การปลดปล่อยกรุงปารีส

การปลดปล่อยกรุงปารีส
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด ใน สงครามโลกครั้งที่สอง

ชาวปารีสที่ยืนเรียงรายอยู่ตามแนวถนนช็องเซลีเซ ในขณะที่ขบวนรถถังและรถกึ่งสายพานของกองพลยานเกราะฝรั่งเศสที่ 2 ได้เคลื่อนลงตามถนนจากอาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล ไปยัง ปลัสเดอลากงกอร์ด เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม
วันที่19–25 สิงหาคม 1944
สถานที่
กรุงปารีสและด้านนอก, ฝรั่งเศส
ผล

สัมพันธมิตร ได้รับชัยชนะ

  • การเข้ายึดและปลดปล่อยกรุงปารีส
  • กรุงปารีสได้จัดตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสใหม่
คู่สงคราม
ฝรั่งเศส รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
 สหรัฐ
 ไรช์เยอรมัน
มีลิส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี Philippe Leclerc
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี Georges Bidault
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี Henri Rol-Tanguy
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี J. Chaban-Delmas
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี Charles de Gaulle
สหรัฐ Raymond O. Barton
กองกำลังฝรั่งเศสเสรีสเปน Amado Granell
นาซีเยอรมนี ดรีทริซ ฟอน โคลทิซ(ยอมจำนน)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองกำลังฝรั่งเศสเสรี 2nd French Armored Division

  • กองกำลังฝรั่งเศสเสรี Régiment de marche du Tchad
กองกำลังฝรั่งเศสเสรี French Forces of the Interior
สหรัฐ 4th U.S. Infantry Division
นาซีเยอรมนี 325th Security Division
ความสูญเสีย
French Resistance:
1,600 dead[1]
Free French Forces:
130 dead
319 wounded[2]
United States: Unknown[3]
3,200 dead
12,800 prisoners[1]

การปลดปล่อยกรุงปารีส (ยังเป็นที่รู้จักกันคือ ยุทธการเพื่อปารีสและเบลเยียม) เป็นปฏิบัติการทางทหารที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1944 จนกระทั่งกองทหารรักษาการณ์ของเยอรมันได้ยอมจำนนที่เมืองหลวงของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1944 กรุงปารีสได้ถูกปกครองโดยนาซีเยอรมนีตั้งแต่ได้เซ็นลงนามในการสงบศึกที่กงเปียญครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากนั้นกองทัพเวร์มัคท์ได้เข้ายึดครองทางตอนเหนือและตะวันตกของฝรั่งเศส

การปลดปล่อยได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อกองกำลังฝรั่งเศสแห่งกิจการภายใน—โครงสร้างทางทหารของขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส—ได้ทำการก่อการกำเริบเข้าปะทะกับกองทหารรักษาการณ์ของเยอรมันตามเส้นทางการเคลื่อนทัพของกองทัพสหรัฐที่สาม ภายใต้การนำของจอร์จ แพตตัน เมื่อคืนวันที่ 24 สิงหาคม ส่วนหนึ่งของกองพลยานเกราะฝรั่งเศสที่ 2 ของนายพล Philippe Leclerc ได้เคลื่อนพลไปยังกรุงปารีส และมาถึงออแตลเดอวีลไม่นานหลังเที่ยงคืน เช้าวันต่อมา วันที่ 25 สิงหาคม กองกำลังจำนวนมากของกองพลยานเกราะที่ 2 และกองพลทหารราบที่ 4 แห่งสหรัฐได้เคลื่อนทัพเข้าสู่เมือง ดรีทริซ ฟอน โคลทิซ ผู้บัญชาการของกองทหารรักษาการณ์เยอรมันและฝ่ายอำนาจปกครองทหารในกรุงปารีส ได้ยอมจำนนต่อฝรั่งเศสที่โรงแรม Meurice กองบัญาชาการใหญ่ของฝรั่งเศสได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่ ในขณะที่นายพล ชาร์ล เดอ โกล ได้เดินทางมาถึงเพื่อเข้าควบคุมเมืองในฐานะผู้นำแห่งรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

เบื้องหลัง

ยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรเน้นการทำลายกองกำลังเยอรมันที่ถอยทัพไปทางแม่น้ำไรน์ กองกำลังภายในของฝรั่งเศส (กองกำลังติดอาวุธของขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส) นำโดยอองรี รอล-ทังกี ก่อการจลาจลในปารีส

การสู้รบฟาเลส์พ็อกเก็ต (12–21 สิงหาคม) ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด ยังคงดำเนินต่อไป นายพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองบัญชาการสูงสุดกำลังรบนอกประเทศสัมพันธมิตร ไม่ได้พิจารณาว่าการปลดปล่อยปารีสเป็นวัตถุประสงค์หลัก เป้าหมายของกองทัพสหรัฐฯ และกองทัพอังกฤษคือการทำลายกองกำลังเยอรมัน และด้วยเหตุนี้จึงยุติสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรป ซึ่งจะทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถมุ่งความสนใจไปที่แนวรบด้านแปซิฟิกทั้งหมดได้

การต่อต้านของฝรั่งเศสเริ่มขึ้นในการต่อต้านชาวเยอรมันในปารีสเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรยังคงผลักดันให้ชาวเยอรมันไปทางแม่น้ำไรน์และไม่ต้องการเข้าไปพัวพันในการต่อสู้เพื่อการปลดปล่อยปารีส ฝ่ายสัมพันธมิตรคิดว่ายังเร็วเกินไปที่จะพาปารีส พวกเขาทราบดีว่าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์สั่งกองทัพเยอรมันให้ทำลายเมืองอย่างสมบูรณ์ในกรณีที่ฝ่ายพันธมิตรโจมตี ปารีสถูกมองว่ามีคุณค่าทั้งในด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เกินกว่าจะเสี่ยงต่อการทำลายล้าง พวกเขายังกระตือรือร้นที่จะหลีกเลี่ยงการต่อสู้ที่ยืดเยื้อเช่น ยุทธการที่สตาลินกราด หรือ การล้อมเลนินกราดนอกจากนี้ ยังมีการประมาณการว่า ในกรณีของการล้อม ต้องใช้อาหารสั้น 4,000 ชอร์ตตัน (3,600 ตัน) ต่อวัน รวมทั้งวัสดุก่อสร้างจำนวนมาก กำลังคน และทักษะทางวิศวกรรมที่จะต้องเลี้ยงดูประชากรหลังจากการปลดปล่อยปารีสสาธารณูปโภคพื้นฐานจะต้องได้รับการฟื้นฟู และสร้างระบบขนส่งขึ้นใหม่ เสบียงทั้งหมดนี้มีความจำเป็นในด้านอื่น ๆ ของการทำสงครามสาธารณูปโภคพื้นฐานจะต้องได้รับการฟื้นฟู และสร้างระบบขนส่งขึ้นใหม่ เสบียงทั้งหมดนี้มีความจำเป็นในด้านอื่น ๆ ของการทำสงคราม

เดอโกลกังวลว่าการปกครองทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรจะมีผลบังคับใช้ในฝรั่งเศสด้วยการดำเนินการของรัฐบาลทหารฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อการยึดครอง การบริหารนี้ซึ่งวางแผนไว้โดยเสนาธิการอเมริกัน ได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงคลิน รูสเวลต์ แต่ถูกต่อต้านโดยไอเซนฮาวร์

อย่างไรก็ตาม เดอโกล เมื่อรู้ว่าการต่อต้านของฝรั่งเศสได้ลุกขึ้นสู้กับผู้ยึดครองชาวเยอรมัน และไม่เต็มใจที่จะปล่อยให้เพื่อนร่วมชาติของเขาถูกสังหารเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับการต่อต้านโปแลนด์ในการก่อการกำเริบวอร์ซอ ได้ยื่นคำร้องเพื่อโจมตีที่ด้านหน้าทันที เขาขู่ว่าจะปลดกองยานเกราะที่ 2 ของฝรั่งเศส (2e DB) และสั่งให้โจมตีกองกำลังเยอรมันในปารีสเพียงลำพัง เลี่ยงสายการบังคับบัญชาของ SHAEF หากไอเซนฮาวร์ชะลอการอนุมัติเกินควร

สิ่งที่เกี่ยวข้อง

การให้ความร่วมมือกับศัตรูในทางแนวนอน คือหญิงสาวชาวฝรั่งเศลจำนวนมากนั้นได้มีความสัมพันธ์เชิงโรแมนติกกับทหารเยอรมันผู้รุกรานด้วยความยินยอมพร้อมใจหรือการบังคับขู่เข็ญ แต่หลังจากสัมพันธมิตรได้ปลดปล่อยฝรั่งเศลได้สำเร็จและกองทัพเยอรมันล่าถอย ผู้หญิงเหล่านั้นก็ถูกฝูงชนชาวฝรั่งเศลจับโกนผมจนหัวล้านและฉีกเสื้อผ้าเพื่อเป็นการประจานในข้อหาทรยศต่อชาติ

อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Liberation_of_Paris

แหล่งข้อมูลอื่น

ตัวอย่างการอ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Libération de Paris [Liberation of Paris]" (in French). (PDF format).
  2. "The Lost Evidence – Liberation of Paris". History.
  3. "Libération de Paris forces américaines" (in French).