กองทัพเรือบรูไน

กองทัพเรือบรูไน
Tentera Laut Diraja Brunei
ตรากองทัพเรือบรูไน
ประจำการ14 มิถุนายน 1965; 59 ปีก่อน (1965-06-14)
ประเทศ บรูไน
รูปแบบกองทัพเรือ
บทบาทการสงครามทางเรือ
การค้นหาและกู้ภัย
การบังคับใช้กฎหมาย
ขึ้นกับ กองทัพบรูไน
กองบัญชาการฐานทัพเรือมัวรา, บรูไน-มัวรา, บรูไน
วันสถาปนา14 มิถุนายน
ยุทธภัณฑ์ดูรายชื่อ
เว็บไซต์navy.mindef.gov.bn
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการน.อ. Sarif Pudin Matserudin (รักษาการ)
รองผู้บัญชาการน.อ. Sarif Pudin Matserudin
ผู้บัญชาการกองเรือน.อ. Khairil Abdul Rahman
เสนาธิการน.ท. Azrin Mahmud
จ่ากองพันพ.จ.อ. Roslan Duraman
เครื่องหมายสังกัด
ธงนาวี
ธงฉาน

กองทัพเรือบรูไน (อังกฤษ: Royal Brunei Navy มลายู: Tentera Laut Diraja Brunei, ย่อ: RBN, TLDB) เป็นกองกำลังป้องกันทางเรือของประเทศบรูไนดารุสซาลาม เป็นกองกำลังทหารขนาดเล็กแต่ประกอบด้วยยุทโธปกรณ์ทางการทหารครบครัน มีหน้าที่หลักในการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย รวมไปถึงยับยั้งและปกป้องน่านน้ำบรูไนจากการรุกรานจากกองกำลังทางทะเล[1]

กองทัพเรือบรูไนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1965; 59 ปีก่อน (1965-06-14) โดยเป็นหน่วยงานทางทหารหน่วยที่สองที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากการสถาปนากองทัพบรูไน (Royal Brunei Armed Forces: RBAF) กองทัพเรือบรูไนมีกองบัญชาการอยู่ที่เมืองมัวรา ที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองมัวราประมาณ 4 กิโลเมตร (2 ไมล์) โดยมีลูกเรือส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 กองทัพเรือบรูไนได้จัดหาเรือปืนขีปนาวุธและเรือตรวจการณ์ชายฝั่งแบบต่าง ๆ โดยเรือทั้งหมดใช้คำนำหน้าว่า KDB มาจากคำว่า Kapal Diraja Brunei ในภาษามลายู แปลว่า Royal Brunei Ship หรือ เรือหลวงของบรูไน[1]

ประวัติศาสตร์

ช่วงเริ่มต้น

กองทัพเรือบรูไนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1965; 59 ปีก่อน (1965-06-14) 4 ปีหลังจากก่อตั้งกองทัพบรูไน เดิมถูกเรียกว่าแผนกเรือของกองทัพบรูไน โดยมีกำลังพลเพียง 18 นาย รวมทั้งนายทหาร 1 นายจากกองพันที่ 1 ที่เคยเข้าร่วมการฝึกหลักสูตรพื้นฐานที่แหลมมาลายาในปี พ.ศ. 2504 - 2507[2]

เรือ KDB Saleha ระหว่างปฏิบัติการในปี พ.ศ. 2514

แผนกเรือมียุทโธปกรณ์คือเรืออะลูมิเนียมจำนวนหนึ่ง เรียกว่า Temuai ในภาษามลายู และเรือเร็วโจมตี (FABs)[2] บทบาทของแผนกเรือมีหน้าที่ในการขนส่งกำลังทหารราบภายในบรูไนเท่านั้น หลักจากองค์กรมีการขยายตัวประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แผนกเรือจึงได้กับการปรับเป็นกองร้อยเรือในปี พ.ศ. 2509[2]

กองร้อยเรือได้รับเรือตรวจการณ์ลำน้ำจำนวนอีก 3 ลำในปี พ.ศ. 2509 เรือที่ได้รับมอบได้รับการตั้งชื่อว่า KDB Bendahara, KDB Maharajalela, และ KDB Kermaindera เรือทั้งหมดมีลูกเรือเป็นชาวบรูไนภายใต้กรบังคับบัญชาโดยนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่ได้รับการคัดเลือก ในปีเดียวกันนั้นเอง กองร้อยเรือได้รับการเสริมความแข็งแกร่งขึ้นด้วยเรือโฮเวอร์คราฟต์แบบ SR.N5 และแบบ SR.N6 ในปี พ.ศ. 2511[3] และในปีเดียวกันได้มีการนำเรือเร็วตรวจการณ์ประจำการและตั้งชื่อว่า KDB Pahlawan และกลายมาเป็นเรือธงลำแรกของกองร้อยเรือ[3]

กองร้อยเรือได้รับการปรับโครงสร้างใหม่เป็น Angkatan Laut Pertama, Askar Melayu DiRaja Brunei (ALP AMDB) แปลว่า กองพันทะเลที่ 1 กรมรอยัลบรูไนมาเลย์ในมาเลย์ (First Sea Battalion, Royal Brunei Malay Regiment in Malay) เป็นอีกเหล่าใหญ่หนึ่งของกรมรอยัลบรูไนมาเลย์ ในช่วงเวลานั้นกองพันทะเลมีกำลังประมาณ 42 นาย รวมนายทหารจำนวน 1 นาย ในขณะที่ยุทโธปกรณ์ประกอบไปด้วย เรือเร็วตรวจการณ์ 1 ลำ เรือตรวจการณ์ลำน้ำ 3 ลำ เรือโฮเวอร์คราฟต์ 2 ลำ เรือเร็วโจมตี 1 ลำ เรือยาวจำนวนหนึ่ง และเรือ Temuai (เรืออะลูมิเนียม)[4]

ในปี พ.ศ. 2514 กองพันทะเลที่ 1 ได้รับเรือลาดตระเวนชายฝั่งอีก 2 ลำ คือเรือ KDB Saleha และ KDB Masna[5] โดยกองพันทะเลได้รับการปรับโครงสร้างอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นกองทัพเรือบรูไน เนื่องจากการเติบโตของหน่วยงานและการได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร[6]

กรณีพิพาทเรือคอร์เวต เอฟ 2000

กองทัพเรือบรูไนมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงกองเรือให้ทันสมัย ด้วยการปรับปรุงฐานทัพเรือมัวราและจัดซื้อเรือคอร์เวตที่ต่อในสหราชอาณาจักรโดยบีเออี ซิสเต็มส์นาวาลชิปส์, สกอตแลนด์ ซึ่งเรือจะติดขีปนาวุธต่อต้านเรือ เอ็มบีดีเอ เอ็กโซเซต์ บล็อก II และขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ เอ็มบีดีเอ ซีวูฟ โดยเซ็นสัญญากับจีอีซี-มาร์โคนีในปี พ.ศ. 2538 ในเดือนมกราคม เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ได้มีการปล่อยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นนาโคดา รากัม ณ อู่ต่อเรือบีเออี ซิสเต็มส์ มารีน เมืองสก๊อตสตูน เรือทั้งสามลำถูกต่อขึ้นจนเสร็จสมบูรณ์ แต่กองทัพเรือปฏิเสธที่จะตรวจรับเรือและระบุว่าเรือที่ต่อขึ้นไม่ตรงตามข้อกำหนดที่กำหนดในสัญญาที่ลงนามกันไว้[7]

กรณีพิพาทดังกล่าวถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ[8][9] หลังจากข้อพิพาทยุติลง เรือได้ถูกส่งมอบให้กับหน่วยบริการทางเทคนิคบรูไน (Royal Brunei Technical Services) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550[10] และในปีเดียวกันบรูไนได้เซ็นสัญญากับอู่ต่อเรือเลิร์สเซ่นในเยอรมนีเพื่อหาลูกค้าใหม่ให้กับเรือทั้ง 3 ลำที่ต่อขึ้น ซึ่งเรือได้ถูกนำไปจอดไว้ที่ที่บาร์โรว์อินเฟอร์เนส[11] และถูกซื้อโดยกองทัพเรืออินโดนีเซีย ราคาลำละ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7]

ปัจจุบัน

กองทัพเรือบรูไนมีการซ้อมรบรหัส SEAGULL ซึ่งการฝึก SEAGULL 03-07 จัดขึ้นในประเทศบรูไนระหว่างวันที่ 2-10 กันยายน พ.ศ. 2550 ระหว่างกองทัพเรือบรูไนและกองทัพเรือฟิลิปปินส์ โดยการฝึกซ้อมด้วยรหัสนี้มีการฝึกร่วมกันทุกปีระหว่างสองชาติดังกล่าว[12]

ในปี พ.ศ. 2562 กองทัพเรือบรูไนได้เปิดตัวลายพรางใหม่ของกองทัพเรือคือลายพรางดิจิทัลสีฟ้าแบบ Digital Disruptive Pattern ในงานครบรอง 58 ปีของกองทัพ ณ ค่ายโบลเกียห์[13]

บทบาทหน้าที่และการจัดหน่วย

สมาชิกหน่วยปฏิบัติการผิวน้ำกองทัพเรือระหว่างงานวันชาติบรูไน ปี 2566

บทบาทหน้าที่

บทบาทของกองทัพเรือบรูไน ประกอบไปด้วย

การจัดหน่วย

กองทัพเรือบรูไนประกอบไปด้วย 4 หน่วยหลัก ได้แก่[14]

  • กองเรือ (Fleet)
  • กองบริหาร (Administration)
  • กองการฝึก (Training)
  • กองส่งกำลังบำรุง (Logistics)

กองบัญชาการ

กองบริหารของกองพันทะเลที่ 1 ได้ย้ายไปยังฐานทัพแห่งใหม่ที่ จาลัน ตันจง เปลุมปง เขตบรูไน-มัวรา ในปี พ.ศ. 2517 ฐานนี้รู้จักกันในชื่อ ฐานทัพเรือมัวรา ซึ่งเป็นกองบัญชาการหลักของกองทัพเรือบรูไน ฐานได้รับการปรับปรุงและขยายในปี พ.ศ. 2540 เพื่อเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนเรือสนับสนุนกิจการนอกชายฝั่ง (OSV) จำนวน 3 ลำ[15] ฐานทัพเรือมัวราต้อนรับการมาเยือนจากเรือรบต่างประเทศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเรือจากกองทัพเรือสหราชอาณาจักร บางครั้งกองลูกเสือของบรูไน Persekutuan Pengakap Negara Brunei Darussalam มักจะเข้าไปทำกิจกรรมในฐานทัพบางเวลา

ผู้บัญชาการ

ลำดับ ภาพ ชื่อ

(เกิด–เสียชีวิต)

สมัยดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
เข้ารับตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง ระยะเวลา
1 พลตรี
Ibnu Ba'asith Apong
2508 2509 1 ปี [16]
2 นาวาเอก
Kelfi Razali
22 เมษายน 2526 30 กันยายน 2529 3 ปี 222 วัน [17]
3 นาวาโท
Noeh Abdul Hamid
(died 1988)
30 กันยายน 2529 30 ธันวาคม 2531 2 ปี 91 วัน [18]
4 นาวาโท
Shahri Mohammad Ali
30 ธันวาคม 2531 1 พฤศจิกายน 2534 2 ปี 306 วัน [19]
5 นาวาโท
Abdul Latif Damit
(1950–?)
1 พฤศจิกายน 2534 25 มิถุนายน 2536 1 ปี 236 วัน [20]
(2) นาวาเอก
Kelfi Razali
25 มิถุนายน 2536 3 กุมภาพันธ์ 2538 1 ปี 223 วัน [17]
6 นาวาเอก
Abdul Jalil Ahmad
5 กุมภาพันธ์ 2538 13 มิถุนายน 2545 7 ปี 128 วัน [21]
7 นาวาเอก
Joharie Matussin
13 มิถุนายน 2545 16 พฤษภาคม 2551 5 ปี 338 วัน [22]
8 พลเรือเอก
Abdul Halim
(born 1965)
16 พฤษภาคม 2551 28 กุมภาพันธ์ 2557 5 ปี 288 วัน [23]
9 พลเรือเอก
Abdul Aziz
(born 1966)
28 กุมภาพันธ์ 2557 13 มีนาคม 2558 1 ปี 13 วัน [24]
10 พลเรือเอก
Norazmi Muhammad
13 มีนาคม 2558 19 เมษายน 2562 4 ปี 37 วัน [25]
11 พลเรือเอก
Othman Suhaili
(born 1970)
19 เมษายน 2562 31 ธันวาคม 2563 1 ปี 256 วัน [26]
12 พลเรือเอก
Spry Serudi
31 ธันวาคม 2563 30 ธันวาคม 2565 1 ปี 364 วัน [27]
นาวาเอก
Sarif Pudin Matserudin
รักษาการ
30 ธันวาคม 2565 อยู่ในตำแหน่ง 2 ปี 28 วัน [28]

โครงสร้างชั้นยศ

เรือโทของกองทัพเรือบรูไนระหว่างการฝึกริมแพค 2018

นายทหารชั้นสัญญาบัตร

เครื่องหมายยศของนายทหารชั้นสัญญาบัตร

กลุ่มชั้นยศ นายพล / นายทหารชั้นนายพล นายทหารสัญญาบัตรอาวุโส นายทหารสัญญาบัตร นักเรียนนายร้อย
 กองทัพเรือบรูไน[29]
Laksamana armada Laksamana Laksamana madya Laksamana muda Laksamana pertama Kepten Komander Leftenan komander Leftenan Leftenan madya Leftenan muda Pegawai kadet
จอมพลเรือ พลเรือเอก พลเรือโท พลเรือตรี นาวาเอกพิเศษ นาวาเอก นาวาโท นาวาตรี เรือเอก เรือโท เรือตรี นักเรียนนายร้อย
Admiral of the Fleet Admiral Vice Admiral Rear admiral Commodore Captain (naval) Commander Lieutenant commander Lieutenant (navy) Second lieutenant Lieutenant (junior grade) Officer cadet

นายทหารชั้นประทวน

เครื่องหมายยศของนายทหารชั้นประทวน และพลอาสาสมัคร

กลุ่มชั้นยศ นายทหารประทวนอาวุโส นายทหารประทวน พลสมัคร
และพลทหาร
 กองทัพเรือบรูไน[29]

ไม่มีเครื่องหมายยศ
Sarjan Mejar
(Jawatan)
Pegawai Waran 1 Pegawai Waran 2 Bintara Kanan Bintara Laskar Kanan Laskar Muda Prebet/Soldadu
พันจ่าเอกพิเศษ พันจ่าเอก พันจ่าโท พันจ่าตรี จ่าเอก จ่าโท จ่าตรี พลทหาร
Sergeant major Warrant officer Warrant officer Chief petty officer Petty officer Leading Seaman Able Seaman Private

ยุทโธปกรณ์

กองเรือปัจจุบันของกองทัพเรือบรูไนมีดังนี้:[30][31]

ชั้นหรือชื่อ ภาพ ผู้สร้าง แบบ ปีเข้าประจำการ รายละเอียด เรือ
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง
ชั้น Darussalam[32] Lürssen Werft, เบรเมน-เวเกแซค,  เยอรมนี เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2554–2557 OPV สั่งจาก Lürssen Werft ความยาว 80 เมตร (262 ฟุต)

อาวุธยุทโธปกรณ์:

  • 1 × ปืนใหญ่เรือ Bofors 57 มม. Mk3
  • 2 x ปืน Oerlikon 20มม./85 KAA
  • 4 × ขีปนาวุธ Exocet MM40 Block 3
06 Darussalam
07 Darulehsan
08 Darulaman
09 Daruttaqwa
เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง
ชั้น Ijtihad[33]
Lürssen Werft, เบรเมน-เวเกแซค,  เยอรมนี เรือตรวจการณ์ 2553 PV สั่งจาก Lürssen Werft ความยาว 41 เมตร (135 ฟุต)

อาวุธยุทโธปกรณ์:

  • 1 x ปืน Rheinmetall MLG 27 มม.
  • 2 x ปืนกล 7.62 มม.
17 Itjihad
18 Berkat
19 Syafaat
20 Afiat
ชั้น Fearless
ST Engineering,  สิงคโปร์ เรือตรวจการณ์ - เดิมประจำการในกองทัพเรือสิงคโปร์ ต่อมามอบให้บรูไนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566[34]

อาวุธยุทโธปกรณ์:

  • 1 x ปืน Oto Melara 76 mm
  • 4 × ปืนกลหนัก STK 50MG 12.7 มม. (0.50 นิ้ว)
  • ขีปนาวุธ Mistral
  • แท่นยิง EuroTorp ตอร์ปิโด A244/S Mod 1
As-Siddiq
Al-Faruq
เรือเร็วโจมตี
ชั้น Mustaed[35] Marinteknik Shipyard ทัส,  สิงคโปร์ เรือเร็วโจมตี 2554 FAC ใช้การออกแบบของ Lürssen Werft FIB25-012 สร้างขึ้นในสิงคโปร์ ความยาว 27 เมตร (89 ฟุต)

อาวุธยุทโธปกรณ์:

  • 2 x 7.62 mm machine gun.
21 Mustaed
ชั้น Waspada[36] Vosper Thornycroft,  สิงคโปร์ เรือเร็วโจมตี 2521–2522 FAC สั่งจาก Vosper Thornycroft ความยาว 37 เมตร (121 ฟุต) รวมทั้งหมด 3 ลำ ปลดประจำการเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 มี 1 ลำที่ประจำการในบรูไน และ 2 ลำบริจาคให้อินโดนีเซียในชื่อ KRI Salawaku (642) และ KRI Badau (643)

อาวุธยุทโธปกรณ์:

  • 2 x ปืน Oerlikon 30 มม. GCM-BO1
P02 Waspada
เรือระบายพล
ชั้น Serasa Transfield Shipbuilding, เฮนเดอร์สัน,  ออสเตรเลีย เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก
(LCM)
2539 อาวุธยุทโธปกรณ์:
  • 2 x ปืนต่อต้านอากาศยาน 20 มม./90 Oerlikon GAM B01
  • 2 x ปืนกล 7.62 มม.
L33 Serasa
L34 Teraban
ชั้น Damuan Cheverton Workboats, คาวส์,  อังกฤษ เรือระบายพลทั่วไป 2519–2520 ไม่มีอาวุธ บรรทุกสินค้าได้ 30 ตัน L32 Puni
เรือสนับสนุน
Cheverton Boatworks, คาวส์,  อังกฤษ เรือบด 2525 ใช้เป็นเรือลากจูงและเรือพี่เลี้ยงนักดำน้ำ Burong Nuri

อื่น ๆ

เรือที่ใช้ในการลาดตระเวนในลำน้ำ

  • 01 Aman
  • 02 Damai
  • 04 Sentosa
  • 06 Sejahteru

นอกจากนี้กระทรวงประงและอุตสาหกรรม / ทรัพยากรปฐมภูมิได้ใช้งานเรือลาดตระเวนความยาว 16 เมตร (52 ฟุต) ซึ่งต่อที่ Syarikat Cheoy Lee Shipyards และได้รับมอบในปี พ.ศ. 2545

การฝึกและซ้อมรบร่วม

กองงทัพเรือบรูไนและกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์มีความร่วมมือกันผ่านการฝึกซ้อมร่วมเป็นประจำทุกปี ภายใต้ชื่อรหัสว่า Exercise Pelican นอกจากนี้นายทหารและทหารของกองทัพเรือบรูไนได้ถูกส่งไปรับการฝึกขั้นสูงจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งปกติจะเป็นออสเตรเลีย บราซิล มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[37]

ระเบียงภาพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Introduction – Royal Brunei Navy – Retrieved 19 April 2007
  2. 2.0 2.1 2.2 History – Royal Brunei Navy เก็บถาวร 2007-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
  3. 3.0 3.1 History – Royal Brunei Navy, page 2 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
  4. History – Royal Brunei Navy, page 3 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
  5. History – Royal Brunei Navy, page 4 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
  6. History – Royal Brunei Navy, page 5 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
  7. 7.0 7.1 "อิเหนาทุ่มหนักซื้อเรือรบอีก 3 ลำ จรวดชุดบราซิล ปืนใหญ่ฝรั่งเศส". mgronline.com. 2012-11-10.
  8. Brunei and BAE Systems dispute ship acceptance Jane's 26 April 2005 – Retrieved 19 April 2007
  9. BAE Systems, Brunei OPV dispute nears resolution Jane's 8 September 2006 – Retrieved 19 April 2007
  10. "Shipyard deadlock ends". Ships Monthly. September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2007. สืบค้นเมื่อ 26 December 2007.
  11. Story by ocnus.net
  12. Philippine Fleet Official Website. Exercise SEAGULL 03-07.
  13. "RBAF debuts new military uniforms | Borneo Bulletin Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2022.
  14. Organisation – Royal Brunei Navy เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
  15. page 15 GHD Annual Review 2002/2003 เก็บถาวร 9 สิงหาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. "1st Commander". Royal Brunei Navy.
  17. 17.0 17.1 "2nd Commander". Royal Brunei Navy.
  18. "3rd Commander". Royal Brunei Navy.
  19. "4th Commander". Royal Brunei Navy.
  20. "5th Commander". Royal Brunei Navy.
  21. "6th Commander". Royal Brunei Navy.
  22. Samudera, Warta (2008-07-09). "Warta Samudera 002: TENTERA LAUT DIRAJA BRUNEI MEMPUNYAI PEMERINTAH YANG BARU". Warta Samudera 002. สืบค้นเมื่อ 2023-04-13.
  23. "8th Commander". Royal Brunei Navy.
  24. "9th Commander". Royal Brunei Navy.
  25. "10th Commander". Royal Brunei Navy.
  26. "11th Commander". Royal Brunei Navy.
  27. "FAREWELL PARADE CEREMONY FOR THE COMMANDER OF ROYAL BRUNEI NAVY". Royal Brunei Armed Forces.
  28. "Commander". Royal Brunei Navy.
  29. 29.0 29.1 "Admiralty Ranks". navy.mindef.gov.bn. Royal Brunei Navy. สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.
  30. Fleet – Royal Brunei Navy เก็บถาวร 2007-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
  31. [The Naval Institute Guide to Combat Fleets of the World – Eric Wertheim – 15th Ed. 2007, p66-68]
  32. "HRH commissions new ship | the Brunei Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2014.
  33. "Brunei Navy".
  34. "Brunei to induct ex-Singapore Fearless-class patrol boats". Janes.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-29.
  35. "Royal Burnei Navy commissions fast interceptor boat KDB MUSTAED". 28 November 2011.
  36. "Indonesia to get Brunei patrol ships | The Brunei Times". bt.com.bn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-04.
  37. Training – Royal Brunei Navy เก็บถาวร 2007-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Royal Brunei Navy