การล่าแม่มด
การล่าแม่มด (อังกฤษ: Witch-hunt) คือ การแสวงบุคคลซึ่งถูกกล่าวหา หรือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเป็น "เเม่มด" มักเกี่ยวข้องกับความแตกต่างทางความเชื่อหรือศีลธรรม[1] หรืออุปาทานหมู่[2] ก่อนหน้า ค.ศ. 1750 กฎหมายให้ความเห็นชอบการล่ามดและเกี่ยวข้องกับการพิจารณาการล่าแม่มดอย่างเป็นทางการ สมัยการล่ามดในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนืออยู่ในสมัยใหม่ตอนต้นหรือราว ค.ศ. 1480 ถึง 1750 สืบทอดตั้งแต่กลียุคแห่งการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ถึงสงครามสามสิบปี ส่งผลให้มีการประหารชีวิตผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นเเม่มด เป็นจำนวนมากถึง 40,000 ถึง 60,000 คน[3]
การล่าแม่มดในยุคกลางเป็นที่นิยม ในแถบยุโรปโดยเฉพาะบริเวณ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิสเซอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม ส่วนจุดเริ่มต้นการล่าแม่มดครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ คือช่วงปลายศตวรรษที่ 15 โดยเกิดขึ้นบริเวณฝรั่งเศส เยอรมนี ก่อนที่จะค่อยๆ แพร่กระจายเข้าไปในอังกฤษ สกอตแลนด์ ช่วงประมาณศตวรรษที่ 16 ช่วงนั้นการล่าแม่มดเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ ถึงขนาดที่ว่าเกิดเป็น "กฎหมายต่อต้านการเป็นแม่มด" ในยุโรป ดังนั้นการตัดสินโทษแม่มดหลายๆ ครั้งนั้น เป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายและเกิดขึ้นในศาล
ส่วนเหตุการณ์การล่าแม่มดนั้น เป็นเหตุการณ์ธรรมดาทั่วไปที่เกิดขึ้นภายในหมูบ้าน เช่น เกิดโรคระบาด เกิดภัยพิบัติ ปศุสัตว์ตาย โดยไม่มีสาเหตุหรือมีเหตุการณ์แปลกๆ เกิดขึ้นในหมู่บ้านอย่างไม่มีสาเหตุเช่นกัน และเชื่อกันว่าเกิดจากคำสาปของแม่มด จนนำไปสู่การกล่าวโทษและหาตัวผู้ต้องสงสัยภายในหมู่บ้าน ว่าเป็นฝีมือของใครกันแน่ และหลังจากที่ตัดสินแล้วว่าใครที่เป็นแม่มด ก็จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่จากนั้นก็จะออกไปล่าแม่มดคนที่ถูกสงสัยทันที และเริ่มเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ว่าเป็นแม่มดจริงๆ หรือไม่
หากใครคนไหนที่แปลกแตกต่างจากคนอื่นมากๆ ก็จะโดนชี้ทันทีว่าเป็นแม่มด โดยเฉพาะผู้หญิงมักจะโดนเพ่งเล็งเป็นพิเศษเลย เพราะตามความเชื่อผู้หญิงถูกมองว่าเป็นเพศที่อ่อนแอ และถูกชักจูงได้ง่าย เลยทำให้ผู้หญิงมักจะโดนกล่าวโทษอยู่บ่อยครั้ง อย่างเช่นผู้หญิงกลุ่มที่ถูกตนในสังคมมองว่าแปลกแยกแตกต่างจากคนอื่นเช่น ผู้หญิงหม้ายที่ไม่มีใครคุ้มครอง คนแก่ คนหน้าตาอัปลักษณ์ หรือแม้กระทั่งผู้หญิงที่สวยเกินไปก็จะตกเป็นผู้ต้องสงสัยได้เช่นกัน เพราะพวกเขาเชื่อว่าเธอนำดวงวิญญาณไปขายให้ซาตานเพื่อแลกกับรูปร่างอันงดงามนั่นเอง แต่บางครั้งก็ไม่ใช่แค่ผู้หญิงที่โดนกล่าวหาว่าเป็นแม่มดเพราะว่าผู้ชายบางคนก็โดนกล่าวหาว่าเป็นพ่อมดได้เช่นกันแต่ว่ามีจำนวนน้อยกว่าผู้หญิง
มีการประหารชีวิตเเม่มดในทวีปยุโรปครั้งสุดท้ายในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ แม่มดไม่เป็นการกระทำที่มีโทษตามกฎหมายพระราชบัญญัติ ค.ศ. 1735 ในเยอรมนี การใช้เวทมนตร์คาถายังมีโทษตามกฎหมายจนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีรายงานการล่ามดร่วมสมัยในแอฟริกาใต้สะฮารา ประเทศอินเดียและปาปัวนิวกินี กฎหมายต่อต้านมดอย่างเป็นทางการยังคงพบในประเทศซาอุดีอาระเบียและแคเมอรูน
นับแต่ราวคริสต์ทศวรรษ 1930 คำว่า "การล่าเเม่มด" ถูกใช้เป็นภาพลักษณ์เพื่ออธิบายกิจกรรมโดยรัฐบาล (และหน่วยธุรกิจบางครั้ง) เพื่อแสวงและเปิดโปงศัตรูที่รับรู้ ชัดเจนมักใช้เป็นวิธีการชี้นำมติมหาชนโดยให้กำเนิดความแตกตื่นทางศีลธรรม
อ้างอิง
- ↑ Erich Goode; Nachman Ben-Yehuda (2010). Moral Panics: The Social Construction of Deviance. Wiley. p. 195.
- ↑ Lois Martin (2010). A Brief History of Witchcraft. Running Press. p. 5.[ลิงก์เสีย]
- ↑ The most common estimates are between 40,000 and 60,000 deaths. Brian Levack (The Witch Hunt in Early Modern Europe) multiplied the number of known European witch trials by the average rate of conviction and execution, to arrive at a figure of around 60,000 deaths. Anne Lewellyn Barstow (Witchcraze) adjusted Levack's estimate to account for lost records, estimating 100,000 deaths. Ronald Hutton (Triumph of the Moon) argues that Levack's estimate had already been adjusted for these, and revises the figure to approximately 40,000.