ไลต์โนเวล

ไลต์โนเวล (ญี่ปุ่น: ライトノベルโรมาจิraito noberu) ย่อว่า LN หมายถึงนิยายประเภทหนึ่งจากประเทศญี่ปุ่น เป็นนิยายสำหรับวัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนมัธยมปลาย ไลต์โนเวลหนึ่งเล่มมีความยาว 50,000 คำ[1] ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับเกณฑ์ขั้นต่ำของนวนิยายตะวันตก[2] ไลต์โนเวลนิยมตีพิมพ์ด้วยรูปเล่มขนาด A5

รูปแบบในการเขียน

ในประเทศญี่ปุ่น ไลต์โนเวล แบบ "ต้นตำรับ" นั้นได้มีการนำการใช้ฟุริงะนะเข้ามาใช้เป็นอย่างมากด้วยสองเหตุผล หนึ่งคือสำหรับนักอ่านวัยเยาว์ที่ยังไม่ชำนาญในตัวอักษรคันจิให้สามารถเข้าใจในเนื้อหาได้ สองคือในหลาย ๆ เรื่องของ ไลต์โนเวล ผู้เขียนมักจะสร้างคำอ่านฟุริงะนะขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่สามารถพบเห็นได้ในการใช้ภาษาญี่ปุ่นทั่ว ๆ ไป

ในการเขียนไลต์โนเวลนั้น จะใช้เพียงแค่ประโยคสั้น ๆ ในหนึ่งย่อหน้ามีเพียงแค่ 1 หรือ 2 ประโยคเท่านั้น ซึ่งทำให้การอ่านเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะมีลักษณะโดยรวมดังนี้

  1. พล็อตเรื่อง มีการวางพล๊อตที่มีส่วนคล้ายเกมส์หรือการ์ตูนอยู่มาก และมักมีกลิ่นของแฟนตาซีปะปนอยู่เสมอ
  2. ภาษาเข้าใจง่าย ดำเนินเรื่องไว มีตัวหนังสือน้อย กระชับฉับไว ไม่เน้นบรรยายหรือประโยคยืดยาวให้น่ารำคาญ
  3. ภายในรูปเล่มมีภาพประกอบแบบการ์ตูน-คอมมิคแทรกเป็นระยะ ๆ

ความสัมพันธ์กับภาพยนตร์อนิเมะ

ด้วยความสามารถของหนังสือประเภท "ไลต์โนเวล" ที่โด่งดังในกลุ่มนั้นมีบ้างเรื่องที่สามารถ สร้างกระแสจนกลายเป็น อนิเมะหรือมังงะ เช่นเก็คคัง ดรากอน แมกกาซีน และ เดอะ สนีคเกอร์, เด็งเกคิ hp หรือแม้แต่นิตยสารในเครือ มีเดียมิกซ์ เช่น คอมพ์ทีค และ เด็งเกคิ G’s แมกกาซีน โดยเรื่องที่ได้ตีพิมพ์ได้แก่เรื่อง สเลเยอร์ส ฉบับนิยายซึ่งเป็นผลงานของ คันซากะ ฮาจิเมะ ซึ่งเรื่อง สเลเยอส์ นี้เองก็ได้เคยสร้างเป็นอนิเมะหรือมังงะในชื่อเดียวกัน

ในประเทศญี่ปุ่น ไลต์โนเวลเป็นที่นิยมมาก และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ก็ได้มีการจัดการประกวดไลต์โนเวล เพื่อค้นหาไลต์โนเวลที่เป็นที่น่าสนใจ ซึ่งถ้าหากเรื่องใดได้รับรางวัลชนะเลิศ ก็จะมีรางวัลสำหรับผู้จัดทำไลต์โนเวลเรื่องนั้น ๆ และผลงานของพวกเขายังได้รับการตีพิมพ์จัดจำหน่ายภายหลังการประกวด เช่น รางวัล เด็งเกคิ โนเวล ไพร์ซ ซึ่งเป็นรางวัลใหญ่ที่สุดซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ร่วมส่งผลงานกันเข้ามามากกว่า 2000 ชิ้น และเป็นแหล่งสร้าง ไลต์โนเวล ให้แก่วงการที่มีชื่อเสียง

สำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์ไลต์โนเวลในเมืองไทย

  • บลิส พับลิชชิ่ง (ตีพิมพ์ใช้ชื่อ J-book light) เป็นสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์เจ้าแรกในประเทศไทย
  • อนิแม็กบุ๊คส์ (ตีพิมพ์ใช้ชื่อ A-plus)
  • ฟีนิกซ์(ในเครืออมรินทร์ตีพิมพ์ภายใต้หัว Phoenix Next)
  • รักพิมพ์
  • Zenshu
  • สยามอินเตอร์คอมมิคส์ (ภายใต้หัว SMM Light)
  • First Page Pro
  • Gift Book
  • Dex Press

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ตัวอย่างการอ้างอิง

  1. "How 'not' to write a Light Novel". The Ranobe Cafe. 3 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2012. สืบค้นเมื่อ 5 March 2017.
  2. "SFWA Novel Categories". Science Fiction and Fantasy Writers of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2009. สืบค้นเมื่อ 5 March 2017.