การประกาศสงคราม
การประกาศสงคราม คือคำประกาศอย่างเป็นทางการ กระทำโดยชาติใดชาติหนึ่งเพื่อแสดงว่าสถานะทางกฎหมายของการสู้รบระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นแล้ว
ประวัติ
ข้อกำหนดว่าต้องมีการประกาศสงครามเสียก่อนจึงเริ่มรบกันได้ เป็นพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งกำหนดไว้ในอนุสัญญากรุงเฮก (Hague Conventions) เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) บางประเทศก็ให้สัตยาบันในอนุสัญญานี้ ขณะที่อีกหลายประเทศก็ไม่ให้สัตยาบัน การประกาศสงครามนอกจากจะแจ้งให้ประเทศคู่สงครามได้ทราบแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อแจ้งต่อประเทศเป็นกลางให้ทราบถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้อาจมีการระบุในประกาศสงครามถึงการนำอำนาจสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินมาใช้ เป็นต้น
การสู้รบของทหารสหรัฐฯ ที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เช่น สงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ไม่ได้มีการประกาศสงครามแต่อย่างใด โดยหลีกเลี่ยงไปใช้คำอธิบายว่าเป็นปฏิบัติการเชิงรับเพื่อป้องกันตนเองหรือรักษาความสงบ
ประเทศไทยประกาศสงคราม
ในสงครามอังกฤษ-สยาม ประเทศสยาม (อาณาจักรอยุธยา) เคยประกาศสงครามต่อบริษัทอินเดียตะวันออก (อังกฤษ) เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2230[1][2][3]
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศสยามเคยประกาศสงครามต่อเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460[4]
ในสงครามฝรั่งเศส-ไทย (กรณีพิพาทอินโดจีน) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยเคยประกาศสงครามต่อฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2484[5][6]
ในสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยเคยประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485[7] แต่หลังสงครามสิ้นสุด วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยประกาศว่าการประกาศสงครามดังกล่าวเป็นโมฆะโดยจะเห็นได้จากมีขบวนการเสรีไทยได้ร่วมมือกับฝ่ายพันธมิตรเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และการประกาศสงครามดังกล่าวไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงของคนไทย
รายชื่อวันที่ประกาศสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
วันที่ | ชาติประกาศ | ชาติเป้าหมาย |
---|---|---|
28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 | ออสเตรีย-ฮังการี | เซอร์เบีย |
1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | เยอรมนี | รัสเซีย |
3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | เบลเยียม | |
ฝรั่งเศส | ||
4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | จักรวรรดิบริติช | เยอรมนี |
5 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | มอนเตเนโกร | ออสเตรีย-ฮังการี |
6 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | ออสเตรีย-ฮังการี | รัสเซีย |
เซอร์เบีย | เยอรมนี | |
8 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | มอนเตเนโกร | |
12 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | จักรวรรดิบริติช | ออสเตรีย-ฮังการี |
ฝรั่งเศส | ||
23 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | ญี่ปุ่น | เยอรมนี |
25 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | ออสเตรีย-ฮังการี | |
28 สิงหาคม ค.ศ. 1914 | ออสเตรีย-ฮังการี | เบลเยียม |
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1914 | รัสเซีย | จักรวรรดิออตโตมัน |
5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1914 | ฝรั่งเศส | |
จักรวรรดิบริติช | ||
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1914 | จักรวรรดิออตโตมัน | รัสเซีย |
ญี่ปุ่น | ||
จักรวรรดิบริติช | ||
2 ธันวาคม ค.ศ. 1914 | เซอร์เบีย | จักรวรรดิออตโตมัน |
3 ธันวาคม ค.ศ. 1914 | มอนเตเนโกร | |
5 ธันวาคม ค.ศ. 1914 | ญี่ปุ่น | |
23 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 | อิตาลี | ออสเตรีย-ฮังการี |
21 สิงหาคม ค.ศ. 1915 | จักรวรรดิออตโตมัน | |
28 สิงหาคม ค.ศ. 1915 | เยอรมนี | |
14 ตุลาคม ค.ศ. 1915 | บัลแกเรีย | เซอร์เบีย |
15 ตุลาคม ค.ศ. 1915 | จักรวรรดิบริติช | บัลแกเรีย |
มอนเตเนโกร | ||
16 ตุลาคม ค.ศ. 1915 | ญี่ปุ่น | |
ฝรั่งเศส | ||
19 ตุลาคม ค.ศ. 1915 | อิตาลี | |
รัสเซีย | ||
9 มีนาคม ค.ศ. 1916 | เยอรมนี | โปรตุเกส |
15 มีนาคม ค.ศ. 1916 | ออสเตรีย-ฮังการี | |
28 สิงหาคม ค.ศ. 1916 | โรมาเนีย | ออสเตรีย-ฮังการี |
เยอรมนี | โรมาเนีย | |
30 สิงหาคม ค.ศ. 1916 | จักรวรรดิออตโตมัน | |
1 กันยายน ค.ศ. 1916 | บัลแกเรีย | |
6 เมษายน ค.ศ. 1917 | สหรัฐอเมริกา | เยอรมนี |
7 เมษายน ค.ศ. 1917 | ปานามา | |
คิวบา | ||
27 มิถุนายน ค.ศ. 1917 | กรีซ | ออสเตรีย-ฮังการี |
เยอรมนี | ||
บัลแกเรีย | ||
จักรวรรดิออตโตมัน | ||
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 | สยาม | ออสเตรีย-ฮังการี |
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 | เยอรมนี | |
4 สิงหาคม ค.ศ. 1917 | ไลบีเรีย | |
14 สิงหาคม ค.ศ. 1917 | จีน | ออสเตรีย-ฮังการี |
14 สิงหาคม ค.ศ. 1917 | เยอรมนี | |
26 ตุลาคม ค.ศ. 1917 | บราซิล | |
7 ธันวาคม ค.ศ. 1917 | สหรัฐอเมริกา | ออสเตรีย-ฮังการี |
10 ธันวาคม ค.ศ. 1917 | ปานามา | |
23 เมษายน ค.ศ. 1918 | กัวเตมาลา | เยอรมนี |
6 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 | นิการากัว | ออสเตรีย-ฮังการี |
6 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 | เยอรมนี | |
23 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 | คอสตาริกา | |
12 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 | เฮติ | |
19 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 | ฮอนดูรัส |
รายชื่อวันที่ประกาศสงครามโลกครั้งที่สอง
รายชื่อการประกาศสงคราม
- การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1939)
- การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของสหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1939)
- การประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1941)
- การประกาศสงครามต่อต้านสหรัฐของเยอรมนี (ค.ศ. 1941)
- การประกาศสงครามต่อเนเธอร์แลนด์ของเยอรมนี (ค.ศ. 1940)
- การประกาศสงครามต่อสหภาพโซเวียตของเยอรมนี (ค.ศ. 1941)
- การประกาศสงครามต่อสหรัฐของอิตาลี (ค.ศ. 1941)
- การประกาศสงครามต่อสหรัฐและจักรวรรดิบริติชของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1941)
- การประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐของไทย (ค.ศ. 1942)
- การประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหรัฐ (ค.ศ. 1941)
- การประกาศสงครามตอบโต้เยอรมนีของสหรัฐ (ค.ศ. 1941)
- การประกาศสงครามต่ออิตาลีของสหรัฐ (ค.ศ. 1941)
- การประกาศสงครามต่อบัลแกเรียของสหรัฐ (ค.ศ. 1942)
- การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของแคนาดา (ค.ศ. 1939)
- การประกาศสงครามต่อเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นของเม็กซิโก (ค.ศ. 1942)
- การประกาศสงครามต่อเยอรมนีและญี่ปุ่นของตุรกี (ค.ศ. 1945)
- เพื่อประชาชนของฉัน (ค.ศ. 1914)
- การประกาศญิฮาดโดยจักรวรรดิออตโตมัน (ค.ศ. 1914)
- การประกาศสงครามตอบโต้เยอรมนีของสหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1914)
- การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของสหรัฐ (ค.ศ. 1917)
- การประกาศสงครามต่อออสเตรีย-ฮังการีของสหรัฐ (ค.ศ. 1917)
- การประกาศสงครามต่อเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีของสยาม (ค.ศ. 1917)
- การประกาศสงครามต่อสเปนของสหรัฐ (ค.ศ. 1898)
- การประกาศสงครามต่อเม็กซิโกของสหรัฐ (ค.ศ. 1846)
- การประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรของสหรัฐ (ค.ศ. 1812)
- พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการประกาศสงครามต่อต้านมหาอำนาจต่างชาติ (ค.ศ. 1900)
- ความแค้นยิ่งใหญ่เจ็ดประการ (ค.ศ. 1618)
- เริ่มการปฏิบัติการทางทหารพิเศษ (ค.ศ. 2022)
รูปภาพ
สงครามโลกครั้งที่สอง
-
แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ลงนามในการประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนีเมื่อ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941
-
แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ ได้ให้สหรัฐประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941
-
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ให้เยอรมนีประกาศสงครามต่อสหภาพโซเวียตในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941
-
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ให้เยอรมนีประกาศสงครามต่อสหรัฐในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941
-
เบนิโต มุสโสลินี ได้ให้อิตาลีประกาศสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940
-
ฮิเดกิ โทโจ ได้ให้ญี่ปุ่นประกาศสงครามต่อสหรัฐและจักรวรรดิบริติชในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941
-
แปลก พิบูลสงคราม ได้ให้ไทยประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942
-
เจียง ไคเชก ได้ให้จีนประกาศสงครามต่อเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1941
-
ฝรั่งเศสได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939
-
แคนาดาได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1939
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
-
พระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้ให้สหราชอาณาจักรประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914
-
ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน กล่าวเสนอให้สภาคองเกรสประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1917
-
สหรัฐได้ประกาศสงครามต่อออสเตรีย-ฮังการีในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1917
-
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ได้ให้จักรวรรดิรัสเซียประกาศสงครามต่อจักรวรรดิเยอรมันในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914
-
อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลางในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1915
-
บราซิลได้ประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลางในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1917
-
เยอรมนีได้ประกาศสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914
-
ออสเตรีย-ฮังการีได้ประกาศสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914
-
จักรวรรดิออตโตมันได้ประกาศสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1914
ดูเพิ่ม
- การประกาศสงครามระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- การประกาศสงครามระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
- การประกาศสงครามโดยบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักร
- การประกาศสงครามโดยแคนาดา
- การประกาศสงครามโดยสหรัฐ
อ้างอิง
- ↑ สมเด็จพระนารายณ์ประกาศสงครามกับอังกฤษ พระยาตานาวศรีนำทัพชนะ แต่ฝรั่งชงให้ประหาร!
- ↑ วันนี้ในอดีต 11 สิงหาคม ค.ศ. 1687 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงประกาศสงครามกับอังกฤษ
- ↑ วันนี้ในอดีต!?! พระนารายณ์ประกาศสงครามกับอังกฤษ เหตุบาดหมางกันเรื่องค้าขายกับอินเดีย
- ↑ สยามกับสงครามโลกครั้งที่ 1
- ↑ 7 มกราคม พ.ศ. 2484[ลิงก์เสีย]
- ↑ 7 มกราคม 2484
- ↑ 25 มกราคม 2485 ไทยประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และอังกฤษ
- ↑ all countries at war with the United States, United Kingdom, or the Soviet Union
- น.อ.รศ.ทองใบ ธีรนันทางกูร (หงษ์เวียงจันทร์) ร.น. ,พจนานุกรมศัพท์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อังกฤษ-ไทย, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงแก้ว, 2545, หน้า 84-85. ISBN 974-344-042-9
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 / ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550