รัฐกรณาฏกะ

รัฐกรณาฏกะ
จากบนลงล่างและซ้ายไปขวา:
วังไมซอร์, ปัตตทกัล, รูปปั้นโคมเตศวร , ตราอาณาจักรโหยสละ, น้ำตกศิวนสมุทรา, โกลกุมบัซ, การแสดงยักษคณะ และ วิรูปักษะมนเทียรแห่งฮัมปี
โลโกอย่างเป็นทางการของรัฐกรณาฏกะ
ตรา
เพลง: "ชนะ ภารตะ ชนนียะ ตนุชเต" (Jaya Bharata Jananiya Tanujate)[1]
"(ชัยชนะแด่มารดากรณาฏกะ กุมารีแห่งพระมารดาอินเดีย)"
แผนที่รัฐกรณาฏกะ
แผนที่รัฐกรณาฏกะ
พิกัด (เบงคลูรู): 12°58′N 77°30′E / 12.97°N 77.50°E / 12.97; 77.50
ประเทศ อินเดีย
ก่อตั้ง1 พฤศจิกายน 1956
(ในชื่อรัฐไมซอร์)
เมืองหลวงเบงคลูรู
เมืองใหญ่สุดเบงคลูรู
อำเภอ30 อำเภอ
การปกครอง
 • องค์กรรัฐบาลรัฐกรณาฏกะ
 • ราชยปาลวชุภาอี วลา (Vajubhai Vala)
 • มุขมนตรีบี.เอส. เยดิยุรัปปา (B. S. Yediyurappa) (พรรค BJP)
 • รองมุขมนตรี
  • ซี. เอ็น. อัษวัถ นารายัน (C. N. Ashwath Narayan) (พรรค BJP)
  • โควินท์ การโชล (Govind Karjol) (พรรค BJP)
  • ลักษมัน สาวที (Laxman Savadi) (พรรค BJP)
 • วิธันภวัน (นิติบัญญัติรัฐ)
  • วิธันสภา (สมัชชานิติบัญญัติ) (224)
  • วิธันบริษัท (สภานิติบัญญัติ) (75)
 • สันสัท (รัฐสภา)
  • โลกสภา (28)
  • ราชยสภา (13)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด191,791 ตร.กม. (74,051 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 6
ความสูงจุดสูงสุด1,925 เมตร (6,316 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด (ระดับน้ำทะเล)0 เมตร (0 ฟุต)
ประชากร
 (2011)[2]
 • ทั้งหมด61,130,704 คน
 • อันดับที่ 8
 • ความหนาแน่น320 คน/ตร.กม. (830 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมคนกันนาดา (Kannadiga สำหรับบุรุษ
Kannadati สำหรับสตรี)
จีดีพี (2018–19)[3][4]
 • รวม₹15.35 ล้านล้าน
 • ต่อประชากร₹210,887
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-KA
ทะเบียนพาหนะKA
ภาษาราชการภาษากันนาดา[5]
เอชดีไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.682[6] ปานกลาง · ที่ 19
การรู้หนังสือ (2011)75.36%[7]
อัตราส่วนเพศ (2011)973 /1000 [7]
เว็บไซต์www.karnataka.gov.in
สัญลักษณ์ของรัฐกรณาฏกะ
ตรา
กานดาเบรุนดา (Gandaberunda) [8]
เพลง
"ชนะภารตะ ชนะนิยะ ตนุชันเต" (Jaya Bharata Jananiya Tanujate)[9]
สัตว์
ช้างเอเชีย[10]
สัตว์ปีก
นกตะขาบทุ่ง[10]
ดอกไม้
บัวหลวง[10]
ต้นไม้
จันทน์ขาว[10]

กรณาฏกะ [กอ-ระ-นา-ตะ-กะ] (กันนาดา: ಕರ್ನಾಟಕ) เป็นรัฐหนึ่งในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย รัฐกรณาฏกะก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 1956 ตามการประกาศใช้ States Reorganisation Act ชื่อเดิมของรัฐขณะจัดตั้งคือรัฐไมซอร์ และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกรณาฏกะในปี 1973 รัฐกรณาฏกะตั้งอยู่ในภูมิภาคกรณาฏ (Carnatic region) เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดในรัฐคือเบงคลูรู

อาณาเขตของรัฐติดกับทะเลอาหรับทางตะวันตก, รัฐกัวทางตะตกเฉียงเหนือ, รัฐมหาราษฏระทางเหนือ, รัฐเตลังคานาทางตะวันออกเฉียงเหนือ, รัฐอานธรประเทศทางตะวันออก, รัฐทมิฬนาฑูทางตะวันออกเฉียงใต้ และรัฐเกรละทางใต้ รัฐกรณาฏกะจึงถือเป็นรัฐเดียวในอินเดียใต้ที่มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐทางใจ้อื่น ๆ ทั้งสี่รัฐ รัฐกรณาฏกะกินพื้นที่ราว 191,976 ตารางกิโลเมตร (74,122 ตารางไมล์) หรือคิดเป็น 5.83% ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่หกของอินเดีย ด้วยประชากร 61,130,704 คน (2011) ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ และประกอบด้วย 30 เขต ภาษากันนาดา ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของประเทศอินเดีย (classical language) เป็นภาษาที่ใช้อย่างแพร่หลายในรัฐและเป็นภาษาราชการประจำรัฐ ภาษาส่วนน้อยอื่น ๆ เช่นภาษาอูรดู, ภาษากงกณี, ภาษามราฐา, ภาษาตูลู, ภาษาทมิฬ, ภาษาเตลูกู, ภาษามลยาฬัม, ภาษาโกทวะ และภาษาบยารี (Beary) นอกจากนี้รัฐกรณาฏกะยังมีหมู่บ้านที่สื่อสารด้วยภาษาสันสกฤตอยู่เป็นหลัก[11][12][13]

อ้างอิง

  1. "Protected Areas of India: State-wise break up of Wildlife Sanctuaries" (PDF). Wildlife Institute of India. Government of India. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2016. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
  2. "Figures at a glance" (PDF). 2011 Provisional census data. Ministry of Home Affairs, Government of India. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2011. สืบค้นเมื่อ 17 September 2011.
  3. "MOSPI Gross State Domestic Product". Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India. 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
  4. "Karnataka Budget 2018–19" (PDF). Karnataka Finance Dept. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
  5. 50th Report of the Commission for Linguistic Minorities in India (PDF). nclm.nic.in. p. 123. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2016.
  6. "Sub-national HDI – Area Database". Global Data Lab (ภาษาอังกฤษ). Institute for Management Research, Radboud University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  7. 7.0 7.1 "Census 2011 (Final Data) – Demographic details, Literate Population (Total, Rural & Urban)" (PDF). planningcommission.gov.in. Planning Commission, Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  8. Shankar, Shiva (7 February 2018). "State flag may be a tricolour with Karnataka emblem on white". The Times of India. The Times Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2018. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  9. "Poem declared 'State song'". The Hindu. The Hindu Group. 11 January 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 May 2018.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Huq, Iteshamul, บ.ก. (2015). "Introduction" (PDF). A Handbook of Karnataka (ภาษาอังกฤษ) (Fifth ed.). Karnataka Gazetteer Department. p. 48.
  11. "Seven Indian villages where people speak in Sanskrit". 24 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  12. "Know about these 4 Indian villages where SANSKRIT is still their first language". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  13. "Five Indian villages where sanskrit is spoken". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2019. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.