กล่องเสียงอักเสบ

กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)
ภาพส่องกล้องของกล่องเสียงอักเสบเหตุกรดไหลย้อน
การออกเสียง
สาขาวิชาแพทย์หู คอ จมูก
อาการเสียงแหบ เป็นไข้ เจ็บที่คอ/บริเวณกล่องเสียง[1][2]
ระยะดำเนินโรคปกติน้อยกว่าสองอาทิตย์[1]
สาเหตุการบาดเจ็บ โรคติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย[1]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ หรือส่องกล้องตรวจถ้าน่าเป็นห่วง[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันฝากล่องเสียงอักเสบ มะเร็งกล่องเสียง กล่องเสียงและท่อลมอักเสบ[1]
การรักษาพักเสียง ทานน้ำ[1]
ความชุกเป็นเรื่องสามัญ[1]

กล่องเสียงอักเสบ (อังกฤษ: Laryngitis) เป็นการอักเสบที่กล่องเสียง[1] อาการบ่อยครั้งรวมเสียงแหบ และอาจมีไข้ ไอ เจ็บคอด้านหน้า และกลืนลำบาก[1][2] โดยปกติจะเป็นไม่เกิน 2 อาทิตย์[1]

อาการจัดว่าเฉียบพลัน (acute) ถ้าเป็นน้อยกว่า 3 อาทิตย์และเรื้อรัง (chronic) เมื่อเป็นมากกว่า 3 อาทิตย์[1] แบบฉับพลันปกติเป็นส่วนของการติดเชื้อทางลมหายใจส่วนบนเนื่องกับไวรัส[1] เหตุอื่นรวมทั้งการติดเชื้ออื่น ๆ เช่น ไวรัสและเชื้อรา และการบาดเจ็บ เช่นที่เกิดจากการไอเป็นต้น[1] อาการเรื้อรังอาจเกิดจากการสูบบุหรี่ วัณโรค ภูมิแพ้ กรดไหลย้อน ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคซาร์คอยด์[A][1][4] กลไกที่เป็นเหตุก็คือความระคายเคืองที่สายเสียง[2]

อาการน่าเป็นห่วงต่าง ๆ ที่ต้องตรวจเพิ่มรวมทั้งหายใจเข้าเสียงฮื๊ด มีประวัติฉายรังสีที่คอ มีปัญหาการกลืน เป็นนานกว่า 3 อาทิตย์ และมีประวัติสูบบุหรี่[1] ถ้ามีอาการน่าเป็นห่วง สายเสียงควรจะตรวจโดยส่องกล้อง (laryngoscopy)[1] ภาวะอื่น ๆ ที่ก่ออาการเดียวกันรวมทั้งฝากล่องเสียงอักเสบ กล่องเสียงและท่อลมอักเสบ การสูดเอาสิ่งแปลกปลอมเข้า และมะเร็งกล่องเสียง[1][5]

อาการแบบฉับพลันปกติจะหายเองโดยไม่ต้องรักษา[1] และการพักเสียงประกอบกับทานน้ำให้เพียงพออาจช่วย[1] ยาปฏิชีวนะทั่วไปจะไม่ช่วยรักษาอาการรูปแบบนี้[6] แม้อาการแบบฉับพลันจะสามัญแต่แบบเรื้อรังก็ไม่ปกติ[1] แบบเรื้อรังเกิดขึ้นในวัยกลางคนมากกว่าโดยจะสามัญในชายมากกว่าหญิง[7]

อาการ

อาการหลักของกล่องเสียงอักเสบก็คือเสียงแหบ[8]: 108  เพราะภาวะนี้มีหลายสาเหตุ อาการอื่น ๆ ก็อาจต่างกันโดยขึ้นอยู่กับเหตุ[9] ซึ่งรวมทั้ง

  • คอแห้งคอเจ็บ
  • ไอ (อาจเป็นเหตุและ/หรือเป็นอาการของกล่องเสียงอักเสบ)
  • กระแอม/ขับเสมหะบ่อย ๆ
  • น้ำลายมาก
  • กลืนลำบาก
  • รู้สึกบวมที่บริเวณกล่องเสียง (ไม่สบายตรงด้านหน้าคอ)
  • เหมือนมีอะไรอยู่ในคอ
  • อาการคล้ายเป็นหวัดหรือเป็นไข้หวัดใหญ่ (ซึ่งเหมือนกับการไอ คืออาจเป็นเหตุของกล่องเสียงอักเสบด้วยเหมือนกัน)
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมในคอ หน้าอก หรือใบหน้า
  • เป็นไข้
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • หายใจลำบาก โดยมากในเด็ก

ลักษณะเสียง

นอกจากเสียงแหบ ความดังค่อยและความแหลมทุ้มของเสียงก็อาจเปลี่ยนไปด้วย คนไข้อาจพูดเสียงต่ำเสียงสูงกว่าปกติ ขึ้นอยู่กับว่าสายเสียงบวมหรือแข็ง[1][10] เสียงพูดอาจจะฟังเหมือนลมแทรก เพราะอากาศสามารถวิ่งผ่านช่องระหว่างสายเสียง เสียงอาจค่อยลง[11] และมีพิสัยทุ้มแหลมลดลง[1][1]

เหตุ

(บน) กล่องเสียงปกติ (ล่าง) กล่องเสียงอักเสบ

กล่องเสียงอักเสบอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือเหตุอื่น ๆ การอักเสบของสายเสียงที่เป็นผลทำให้เสียงเปลี่ยนไป[1] ซึ่งปกติจะเกิดตอบสนองต่อการติดเชื้อ การบาดเจ็บ หรือการแพ้[4] กล่องเสียงอักเสบเรื้อรังอาจมีเหตุจากปัญหาที่หนักกว่าอื่น ๆ เช่น ความเสียหายทางประสาท แผลเปื่อย ติ่งเนื้อเมือก หรือปุ่มหนาและแข็ง (nodule) ที่สายเสียง[5]

แบบฉับพลัน

ติดเชื้อไวรัส

แบบฉับพลันโดยมากจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส[1] ที่สามัญสุดก็คือ rhinovirus, ไวรัสไข้หวัดใหญ่, parainfluenza virus (HPIV), adenovirus, โคโรนาไวรัส, และ respiratory syncytial virus (RSV) ส่วนคนไข้ที่ภูมิคุ้มกันเสียหาย ไวรัสอื่น ๆ เช่น เริม, เอชไอวี และ coxsackievirus ก็อาจเป็นเหตุด้วยเหมือนกัน

ติดเชื้อแบคทีเรีย

นี่เป็นเหตุหลักอีกอย่างหนึ่งของกล่องเสียงอักเสบฉับพลัน ซึ่งอาจเกิดคู่กับหรือมีเหตุจากการติดเชื้อไวรัสอีกอย่างหนึ่ง[1] เชื้อแบคทีเรียที่สามัญรวมทั้ง streptococcus กลุ่ม A, Streptococcus pneumoniae (เหตุของปอดบวม), Corynebacterium diphtheriae (เหตุของโรคคอตีบ), Moraxella catarrhalis, Haemophilus influenzae, Bordetella pertussis (เหตุของโรคไอกรน), Bacillus anthracis (เหตุอย่างหนึ่งของแอนแทรกซ์), และ Mycobacterium tuberculosis (เหตุของวัณโรค) ในประเทศกำลังพัฒนา อาจมีแบคทีเรียที่เป็นเหตุอื่น ๆ เช่น mycobacterium และเชื้อซิฟิลิส แต่ก็เกิดในประเทศพัฒนาแล้วเหมือนกัน[1]

ติดเชื้อรา

ตามงานทบทวนวรรณกรรมของวารสารแพทย์ เดอะ บีเอ็มเจ กล่องเสียงอักเสบเพราะติดเชื้อราก็สามัญแต่วินิจฉัยไม่ค่อยถูกต้อง และอาจเป็นเหตุถึง 10% ของกล่องเสียงอักเสบแบบฉับพลัน[1] คนไข้ทั้งที่มีภูมิคุ้มกันปกติและเสียหายสามารถมีกล่องเสียงอักเสบเหตุเชื้อราได้ ซึ่งอาจเป็นผลของการได้ยาปฏิชีวนะหรือการสูดยา corticosteroids เมื่อเร็ว ๆ นี้[1] เชื้อราที่อาจเป็นเหตุรวมทั้ง Histoplasma, Blastomyces, Candida (โดยเฉพาะผู้ที่ภูมิคุ้มกันเสียหาย), Cryptococcus และ Coccidioides

บาดเจ็บ

บ่อยครั้ง การบาดเจ็บอาจเกิดเพราะใช้สายเสียงทำงานมากเกินไปเช่น ตะโกน กรีดร้อง หรือร้องเพลง ซึ่งทำให้เยื่อชั้นนอกของสายเสียงเสียหาย และเมื่อหาย ลักษณะทางสรีรภาพของสายเสียงอาจจะเปลี่ยนไป[1] เหตุการอักเสบอีกอย่างก็คือพูดเป็นเวลานานเกิน[6][7][8][9][10] (เช่นในผู้มีอาชีพเป็นครู พนักงานขาย นักแสดง นักข่าวโทรทัศน์หรือวิทยุ) การบาดเจ็บรวมสิ่งที่หมอทำ (เช่น การสอดท่อลมเข้าในทางลมหายใจ) ก็อาจทำให้สายเสียงอักเสบได้[12]

แบบเรื้อรัง

ภูมิแพ้

ไม่ชัดเจนว่า โรคหืดอาจเป็นเหตุของอาการกล่องเสียงอักเสบได้หรือไม่[1] นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า กล่องเสียงอักเสบเหตุภูมิแพ้บ่อยครั้งวินิจฉัยว่า เป็นผลของกรดไหลย้อน[13]

กรดไหลย้อน

คำอธิบายที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งของกล่องเสียงอักเสบเรื้อรังก็คือ การอักเสบที่มีเหตุจากการไหลย้อนของสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งสร้างความระคายเคืองแก่สายเสียง[14] แต่เหตุนี้ก็วินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากอาการเช่นนี้ เป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง[15]

ภาวะภูมิต้านตนเอง

คนไข้ข้ออักเสบรูมาตอยด์ประมาณ 30-75% จะรายงานอาการกล่องเสียงอักเสบ[1]

ส่วนคนไข้โรคซาร์คอยด์[A]เพียงแค่ 0.5-5% เท่านั้นมีอาการนี้[1] ตามงานวิเคราะห์อภิมานปี 2007 เพราะโรคนี้เป็นเหตุไม่สามัญแก่อาการต่าง ๆ ในกล่องเสียง บ่อยครั้งจึงวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคเสียงอื่น ๆ[16]

การวินิจฉัย

  • กล่องเสียงอักเสบฉับพลัน (acute laryngitis)
  • กล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง (chronic laryngitis)
  • กล่องเสียงอักเสบแบบแกลนูโลมา (granulomatous laryngitis)
  • Pseudomyxomatous laryngitis

สภาพที่มองเห็น

เมื่อมีภาวะนี้ กล่องเสียงเองบ่อยครั้งก็จะแดง (erythema) และบวม (edema) ซึ่งสามารถดูได้ด้วยกล้องส่องดูกล่องเสียง (laryngoscopy) หรือสตรอโบสโคป ขึ้นอยู่กับการอักเสบแบบต่าง ๆ[8]: 108  ลักษณะอื่น ๆ อาจรวม

  • เนื้อเยื่อกล้องเสียงแดง (แบบฉับพลัน)
  • หลอดเลือดขยาย (แบบฉับพลัน)
  • เนื้อเยื่อหนาแต่แห้ง (แบบเรื้อรัง)
  • สายเสียงแข็ง
  • การหลั่งเมือกเหนียวระหว่างสายเสียงบวกกับโครงสร้างใกล้ ๆ กัน (interarytenoid region)

การส่งต่อหาแพทย์เฉพาะทาง

อาการบางอย่างอาจจะต้องส่งไปหาแพทย์เฉพาะทางโดยเร็ว[1] รวมทั้ง

  • กลืนลำบาก
  • หายใจเป็นเสียงฮื๊ด (stridor)
  • เจ็บหู
  • น้ำหนักลดเร็ว ๆ นี้
  • ประวัติการสูบบุหรี่
  • การฉายรังสีในปัจจุบันหรือเร็ว ๆ นี้ที่บริเวณคอ
  • การผ่าตัดที่คอหรือที่ใช้ท่อหลอดลม
  • เป็นผู้มีอาชีพใช้เสียง เช่น ครู นักร้อง นักแสดง พนักงานศูนย์บริการทางโทรศัพท์ เป็นต้น

การรักษา

การรักษาบ่อยครั้งเป็นการบรรเทาอาการ และขึ้นอยู่กับความรุนแรงและรูปแบบของกล่องเสียงอักเสบ เช่น แบบฉับพลันหรือเรื้อรัง[1]

วิธีบรรเทาอาการทั่วไปรวมทั้งเปลี่ยนพฤติกรรม ดื่มน้ำ และอยู่ในอากาศชื้น[1] การระวังใช้เสียงเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งรวมทั้ง[1]

ส่วนข้อระวังการใช้เสียงที่ผู้บำบัดปัญหาทางการพูด-ภาษาอาจแนะนำก็คือ[1]

  • จำกัดระยะการใช้เสียงและรูปแบบของเสียงที่ใช้
  • ลดพฤติกรรมที่ทำสายเสียงให้เสียหาย
  • เพิ่มความชุ่มชื้น
  • เปลี่ยนพฤติกรรม (เช่น จำกัดกาแฟและตามรักษาโรคที่เป็น)

แบบฉับพลัน

โดยทั่วไป กล่องเสียงอักเสบฉับพลันจะรักษาด้วยการระวังใช้เสียง ยาแก้ปวด การรักษาความชุ่มชื้น และยาปฏิชีวนะ[1][6]

เหตุติดเชื้อไวรัส

วิธีรักษาที่แนะนำสำหรับกล่องเสียงอักเสบเหตุติดเชื้อไวรัสก็คือให้พักเสียง ยาแก้ปวด และยาละลายเมือก (mucolytics) เมื่อไอบ่อย[8] วิธีรักษาแบบชาวบ้านเช่น น้ำชาและน้ำผึ้ง ก็อาจช่วย[1] ยาปฏิชีวนะไม่ควรใช้รักษาอาการแบบนี้[1][17]

เหตุติดเชื้อแบคทีเรีย

แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวิตนะสำหรับภาวะแบบติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีอาการติดเชื้อในทางเดินอาหารส่วนบนอย่างชัดเจน[8] ถึงกระนั้น นักวิชาการก็ไม่มีความเห็นร่วมกันว่า ควรใช้ยาชนิดนี้หรือไม่ เพราะประเด็นทางประสิทธิผล ผลข้างเคียง ค่าใช้จ่าย และโอกาสดื้อยา โดยทั่วไปแล้ว ยาปฏิชีวนะดูจะไม่มีประสิทธิผลที่ดีในการรักษากล่องเสียงอักเสบแบบฉับพลัน[6]

ในกล่องเสียงอักเสบที่รุนแรง เช่น ฝากล่องเสียงอักเสบ มีโอกาสสูงกว่าที่ทางเดินหายใจจะถูกขัดขวาง[8] ดังนั้น อาจต้องส่งตัวไปหาแพทย์เฉพาะทางทันทีเพื่อแก้ปัญหาในทางเดินลมหายใจ[1] การรักษาอาจรวมการทำให้ชื้น, corticosteroid, ยาปฏิชีวนะที่ให้ทางเส้นเลือด, และเอพิเนฟรีนแบบพ่น[8]

เหตุติดเชื้อรา

กล่องเสียงอักเสบเหตุติดเชื้อราสามารถรักษาด้วยยาเม็ดหรือยาน้ำต้านเชื้อรา[1][8] ซึ่งปกติต้องทานถึง 3 อาทิตย์และอาจจะต้องรักษาซ้ำ ๆ ถ้ากลับเป็นอีก[8]

เหตุการบาดเจ็บ

กล่องเสียงอักเสบเหตุใช้เสียงเกินหรือใช้อย่างไม่ควร สามารถรักษาด้วยการระวังใช้เสียง

แบบเรื้อรัง

เหตุกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนขึ้นกล่องเสียงและคอหอยโดยหลักจะรักษาด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมและทานยา[1][8] การเปลี่ยนพฤติกรรมอาจรวม

  • ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับ
  • ทานอาหารมื้อละน้อย ๆ แต่หลายมื้อ
  • เลี่ยงอาหารบางประเภท (เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารเผ็ด)[8]

ยาต้านการไหลย้อนอาจให้แก่คนไข้ที่มีกล่องเสียงอักเสบหรือเสียงแหบเรื้อรัง[18] แต่ถ้ารักษาด้วยยาแล้วไม่ทำให้อาการดีขึ้น ก็ควรพิจารณาเหตุอื่น ๆ[1]

ยาที่ซื้อเองได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ เช่นยาลดกรดและสารต้านตัวรับเอช2ก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน[8] ยาลดกรดมักมีฤทธิ์สั้นและอาจไม่พอเพื่อรักษา[8] ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) เป็นยาที่ได้ผลดี[8] แต่ควรใช้เป็นระยะเพียงที่กำหนดไว้ หลังจากนั้นควรตรวจดูอาการอีกที[1] PPI อาจไม่ทำให้ดีขึ้น ยาที่สร้างตัวช่วยกั้นกรดซึ่งลอยกีดขวางการย้อนไหลของกรด (เช่น ยาลดกรดยี่ห้อกาวิสคอน) อาจได้ผลดีกว่าสำหรับบางคน[1] ยาต้านการหลั่งกรดอาจมีผลข้างเคียงหลายอย่าง[1] สำหรับบางคน การผ่าตัดอาจมีผลดี[1]

เหตุภูมิแพ้

เมื่อรักษาอาการแบบภูมิแพ้ ยาเฉพาะที่เช่น สเตอรอยด์ที่พ่นเข้าจมูก และการบำบัดภูมิคุ้มกัน พบว่ามีผลดีต่อเยื่อจมูกอักเสบเหตุภูมิแพ้ (allergic rhinitis)[8] สารต้านฮิสตามีนก็อาจช่วย แต่ก็อาจทำกล่องเสียงให้แห้งด้วย[8] และสเตอรอยด์แบบสูดที่ใช้เป็นระยะเวลายาวอาจทำให้มีปัญหากล่องเสียงและเสียง[8]

เหตุภาวะภูมิต้านตนเอง

โรค Mucous membrane pemphigoid ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเองที่ก่อแผลเป็นในที่ต่าง ๆ สามารรักษาได้ด้วยยา cyclophosphamide และเพรดนิโซโลน[1]

เหตุแกลนูโลมา

โรคซาร์คอยด์[A] สามารถรักษาได้ด้วย corticosteroid แบบฉีด ส่วนวิธีการรักษาที่ใช้น้อยรวมทั้งฉีดที่แผลหรือผ่าตัดด้วยเลเซอร์[1]

พยากรณ์โรค

แบบฉับพลัน

กล่องเสียงฉับพลันปกติจะหายเองภายในสองอาทิตย์ แต่ก็สามารถคงอยู่ได้เหมือนกัน[1] คนไข้มีโอกาสหายเร็วสูงถ้าทำตามแผนการรักษา[19] ในแบบที่ติดเชื้อไวรัส อาการสามารถคงยืนชั่วระยะหนึ่ง แม้หลังจากการอักเสบของทางเดินลมหายใจส่วนบนได้หายไปแล้ว[17]

แบบเรื้อรัง

อาการที่เป็นนานกว่า 3 อาทิตย์จัดว่าเป็นแบบเรื้อรัง[1] ซึ่งอาจต้องส่งให้แพทย์เฉพาะทางตรวจ เช่น ตรวจโดยกล้องส่อง[1] พยากรณ์โรคแบบเรื้อรังจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับเหตุ[19]

เชิงอรรถ

  1. 1.0 1.1 1.2 โรคซาร์คอยด์ (sarcoidosis) เป็นการรวมตัวอย่างผิดปกติของเซลล์ที่อักเสบจนกลายเป็นก้อนที่เรียกว่า แกรนูโลมา[3] โรคมักจะเริ่มจากปอด ผิวหนัง หรือต่อมน้ำเหลือง[3]

อ้างอิง

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26 1.27 1.28 1.29 1.30 1.31 1.32 1.33 1.34 1.35 1.36 1.37 1.38 1.39 1.40 1.41 1.42 1.43 1.44 1.45 1.46 1.47 1.48 1.49 1.50 1.51 1.52 1.53 Wood, John M.; Athanasiadis, Theodore; Allen, Jacqui (October 9, 2014). "Laryngitis". BMJ. The BMJ. 349: g5827. doi:10.1136/bmj.g5827. ISSN 1756-1833. PMID 25300640. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2016. สืบค้นเมื่อ November 21, 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Laryngitis - National Library of Medicine". PubMed Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2017. สืบค้นเมื่อ November 9, 2016.
  3. 3.0 3.1 "What Is Sarcoidosis?". NHLBI, NIH. June 14, 2013.
  4. 4.0 4.1 Dworkin, James Paul (April 2008). "Laryngitis: Types, Causes, and Treatments". Otolaryngologic Clinics of North America. 41 (2): 419–436. doi:10.1016/j.otc.2007.11.011. PMID 18328379.
  5. 5.0 5.1 Ferri, Fred F. (2016). Ferri's Clinical Advisor 2017: 5 Books in 1 (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 709. ISBN 9780323448383. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2016.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Reveiz, L; Cardona, AF (May 23, 2015). "Antibiotics for acute laryngitis in adults". Cochrane Database of Systematic Reviews. 5 (5): CD004783. doi:10.1002/14651858.CD004783.pub5. PMID 26002823.
  7. 7.0 7.1 Dhingra, P. L.; Dhingra, Shruti (2014). Diseases of Ear, Nose and Throat (ภาษาอังกฤษ) (6 ed.). Elsevier Health Sciences. p. 292. ISBN 9788131236932. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 10, 2016.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 Colton, Raymond H.; Casper, Janina K.; Leonard, Rebecca (2011). Understanding Voice Problems (4th ed.). Baltimore, MD: Lippincott Williams & Wilkins. pp. 308–309. ISBN 978-1-60913-874-5.
  9. 9.0 9.1 Verdolini, Katherine; Rosen, Clark A.; Branksi, Ryan C., บ.ก. (2006). Classification Manual of Voice Disorders-I. American Speech-Language-Hearing Association. Mahwah, N.J: Lawrence Erlbaum.
  10. 10.0 10.1 Takahashi, H.; Koike, Y. (1976). "Some perceptual dimensions and acoustical correlates of pathologic voices". Acta Oto-Laryngologica Supplementum (338): 1–24.
  11. Shipp, Thomas; Huntington, Dorothy A. (November 1, 1965). "Some Acoustic and Perceptual Factors in Acute-Laryngitic Hoarseness". Journal of Speech and Hearing Disorders. 30 (4): 350. doi:10.1044/jshd.3004.350. ISSN 0022-4677. PMID 5835492.
  12. Rieger, A.; Hass, I.; Gross, M.; Gramm, HJ; Eyrich, K. (1996). "Intubation trauma of the larynx--a literature review with special reference to arytenoid cartilage dislocation". Anasthesiol Intensivmed Notfallmed Schmerzther. 31 (5): 281–7. doi:10.1055/s-2007-995921. PMID 8767240.
  13. Brook, Christopher; Platt, Michael; Reese, Stephen; Noordzij, Pieter (January 2016). "Utility of Allergy Testing in Patients with Chronic Laryngopharyngeal Symptoms: Is It Allergic Laryngitis?". Otolaryngology-Head and Neck Surgery. 154 (1): 41–45. doi:10.1177/0194599815607850.
  14. Joniau, Sander; Bradshaw, Anthony; Esterman, Adrian; Carney, A. Simon (May 2007). "Reflux and laryngitis: A systematic review". Otolaryngology-Head and Neck Surgery. 136 (5): 686–692. doi:10.1016/j.otohns.2006.12.004. PMID 17478199.
  15. Campagnolo, AM; Priston, J; Thoen, RH; Medeiros, T; Assunção, AR (April 2014). "Laryngopharyngeal reflux: diagnosis, treatment, and latest research" (PDF). International archives of otorhinolaryngology. 18 (2): 184–91. doi:10.1055/s-0033-1352504. PMC 4297018. PMID 25992088.
  16. Silva, Leonardo; Damrose, Edward; Bairao, Fernanda; Nina, Mayra; Junior, James; Costa, Henrique (June 2008). "Infectious granulomatous laryngitis: a retrospective study of 24 cases". European Archives of Oto-Rhino-Laryngology. 265 (6): 675–680. doi:10.1007/s00405-007-0533-4.
  17. 17.0 17.1 Dominguez, L. M.; Simpson, C. B. (December 2015). "Viral laryngitis". Current Opinion in Otolaryngology & Head and Neck Surgery. 23 (6): 454-458. doi:10.1097/moo.0000000000000203.
  18. Schwartz, Seth R.; Cohen, Seth M.; Dailey, Seth H.; Rosenfeld, Richard M.; Deutsch, Ellen S.; Gillespie, M. Boyd; Granieri, Evelyn; Hapner, Edie R.; Kimball, C. Eve (September 1, 2009). "Clinical Practice Guideline Hoarseness (Dysphonia)". Otolaryngology-Head and Neck Surgery (ภาษาอังกฤษ). 141 (3 suppl): S1–S31. doi:10.1016/j.otohns.2009.06.744. ISSN 0194-5998. PMID 19729111. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 9, 2015.
  19. 19.0 19.1 Jonas, Nico (2007). "Laryngitis Management". Journal of Modern Pharmacy. 14 (5): 44.

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก