Anesthesia dolorosa

Anesthesia dolorosa หรือ anaesthesia dolorosa หรือ deafferentation pain เป็นความเจ็บปวดในบริเวณที่ไม่สามารถรู้สึกสัมผัส (ปกติที่ใบหน้า) เป็นอย่างต่อเนื่อง แสบร้อน ปวด หรือรุนแรง อาจเป็นผลข้างเคียงของการผ่าตัดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบประสาทไทรเจมินัล โดยจะเกิดขึ้นในคนไข้ 1-4% ที่ผ่านการผ่าตัดนอกระบบประสาทส่วนกลางเนื่องจากอาการปวดประสาทไทรเจมินัล (trigeminal neuralgia) โดยยังไม่มีวิธีการรักษาใด ๆ ที่ได้ผล แม้จะมีเทคนิคหลายอย่างที่ลองดูแล้ว แต่ก็ได้ผลน้อยหรือมีผลแบบผสม ส่วนการผ่าตัดรักษาประเมินได้ยาก เพราะงานศึกษาที่ตีพิมพ์มีคนไข้หลายประเภทรวมกันจำนวนน้อยและไม่ตามผลการรักษาในระยะยาว[1] เทคนิคที่ลองแล้วรวมทั้ง[1]

  • การเร้าปมประสาท Gasserian ด้วยพัลส์ไฟฟ้า (Gasserian ganglion stimulation) จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่ฝังในผิวหนัง ผลที่ได้ผสมผเส งานบางส่วนได้ผลดี บางส่วนได้ผลน้อย และที่เหลือไม่ได้ผล ดังนั้น งานศึกษาที่มีคนไข้มากขึ้น ที่ติดตามผลระยะยาว จึงจำเป็นเพื่อกำหนดประสิทธิผลของการรักษานี้
  • การเร้าสมองส่วนลึกงานหนึ่งพบผลดีต่อคนไข้ 45% ใน 106 คน แม้การบรรเทาอาจไม่ถาวร แต่ก็อาจคงอยู่ได้หลายปี
  • การผ่าตัดแบบ mesencephalotomy เป็นการทำลายจุดประสานของ trigeminal tract กับ periaqueductal gray[A] ในสมอง แต่เมื่อใช้กับคนไข้ anesthesia dolorosa 6 คน ก็ไม่ปรากฏว่ามีผลดี แต่กลับเจ็บปวดเพิ่มขึ้น
  • Dorsal root entry zone lesioning คือการทำลายจุดที่ใยประสาทวิ่งเข้าเชื่อมกับใยประสาทในไขสันหลัง นี่ได้ผลดีในบางคน ไม่ดีในบางคน และสร้างภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการในคนไข้ 40% จำนวนคนไข้ก็มีน้อย การติดตามผลก็ระยะสั้น และหลักฐานที่มีก็ไม่แสดงประสิทธิผลในระยะยาว
  • ศัลยแพทย์ผู้หนึ่งรักษาคนไข้ 35 คนโดยใช้ trigeminal nucleotomy ซึ่งทำลาย subnucleus caudalis ใน Spinal trigeminal nucleus แล้วรายงาน "การกำจัด allodynia และการลดหรือการกำจัด (มีน้อยกว่า) ความเจ็บปวดพื้นหลังส่วนลึก" ในคนไข้ 66%

เชิงอรรถ

  1. เนื้อเทารอบท่อน้ำสมอง (periaqueductal grey) เป็นเนื้อเทาที่อยู่รอบ ๆ ท่อน้ำสมอง (cerebral aqueduct) ใน tagmentum ของสมองส่วนกลาง มีบทบาทในการปรับระดับความเจ็บปวดที่ส่งมาจากระบบประสาทส่วนปลาย และในพฤติกรรมป้องกันตัว

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Giller, C (2002). "Atypical facial pain and anesthesia dolorosa". ใน Burchiel, KJ (บ.ก.). Surgical management of pain. New York: Thieme. pp. 311–6. ISBN 0-86577-912-0.