การดำเนินการเอกภาค
[1]ในทางคณิตศาสตร์ การดำเนินการเอกภาค หมายถึงการดำเนินการที่ต้องใช้ตัวถูกดำเนินการหนึ่งค่า หรือเป็นฟังก์ชันที่ต้องการตัวแปรตัวเดียว โดยทั่วไปการเขียนการดำเนินการเอกภาคใช้สัญกรณ์เติมหน้า (prefix notation) สัญกรณ์เติมหลัง (postfix notation) หรือสัญกรณ์ฟังก์ชันเป็นหลัก
ตัวอย่างการดำเนินการเอกภาค
ในทางคณิตศาสตร์
- ค่าสัมบูรณ์ : |x|
- ค่าตรงข้ามหรือค่าติดลบ : −x
- รากที่สอง : √ x
- หมายเหตุ รากที่ n อาจจัดเป็นการดำเนินการทวิภาคได้
- แฟกทอเรียล : x !
- ฟังก์ชันตรีโกณมิติ : sin x, cos x, tan x, cot x, csc x, sec x, ฯลฯ
- ลอการิทึมธรรมชาติ : ln x
- ลอการิทึมฐานสิบ : log x
- หมายเหตุ ลอการิทึมฐาน n อาจจัดเป็นการดำเนินการทวิภาคได้
- นิเสธของค่าความจริง : ¬x
ในการเขียนโปรแกรม
ยกตัวอย่างจากภาษาซี
- การเพิ่มค่าและการลดค่าตัวแปร : x++, ++x, x−−, −−x
- การอ้างถึงตำแหน่งในหน่วยความจำ : &x
- การชี้ไปยังตำแหน่งข้อมูล : *x
- การทำให้เป็นบวกและเป็นลบ : +x, –x
- ส่วนเติมเต็มหนึ่ง (One's complement) : ~x
- นิเสธของค่าความจริง : !x
- ขนาดของข้อมูล : sizeof x, sizeof (ชนิดข้อมูล)
- การแปลงชนิดข้อมูล : (ชนิดข้อมูล) x
ดูเพิ่ม
- การดำเนินการทวิภาค
- การดำเนินการไตรภาค
- อาริตี้ (arity)
- ตัวถูกดำเนินการ (operand)
- ตัวดำเนินการ (operator)
ตัวอย่างการอ้างอิง
- ↑ "พูดคุย:การดำเนินการเอกภาค". wikipedia.th.nina.az. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-30.