การบุกครองยูโกสลาเวีย

การบุกครองยูโกสลาเวีย
ส่วนหนึ่งของ การทัพบอลข่านในสงครามโลกครั้งที่ 2

ภาพประกอบการรุกรานของฝ่ายอักษะตามซีรีส์ Why We Fight
วันที่6–18 เมษายน ค.ศ. 1941
สถานที่
ผล

ฝ่ายอักษะชนะ

  • ยังคงมีกองกำลังต่อต้านนาซีและเป็นจุดเริ่มต้นสงครามกลางเมืองยูโกสลาฟ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
  • การครอบครองยูโกสลาเวีย
  • แบ่งยูโกสลาเวียให้กับพันธมิตรฝ่ายอักษะ
  • ก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดที่สนับสนุนนาซี
  • คู่สงคราม

    ฝ่ายอักษะ

     ยูโกสลาเวีย
    ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
    • ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ดูชัน ซีมอวิช
    • ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Danilo Kalafatović
    • ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Milorad Petrović
    • ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Milutin Nedić
    • ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Milan Nedić
    • ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Vladimir Cukavac
    • ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Dimitrije Živković
    • ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Borivoje Mirković
    • ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย Bogoljub Ilić
    กำลัง
    เยอรมนี:
    ทหาร 337,096 นาย
    รถถัง 875 คัน
    อากาศยาน 990 ลำ
    อิตาลี:
    ทหาร 22 กองพล
    อากาศยาน 666 ลำ[1]
    ฮังการี:
    ทหาร 9 กองพลน้อย
    6 ฝูงบิน
    ทหาร 700,000 นาย
    (400,000 ผ่านการฝึกเพียงเล็กน้อย)[2]
    รถถัง 110[3]–200 คัน[4]
    (เป็นรถถังสมัยใหม่ 50[4]–54 คัน[3])
    อากาศยาน 460[5]–505 ลำ
    (รวมเครื่องบินทิ้งระเบิดสมัยใหม่ 103 ลำ[4] และเครื่องบินจู่โจมสมัยใหม่ 107 ลำ[6])
    ความสูญเสีย
    เยอรมนี:[7]
    เสียชีวิต 151 นาย
    บาดเจ็บ 392 นาย
    หายไป 15 นาย
    อากาศยานถูกยิงตก 40 ลำ
    อิตาลี:
    เสียชีวิตและบาดเจ็บ 3,324 นาย
    อากาศยานถูกยิงตกมากกว่า 10 ลำ
    อากาศยานเสียหาย 22 ลำ
    ฮังการี:
    เสียชีวิต 120 นาย
    บาดเจ็บ 223 นาย
    หายไป 13 นาย
    อากาศยานถูกยิงตก 7 ลำ
    พลเมืองและทหารเสียชีวิตพันกว่าคน
    ถูกจับ 254,000–345,000 คน
    (โดยเยอรมนี)
    ถูกจับ 30,000 คน
    (โดยอิตาลี)
    อากาศยานถูกยิงตก 49 ลำ
    นักบินและลูกเรือเสียชีวิต 103 คน
    อากาศยาน 210–300 ลำถูกยึด[8]
    เรือพิฆาตถูกทำลาย 3 ลำ
    เรือดำน้ำถูกยึด 3 ลำ

    การบุกครองยูโกสลาเวีย เป็นที่รู้จักในชื่อ สงครามเดือนเมษายน[a] หรือ ปฏิบัติการ 25[b] เริ่มขึ่นเมื่อเยอรมนีร่วมกับฝ่ายอักษะเปิดฉากโจมตีราชอาณาจักรยูโกสลาเวียในวันที่ 6 เมษายน 1941 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังเกิดรัฐประหารยูโกสลาเวียเมื่อหลายวันก่อนหน้า[12]

    ยูโกสลาเวียดำรงความเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาได้เกือบ 2 ปี แต่เมื่อเดือนมีนาคมปี 1941 เจ้าชาย Paul ถูกบีบบังคับให้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอักษะ ทำให้เกิดการโค่นล้มอำนาจของพระองค์เพื่อปฏิเสธการเป็นพันธมิตรกับอักษะในเบลเกรด และ องค์มกุฏราชกุมารได้ถูกยกขึ้นมาเป็นสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 ปกครองยูโกสลาเวียแทน ฝ่ายอักษะจึงเข้าโจมตียูโกสลาเวียและแยกดินแดนยูโกสลาเวียเป็นส่วน ๆ แบ่งสรรกันในหมู่ฝ่ายอักษะ (อิตาลี เยอรมนี บัลแกเรีย ฮังการี โรมาเนีย แอลเบเนีย) แต่ที่สำคัญคือยกกลุ่มอูสตาเชให้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลปกครองรัฐเอกราชโครเอเชีย (Independent State of Croatia)  

    เบื้องหลัง

    ในช่วงตุลาคม ค.ศ. 1940 ราชอาณาจักรอิตาลีได้โจมตีราชอาณาจักรกรีซ ก่อนจะถอยกลับเข้าไปในราชอาณาจักรแอลเบเนีย ผู้นำแห่งเยอรมันอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ตัดสินใจที่จะส่งกำลังเพื่อเข้าไปช่วยพันธมิตรของเขา ผู้นำอิตาลีเบนิโต มุสโสลินี ฮิตเลอร์ไม่เพียงต้องการกอบกู้ศักดิ์ศรีของฝ่ายอักษะหลังความพ่ายแพ้ในยุทธการที่บริเตนเท่านั้น แต่ต้องการหยุดการทิ้งระเบิดของอังกฤษในบ่อน้ำมันที่โรมาเนียและครอบครองบ่อน้ำมันนั้นด้วย[13]

    ใน ค.ศ. 1940 ถึงช่วงต้น ค.ศ. 1941 ราชอาณาจักรฮังการี, ราชอาณาจักรโรมาเนีย และราชอาณาจักรบัลแกเรียได้ทำการเข้าร่วมกติกาสัญญาไตรภาคีของฝ่ายอักษะและฮิตเลอร์ก็ได้ทำการกดดันให้ยูโกสลาเวียเข้าร่วม หลังจากนั้นผู้แทนของเจ้าชายพอลได้ประกาศว่าจะนำยูโกสลาเวียเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ.1941[14] ซึ่งทำให้นายทหารชาวเซิร์บรวมถึงประชาชนบางส่วนไม่พอใจโดยเฉพาะชาวเซิร์บ เช่น ฝ่ายประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์[15] นายทหารชาวเซิร์บได้ทำการรัฐประหารในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1941 และทำการปลดออกจากตำแหน่งขณะกำลังเข้าใกล้ช่วงเฉลิมพระชนม์ของกษัตริย์ปีเตอร์ที่สองในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า[16]

    หมายเหตุ

    1. สโลวีเนีย: Aprilska vojna, เซอร์เบีย: Априлски рат, Aprilski rat,[9] โครเอเชีย: Travanjski rat
    2. เยอรมัน: Unternehmen 25[10] หรือ Projekt 25[11]

    อ้างอิง

    หนังสือ

    บทความ

    • Barefield, Michael R. (May 1993). "Overwhelming Force, Indecisive Victory: The German Invasion of Yugoslavia, 1941". Fort Leavenworth, Kansas: School of Advanced Military Studies, United States Army Command and General Staff College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
    • Dizdar, Zdravko (2007). "Bjelovarski ustanak od 7. do 10. travnja 1941". Časopis Za Suvremenu Povijest (ภาษาโครเอเชีย). Vol. 3. Hrvatski institut za povijest. pp. 581–609.
    • Dedijer, Vladimir (1956). "Sur l'armistice "germano-yougoslave" (7 avril 1941) (Peut-on dire qu'il y eut réellement un armistice?)". Revue d'histoire de la Deuxième Guerre mondiale. 6 (23): 1–10.
    • Fatutta, F.; Covelli, L. (1975). "1941: Attack on Yugoslavia". The International Magazine of Armies and Weapons. Vol. 4 no. 15–17. Lugano, Switzerland.
    • Hadži-Jovančić, Perica. "Losing the Periphery: The British Foreign Office and Policy Towards Yugoslavia, 1935–1938." Diplomacy & Statecraft 31.1 (2020): 65–90.
    • Jovanovich, Leo M. (1994). "The War in the Balkans in 1941". East European Quarterly. 28 (1): 105–29.
    • Krzak, Andrzej (2006). "Operation "Marita": The Attack Against Yugoslavia in 1941". The Journal of Slavic Military Studies. 19 (3): 543–600. doi:10.1080/13518040600868123. S2CID 219625930.
    • Lennox, Dyer T. (May 1997). "Operational Analysis: German operations against Yugoslavia 1941". Newport, Rhode Island: Joint Military Operations Department, Naval War College. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
    • Mirošević, Franko (2011). "Dubrovnik i dubrovački kotar od Banovine Hrvatske do talijanske reokupacije (od rujna 1939. do rujna 1941.)". Radovi Zavoda Za Povijesne Znanosti HAZU U Zadru (ภาษาโครเอเชีย). Vol. 53. pp. 243–279.
    • Pavlowitch, Stevan K. (1982). "How Many Non-Serbian Generals in 1941?". East European Quarterly. 16 (4): 447–52.
    • Zajac, Daniel L. (May 1993). "The German Invasion of Yugoslavia: Insights For Crisis Action Planning And Operational Art in A Combined Environment". Fort Leavenworth, Kansas: School of Advanced Military Studies, United States Army Command and General Staff College. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
    • Životić, Aleksandar (2011). "Četničke jedinice Vojske Kraljevine Jugoslavije u Aprilskom ratu" [The Chetnik units of the Yugoslav Army in April War 1941]. Istorija 20. Veka (ภาษาเซอร์เบีย). 29: 39–47. doi:10.29362/ist20veka.2011.1.ziv.39-47.
    • Statiev, Alexander (October 2002). "Antonescu's Eagles against Stalin's Falcons: The Romanian Air Force, 1920–1941". The Journal of Military History. 66 (4): 1085–1113. doi:10.2307/3093265. JSTOR 3093265.

    เว็บ

    อ่านเพิ่ม

    • Burgwyn, H. James. (2005). Empire on the Adriatic: Mussolini's Conquest of Yugoslavia 1941–1943. Enigma.
    • Williams, Heather (2003). Parachutes, Patriots and Partisans: The Special Operations Executive and Yugoslavia, 1941–1945. C. Hurst & Co. ISBN 1-85065-592-8.