กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห

กลุ่มอนุสรณ์ขชุราโห
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ที่ตั้งฉัตรปุระ, มัธยประเทศ, อินเดีย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: i, iii
อ้างอิง240
ขึ้นทะเบียน1986 (สมัยที่ 10th)
พิกัด24°51′16″N 79°55′17″E / 24.854422°N 79.921427°E / 24.854422; 79.921427
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโหตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห
ที่ตั้งกลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห ในประเทศอินเดีย
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโหตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห
กลุ่มโบราณสถานแห่งขชุราโห (รัฐมัธยประเทศ)

กลุ่มโบราณสถานขชุราโห (อังกฤษ: Khajuraho Group of Monuments) เป็นหมู่โบสถ์พราหมณ์และโบสถ์ไชนะตั้งอยู่ในอำเภอฉัตรปุระ, รัฐมัธยประเทศ, ประเทศอินเดีย ราว 175 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้จากฌันสี ปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[1][2] หมู่มนเทียร (ศาสนสถาน) เหล่านี้ขึ้นชื่อในฐานะสถาปัตยกรรมแบบนคร และงานแกะสลักวาบหวิวประดับมนเทียร[3]

มนเทียรส่วนใหญ่ในขชุราโหสร้างขึ้นในปี 950 ถึง 1050 โดยจักรวรรดิจันเทละ[4][5] เอกสารโบราณระบุว่าขชุราโหมี 85 มนเทียรในศตวรรษที่ 12 ครอบคลุมพื้นที่ราว 20 ตารางกิโลเมตร ในจำนวนนี้มีเพียง 25 แห่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ในอาณาเขตราวหกตารางกิโลเมตร[2] ในบรรดามนเทียรที่ยังคงอยู่ กันทรียะมหาเทวมนเทียร เป็นมนเทียรที่มีการประดับประดาและก่อสร้างอย่างวิจิตรตระการตามากที่สุดแห่งหนึ่ง[6]

หมู่มนเทียรขชุราโหมีมนเทียรที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาในศาสนาฮินดู กับ ศาสนาไชนะ ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอดีตมีการอยู่อาศัยร่วมกันของศาสนิกชนทั้งสองศาสนาอย่างกลมเกลียว[7]

มนเทียรต่าง ๆ ในขชุราโหเป็นมนเทียรในศาสนาฮินดู นิกายไวษณวและนิกายไศว กับในศาสนาไชนะ หลักฐานทางโบราณคดีเสนอว่ามนเทียรต่าง ๆ สร้างขึ้นไล่เลี่ยกันในปลายศตวรรษที่สิบ วิลล์ ดิวรานท์ ระลุว่าการสร้างมนเทียรร่วมกันในพื้นที่นี้แสดงให้เห็นถีงการอดกลั้นทางศาสนา การยอมรับซึ่งมุมมองที่แตกต่าง และการอยู่ร่วมกันของศาสนิกชน[8]

รายชื่อสิ่งก่อสร้าง

ที่ ชื่อมนเทียรในปัจจุบัน ศาสนา เทพเจ้าองค์ประธาน สร้างเสร็จในปี
(ค.ศ.)[9][10]
ภาพ
1 ชาวสาถโยคินีมนเทียร ฮินดู เทวี, 64 โยคินี 885
2 ลาลคุนมหาเทวมนเทียร ฮินดู พระศิวะ 900
3 พราหมมนเทียร ฮินดู พระวิษณุ 925
4 ลักษมณมนเทียร ฮินดู พระไวกูณฐวิษณุ 939
5 วราหมนเทียร ฮินดู พระวิษณุ 950
6 ปารศวนาถมนเทียร ไชนะ พระปารศวนาถ 954
7 ฆานไตมนเทียร ไชนะ พระอาทินาถ 960
8 มหิศสุรมรรทินี ฮินดู มหิษสูรมรรทินี 995
9 วิศวนาถมนเทียร ฮินดู พระศิวะ 999
10 มตันเคศวรมนเทียร ฮินดู พระศิวะ 1000
11 วิษณุทรงครุฑ ฮินดู พระวิษณุ 1000
12 ซากของพีชมณฑลมนเทียร (Beejamandal Temple ruins) ฮินดู พระศิวะ 1000
13 พระคเณศ ฮินดู พระศิวะ 1000
14 เทวีชคทัมพีมนเทียร ฮินดู เทวีชคทัมพี 1023
15 จิตรคุปตมนเทียร ฮินดู พระอาทิตย์ พระจิตรคุปต์ 1023
16 อาทินาถมนเทียร ไชนะ พระอาทินาถ 1027
17 ศานตินาถมนเทียร ไชนะ พระศานตินาถ 1027
18 กันทรียมหาเทวมนเทียร (ใหญ่ที่สุด) ฮินดู พระศิวะ 1029
19 วามานมนเทียร ฮินดู พระวามนะ 1062
20 ชวารีมนเทียร ฮินดู พระวิษณุ 1090
21 จุตรภูชมนเทียร ฮินดู พระวิษณุ 1110
22 ทุลเทวมนเทียร (ทุลเทโอ) ฮินดู พระศิวะ 1125

อ้างอิง

  1. "World Heritage Day: Five must-visit sites in India". 18 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-14. สืบค้นเมื่อ 2020-11-01.
  2. 2.0 2.1 Khajuraho Group of Monuments UNESCO World Heritage Site
  3. Philip Wilkinson (2008), India: People, Place, Culture and History, ISBN 978-1405329040, pp 352-353
  4. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 179.
  5. "Khajuraho Group of Monuments".
  6. Devangana Desai (2005), Khajuraho, Oxford University Press, Sixth Print, ISBN 978-0-19-565643-5
  7. James Fergusson, Northern or Indo-Aryan Style - Khajuraho History of Indian and Eastern Architecture, Updated by James Burgess and R. Phene Spiers (1910), Volume II, John Murray, London
  8. Will Durant (1976), Our Oriental Heritage - The Story of Civilization, ISBN 978-0671548001, Simon & Schuster
  9. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name rsingh cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  10. From inscription or estimated from other evidence