กลุ่มอาการโชเกรน

กลุ่มอาการโชเกรน
ชื่ออื่นSjögren's syndrome, sicca syndrome
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงการแทรกซึมของลิมฟอยด์เฉพาะจุดในต่อมน้ำลายน้อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการโชเกรน
การออกเสียง
สาขาวิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน, วิทยารูมาติก
อาการปากแห้ง, ตาแห้ง, ภาวะแห้งในอวัยวะอื่น[2]
ภาวะแทรกซ้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลือง[2]
การตั้งต้นวัยกลางคน[2][3]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[4]
สาเหตุโรคภูมิต้านตนเอง (ไม่ทราบสาเหตุ)[4]
วิธีวินิจฉัยการตัดเนื้อออกตรวจ, การตรวจเลือด[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันผลเคียงข้างจากยา, ความวิตกกังวล, โรคซาร์คอยด์, โรคแอมิลอยด์[5]
การรักษาน้ำตาเทียม, ยาแก้อักเสบ, การผ่าตัด[4]
พยากรณ์โรคการคาดหมายคงชีพปกติ[6]
ความชุก~0.7%[7]

กลุ่มอาการโชเกรน (อังกฤษ: Sjögren syndrome, Sjögren's syndrome; ย่อ SjS, SS) เป็นโรคภูมิต้านตนเองระยะยาวที่ส่งผลต่ออวัยวะผลิตของเหลวในร่างกายอย่างต่อมน้ำตาและต่อมน้ำลาย[4] กลุ่มอาการโชเกรนยังส่งผลกระทบร้ายแรงต่ออวัยวะอื่น เช่น ปอด ไตและระบบประสาท[8] อาการหลัก ได้แก่ ปากแห้ง ตาแห้ง[2] เจ็บปวดและล้า[9] อาการอื่นรวมถึงผิวแห้ง ช่องคลอดแห้ง ไอเรื้อรัง ชาที่แขนและขา รู้สึกเหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อและข้อ และต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ[4] ผู้ป่วยกลุ่มอาการโชเกรนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น 15%[2][7]

ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของกลุ่มอาการโชเกรน แต่คาดว่าเป็นกรรมพันธุ์ร่วมกับสิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมอย่างการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย[4] กลุ่มอาการโชเกรนสามารถเกิดเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพอื่น (กลุ่มอาการโชเกรนปฐมภูมิ) หรือเป็นผลจากโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (กลุ่มอาการโชเกรนทุติยภูมิ)[3] กลุ่มอาการโชเกรนอาจเกี่ยวข้องกับโรคภูมิต้านตนเองอื่น ๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง (SLE) และโรคหนังแข็งทั่วร่าง การวินิจฉัยใช้การเก็บตัวอย่างต่อมน้ำลายเพื่อหาลิมโฟไซต์และการตรวจเลือดเพื่อหาสารภูมิต้านทาน[2]

แม้กลุ่มอาการโชเกรนจะเป็นหนึ่งในโรคภูมิต้านตนเองที่พบได้ทั่วไป แต่ยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยโรคแบบไม่ล่วงล้ำที่เฉพาะเจาะจง การรักษาเป็นการจัดการกับอาการผู้ป่วย[4] เช่น การใช้น้ำตาเทียมหรือผ่าตัดอุดท่อน้ำตาเพื่อลดการอักเสบจากตาแห้ง[4] การเคี้ยวหมากฝรั่ง (โดยเฉพาะชนิดไม่มีน้ำตาล) การจิบน้ำหรือใช้สารทดแทนน้ำลายในการบรรเทาอาการปากแห้ง[4] อาจมีการหยุดใช้สารต้านฮิสตามีนซึ่งก่อให้เกิดภาวะแห้ง[4]

เฮนริก โชเกรน จักษุแพทย์ชาวสวีเดนอธิบายโรคนี้ในปี ค.ศ. 1933 อย่างไรก็ตามยัน มิคุลิช-ราเดกคี ศัลยแพทย์ชาวเยอรมัน–โปแลนด์บรรยายถึงอาการผู้ป่วยก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1892[10][11] ประชากรประมาณ 0.2–1.2% ป่วยเป็นกลุ่มอาการโชเกรน โดยครึ่งหนึ่งเป็นแบบปฐมภูมิ อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบบทุติยภูมิ[7] กลุ่มอาการโชเกรนพบได้ทั่วไปในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 10 เท่า[3] อาการมักแสดงในช่วงวัยกลางคน[2][3] ผู้ป่วยกลุ่มอาการโชเกรนมีการคาดหมายคงชีพปกติ[6]

อ้างอิง

  1. Elsevier, Dorland's Illustrated Medical Dictionary, Elsevier.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Brito-Zerón, Pilar; Baldini, Chiara; Bootsma, Hendrika; Bowman, Simon J.; Jonsson, Roland; Mariette, Xavier; Sivils, Kathy; Theander, Elke; Tzioufas, Athanasios; Ramos-Casals, Manuel (7 July 2016). "Sjögren syndrome". Nature Reviews Disease Primers. 2 (1): 16047. doi:10.1038/nrdp.2016.47. hdl:11568/809074. PMID 27383445. S2CID 4049076.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Ng, Wan-Fai (2016). Sjögren's Syndrome. Oxford University Press. pp. 10–11. ISBN 9780198736950. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2016.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 "What Is Sjögren's Syndrome? Fast Facts". NIAMS. November 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  5. Ferri, Fred F. (2010). Ferri's differential diagnosis : a practical guide to the differential diagnosis of symptoms, signs, and clinical disorders (2nd ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. p. Chapter S. ISBN 978-0323076999.
  6. 6.0 6.1 Singh, AG; Singh, S; Matteson, EL (March 2016). "Rate, risk factors and causes of mortality in patients with Sjögren's syndrome: a systematic review and meta-analysis of cohort studies". Rheumatology. 55 (3): 450–60. doi:10.1093/rheumatology/kev354. PMC 5009445. PMID 26412810.
  7. 7.0 7.1 7.2 John H., Klippel (2008). Primer on the rheumatic diseases (13th ed.). New York, New York: Springer. p. 389. ISBN 9780387685663. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2016. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  8. Holdgate, Nicholas; St. Clair, E. Wiliam (17 June 2016). "Recent advances in primary Sjogren's syndrome". F1000Research. 5: 1412. doi:10.12688/f1000research.8352.1. PMC 4916986. PMID 27347394.
  9. Cornec, Divi; Devauchelle-Pensec, Valérie; Mariette, Xavier; Jousse-Joulin, Sandrine; Berthelot, Jean-Marie; Perdriger, Aleth; Puéchal, Xavier; Le Guern, Véronique; Sibilia, Jean; Gottenberg, Jacques-Eric; Chiche, Laurent; Hachulla, Eric; Yves Hatron, Pierre; Goeb, Vincent; Hayem, Gilles; Morel, Jacques; Zarnitsky, Charles; Dubost, Jean Jacques; Saliou, Philippe; Pers, Jacques Olivier; Seror, Raphaèle; Saraux, Alain (April 2017). "Severe Health-Related Quality of Life Impairment in Active Primary Sjögren's Syndrome and Patient-Reported Outcomes: Data From a Large Therapeutic Trial". Arthritis Care & Research. 69 (4): 528–535. doi:10.1002/acr.22974. PMID 27390310. S2CID 22904103.
  10. Fox R. I. (2005). "Sjögren's syndrome". Lancet. 366 (9482): 321–331. doi:10.1016/s0140-6736(05)66990-5. PMID 16039337. S2CID 16426363.
  11. Parke AL, Buchanan WW (1998). "Sjögren's syndrome: History, clinical and pathological features". Inflammopharmacology. 6 (4): 271–87. doi:10.1007/s10787-998-0012-6. PMID 17657625. S2CID 12580734.