ ซึ่งเป็นพอร์ตที่ปรับปรุงใหม่ของไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 2007 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอิวาลิซอัลไลแอนซ์
รูปแบบการเล่น
ไฟนอลแฟนตาซี แทกติกส์ เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทเชิงยุทธวิธีซึ่งผู้เล่นจะได้ติดตามเรื่องราวของตัวเอกที่ชื่อแรมซา โบล์ฟ[1] เกมดังกล่าวมีโหมดการเล่นสองโหมดคือโหมดยุทธการและแผนที่โลก[2] โหมดยุทธการจะเกิดขึ้นบนสมรภูมิแบบสามมิติและไอโซเมตริก[1] บรรดาตัวละครจะเคลื่อนที่ไปบนสมรภูมิที่ประกอบด้วยสิ่งที่คล้ายแผ่นกระเบื้องสี่เหลี่ยม ซึ่งระยะการเคลื่อนที่และการกระทำจะกำหนดโดยสถิติและคลาสอาชีพของตัวละครนั้น[3] สมรภูมิดังกล่าวยังคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ภูมิประเทศและสภาพอากาศ เพื่อกำหนดข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบเชิงกลยุทธ์ในระหว่างการปะทะกัน[4] ส่วนยุทธการจะเป็นแบบเทิร์นเบส โดยแต่ละยูนิตจะปฏิบัติการได้เมื่อเวลาในการชาร์จ (CT) ถึง 100 และเพิ่มขึ้นทุก ๆ หนึ่งครั้งต่อทุกเวลาในการชาร์จยูนิต (หน่วยวัดเวลาในการต่อสู้) ในจำนวนที่เท่ากับสถิติความเร็วของยูนิตนั้น[5] ซึ่งในระหว่างการต่อสู้ เมื่อใดก็ตามที่ยูนิตดำเนินการสำเร็จ ยูนิตนั้นก็จะได้รับค่าประสบการณ์ (EXP) และค่าจ็อบ (JP)[1] การกระทำอาจรวมถึงการโจมตีด้วยเวทมนตร์, การโจมตีทางกายภาพ หรือการใช้ไอเทม[5][6] ผู้เล่นยังสามารถมองเห็นค่าพลังชีวิต (HP) ของยูนิตศัตรูได้ (ยกเว้นในกรณีของบอสบางตัว) ซึ่งทำให้ผู้เล่นรู้ว่าตนเองยังต้องสร้างความเสียหายต่อยูนิตนั้น ๆ อีกเท่าใด[7]
ส่วนในแผนที่โลก ผู้เล่นจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้แล้วซึ่งเชื่อมต่อเมืองและจุดรบ โดยเมื่อไอคอนตัวละครอยู่เหนือเมืองหนึ่ง จะสามารถเปิดเมนูที่มีตัวเลือกต่าง ๆ ได้ดังนี้: "บาร์" สำหรับรับข้อเสนองานเควสต์รอง, "ร้านค้า" สำหรับซื้อเสบียงและอุปกรณ์ และ "สำนักงานทหาร" สำหรับการสรรหาตัวละครใหม่ รวมถึงในช่วงท้ายเกม เมืองบางเมืองจะมี "ร้านขายขนสัตว์" ที่ให้ผู้เล่นได้รับไอเทมต่าง ๆ โดยการล่าบรรดามอนสเตอร์[8] ส่วนการต่อสู้แบบสุ่มจะเกิดขึ้นในตำแหน่งที่กำหนดไว้ล่วงหน้าบนแผนที่ โดยจะทำเครื่องหมายเป็นสีเขียว[8] ซึ่งการผ่านจุดใดจุดหนึ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการเผชิญหน้าโดยการสุ่ม[9]
ภาคแทกติกส์มีระบบคลาสตัวละครที่ให้ผู้เล่นสามารถปรับแต่งตัวละครให้เป็นบทบาทต่าง ๆ ได้ ซึ่งเกมนี้นำคลาสตัวละครดั้งเดิมส่วนใหญ่จากเกมไฟนอลแฟนตาซีในภาคก่อน ๆ มาใช้ ได้แก่ ผู้ใช้มนตร์อสูร, พ่อมด (มนตร์ดำ), นักบวช (มนตร์ขาว), พระ, นักรบมังกร (หอก) และจอมโจร[10] ส่วนบรรดาทหารใหม่จะเริ่มต้นในฐานะทหารฝึกหัดหรือพ่อค้า ซึ่งเป็นคลาสพื้นฐานสำหรับตำแหน่งนักรบและจอมเวทตามลำดับ โดยเกมนี้มีถึงยี่สิบอาชีพที่ตัวละครปกติสามารถเข้าถึงได้[10]
หมายเหตุ
- ↑ ファイナルファンタジータクティクス Fainaru Fantajī Takutikusu
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Kasavin, Greg (February 23, 1998). "Final Fantasy Tactics for PlayStation Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2007. สืบค้นเมื่อ April 24, 2007.
{cite web}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ Square Electronic Arts, บ.ก. (1997). Final Fantasy Tactics North American instruction manual. Square Electronic Arts. pp. 12, 21. SCUS-94221.
- ↑ Square Electronic Arts, บ.ก. (1997). Final Fantasy Tactics North American instruction manual. Square Electronic Arts. pp. 12–13. SCUS-94221.
- ↑ J. Boogle (January 1998). "Final Fantasy Tactics". GamePro. No. 112. IDG. p. 122.
- ↑ 5.0 5.1 Edge Staff (May 21, 2013). "Final Fantasy Tactics Review". Edge Online. Future Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2013. สืบค้นเมื่อ March 11, 2016.
- ↑ IGN Staff (May 12, 2012). "Final Fantasy Tactics". IGN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2004. สืบค้นเมื่อ September 25, 2021.
- ↑ Square Electronic Arts, บ.ก. (1997). Final Fantasy Tactics North American instruction manual. Square Electronic Arts. pp. 10–11. SCUS-94221.
- ↑ 8.0 8.1 Square Electronic Arts, บ.ก. (1997). Final Fantasy Tactics North American instruction manual. Square Electronic Arts. pp. 21–23. SCUS-94221.
- ↑ Square Electronic Arts, บ.ก. (1997). Final Fantasy Tactics North American instruction manual. Square Electronic Arts. p. 16. SCUS-94221.
- ↑ 10.0 10.1 Square Electronic Arts, บ.ก. (1997). Final Fantasy Tactics North American instruction manual. Square Electronic Arts. pp. 23–26. SCUS-94221.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Official website at Square Enix America (archive)
- Official website at PlayStation.com (archive)