โรคหืด
โรคหืด (Asthma) | |
---|---|
อุปกรณ์ทดสอบสมรรถภาพปอด ใช้สำหรับตรวจวัดอัตราลมหายใจออกสูงสุด มีความสำคัญทั้งในการติดตามและการวินิจฉัยโรคหืด[1] | |
สาขาวิชา | วิทยาปอด |
อาการ | หายใจมีเสียงหวีดซ้ำเป็นชุด, ไอ, แน่นหน้าอก, หายใจไม่อิ่ม[2] |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว[3] |
สาเหตุ | พันธุกรรม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม[4] |
ปัจจัยเสี่ยง | มลภาวะทางอากาศ, สารก่อภูมิแพ้[3] |
วิธีวินิจฉัย | ขึ้นอยู่กับอาการ, การตอบสนองต่อการบำบัด, ตรวจด้วยสไปโรมิเตอร์[5] |
การรักษา | หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น, คอร์ติโคสเตอรอยด์ชนิดสูดพ่น, ซัลบูทามอล[6][7] |
ความชุก | 358 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[8] |
การเสียชีวิต | 397,100 คน (ค.ศ. 2015)[9] |
โรคหืด (อังกฤษ: asthma) หรือ โรคหอบหืด[10] เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอากาศหายใจที่พบบ่อย ลักษณะคือ มีอาการหลายอย่างแบบเป็นซ้ำ มีการอุดกั้นทางเดินอากาศหายใจและหลอดลมหดเกร็งแบบย้อนกลับได้[11] อาการทั่วไปมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอกและหายใจกระชั้น[2]
เชื่อว่าโรคหืดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมผสมกัน[12] การวินิจฉัยโดยปกติอาศัยรูปแบบของอาการ การตอบสนองต่อการรักษาตามเวลาและการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry)[13] ในทางคลินิก จำแนกตามความถี่ของอาการ ปริมาตรการหายใจออกเบ่งใน 1 วินาที (FEV1) และอัตราการไหลของการหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate)[14] โรคหืดยังอาจจำแนกเป็นแบบภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic) หรือภายนอก (extrinsic) หรือไม่ใช่ภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (non-atopic) หรือภายใน (intrinsic)[15] โดยภูมิแพ้กรรมพันธุ์หมายถึงความไวแฝงรับโรค (predisposition) ต่อการเกิดปฏิกิริยาไวเกินชนิดที่ 1[16]
การรักษาอาการเฉียบพลันโดยปกติใช้ตัวทำการบีตา-2 ที่ออกฤทธิ์สั้นแบบสูด (inhaled short-acting beta-2 agonist) เช่น ซัลบูทามอล เพื่อให้มีฤทธิ์ขยายหลอดลม และคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางปาก[7] ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ และให้เข้ารักษาในโรงพยาบาล[17] อาการสามารถป้องกันได้โดยการเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้[6]และยาระคาย และโดยการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูด[18] ตัวทำการบีตาที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) หรือสารต้านลิวโคไตรอีน (antileukotriene) อาจใช้เพิ่มเติมจากคอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูดหากยังควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้[19][20]
การเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ในปี พ.ศ. 2554 มีผู้ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหืดทั่วโลก 235–300 ล้านคน[21][22] และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 250,000 คน[22] ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก ประวัติศาสตร์ของโรคหืดมีย้อนไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ
การรักษา
การใช้ยา
ยาที่ใช้รักษาโรคหืดแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลักๆ ได้แก่ ยาสำหรับบรรเทาอาการเมื่อมีอาการกำเริบ และ ยาสำหรับควบคุมอาการในระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการกำเริบ[23] โดยทั่วไปแล้วจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน เว้นแต่มีข้อบ่งชี้อื่น[24][25]
พยากรณ์โรค
ผู้ป่วยโรคหืดโดยทั่วไปแล้วจะมีพยากรณ์โรคที่ดี โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กที่มีอาการเล็กน้อย[26] อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมากในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยครอบคลุมมากขึ้น และการรักษาพัฒนามากขึ้น[27] ใน ค.ศ. 2010 อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหืดอยู่ที่ 170 ในล้าน สำหรับผู้ป่วยชาย และ 90 ในล้าน สำหรับผู้ป่วยหญิง[28] อย่างไรก็ดีอัตราการเสียชีวิตในแต่ละประเทศยังแตกต่างกันมาก โดยอาจแตกต่างกันได้ถึงราว 100 เท่า[28]
อ้างอิง
- ↑ GINA 2011, p. 18
- ↑ 2.0 2.1 British Guideline 2009, p. 4
- ↑ 3.0 3.1 "Asthma Fact sheet №307". WHO. พฤศจิกายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2016.
- ↑ Martinez FD (มกราคม 2007). "Genes, environments, development and asthma: a reappraisal". The European Respiratory Journal. 29 (1): 179–84. doi:10.1183/09031936.00087906. PMID 17197483.
- ↑ Lemanske, Robert F.; Busse, William W. (2010). "Asthma: Clinical expression and molecular mechanisms". Journal of Allergy and Clinical Immunology. 125 (2): S95–S102. doi:10.1016/j.jaci.2009.10.047. ISSN 0091-6749. PMC 2853245. PMID 20176271.
- ↑ 6.0 6.1 NHLBI Guideline 2007, pp. 169–172
- ↑ 7.0 7.1 NHLBI Guideline 2007, p. 214
- ↑ GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence Collaborators (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
- ↑ GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/S0140-6736(16)31012-1. PMID 27733281.
- ↑ แก้วอมตวงศ์, ธีระศักดิ์ (4 มิถุนายน 2018). "โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจร้ายแรงจนอาจทำให้เสียชีวิต". rama.mahidol.ac.th. RAMA CHANNEL. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2022.
- ↑ NHLBI Guideline 2007, pp. 11–12
- ↑ Martinez FD (2007). "Genes, environments, development and asthma: a reappraisal". European Respiratory Journal. 29 (1): 179–84. doi:10.1183/09031936.00087906. PMID 17197483.
- ↑ Lemanske, R.F.; Busse, W.W. (กุมภาพันธ์ 2010). "Asthma: clinical expression and molecular mechanisms". J. Allergy Clin. Immunol. 125 (2 Suppl 2): S95–102. doi:10.1016/j.jaci.2009.10.047. PMC 2853245. PMID 20176271.
- ↑ Yawn BP (กันยายน 2008). "Factors accounting for asthma variability: achieving optimal symptom control for individual patients" (PDF). Primary Care Respiratory Journal. 17 (3): 138–47. doi:10.3132/pcrj.2008.00004. PMC 6619889. PMID 18264646. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2009.
- ↑ Kumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; Aster, Jon, บ.ก. (2010). Robbins and Cotran pathologic basis of disease (8th ed.). Saunders. p. 688. ISBN 978-1-4160-3121-5. OCLC 643462931.
- ↑ Stedman's Medical Dictionary (28 ed.). Lippincott Williams and Wilkins. 2005. ISBN 0-7817-3390-1.
- ↑ NHLBI Guideline 2007, pp. 373–375
- ↑ GINA 2011, p. 71
- ↑ GINA 2011, p. 33
- ↑ Scott JP, Peters-Golden M (กันยายน 2013). "Antileukotriene agents for the treatment of lung disease". Am. J. Respir. Crit. Care Med. 188 (5): 538–544. doi:10.1164/rccm.201301-0023PP. PMID 23822826.
- ↑ "World Health Organization Fact Sheet Fact sheet No 307: Asthma". 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2013.
- ↑ 22.0 22.1 GINA 2011, p. 3
- ↑ NHLBI Guideline 2007, p. 213
- ↑ "QRG 153 • British guideline on the management of asthma" (PDF). SIGN. กันยายน 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2016.
- ↑ Normansell R, Sayer B, Waterson S, Dennett EJ, Del Forno M, Dunleavy A (มิถุนายน 2018). "Antibiotics for exacerbations of asthma". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2018 (6): CD002741. doi:10.1002/14651858.CD002741.pub2. PMC 6513273. PMID 29938789.
- ↑ Sergel, Michelle J.; Cydulka, Rita K. (กันยายน 2009). "Ch. 75: Asthma". ใน Wolfson, Allan B.; Harwood-Nuss, Ann (บ.ก.). Harwood-Nuss' Clinical Practice of Emergency Medicine (5th ed.). Lippincott Williams & Wilkins. pp. 432–. ISBN 978-0-7817-8943-1.
- ↑ NHLBI Guideline 2007, p. 1
- ↑ 28.0 28.1 "The Global Asthma Report 2014". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2016.
บรรณานุกรม
- "British Guideline on the Management of Asthma" (PDF). British Thoracic Society. 2012 [2008]. SIGN 101. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 สิงหาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2008.
- "Global Strategy for Asthma Management and Prevention" (PDF). Global Initiative for Asthma. 2011. Archived Reports.
- National Asthma Education and Prevention Program (2007). "Guidelines for the Diagnosis and Management of Asthma". National Heart Lung and Blood Institute. EPR-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โรคหืด
- วิกิคำคมภาษาอิตาลี มีคำกล่าวเกี่ยวกับ Asma
- โรคหืด ที่เว็บไซต์ Curlie
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
|