การเปลี่ยนรัชกาลในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2562

การเปลี่ยนรัชกาลในประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะได้สละราชบัลลังก์ในวันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 โดยพระองค์เป็นนับเป็นจักรพรรดิองค์แรกในรอบกว่า 2 ศตวรรษที่สละราชบัลลังก์โดยนี่คือจุดสิ้นสุดของยุคเฮเซ และได้มีการเตรียมพิธีเฉลิมฉลองการขึ้นสืบราชบัลลังก์ขององค์รัชทายาท[1] ส่วนพระราชพิธีราชาภิเษกจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม ปีเดียวกัน[2]

เบื้องหลัง

ใน พ.ศ. 2553 องค์จักรพรรดิได้ปรึกษากับที่ปรึกษาในพระองค์ถึงการลดพระราชภารกิจของพระองค์ลงเนื่องด้วยพระชนมายุที่เพิ่มขึ้นและพระพลานามัยที่ไม่เอื้ออำนวยแต่ทาง สำนักพระราชวังญี่ปุ่น ก็ไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นอะไร

ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 สื่อของรัฐบาลญี่ปุ่น สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค ได้รายงานว่าองค์จักรพรรดิมีพระราชประสงค์ที่จะสละราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสองค์ใหญ่ เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น อีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ซึ่งเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในสำนักพระราชวังญี่ปุ่นได้ออกมาปฏิเสธเรื่องแผนการสละราชบัลลังก์ขององค์จักรพรรดิสำหรับการสละราชบัลลังก์ขององค์จักรพรรดิต้องทำการแก้ไขเพิ่มเติม กฎราชวงศ์ ฉบับ พ.ศ. 2490 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเสียก่อน

กระแสรับสั่งต่อประชาชน

ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559 องค์จักรพรรดิได้มีกระแสรับสั่งต่อประชาชนถึงพระชนมายุที่เพิ่มขึ้นและพระพลานามัยที่ไม่สมบูรณ์[3] ซึ่งกระแสรับสั่งครั้งนี้ได้แฝงถึงนัยยะเรื่องการสละราชบัลลังก์[4][5]

สภานิติบัญญัติ

เมื่อทราบถึงพระราชประสงค์ในการสละราชบัลลังก์ทางสำนักนายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง ยะซุฮิโกะ นิชิมุระ เป็นรองจางวางใหญ่สำนักพระราชวัง

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ทาง สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดให้มีการโต้วาทีเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อนำไปร่างกฎหมายที่ใช้ได้ครั้งเดียวสำหรับจักรพรรดิอะกิฮิโตะเท่านั้น

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมาธิการงบประมาณของสภาล่างหรือ สภาผู้แทนราษฎรของญี่ปุ่น ได้จัดโต้วาทีเพื่อจัดทำร่างกฎหมายสละราชบัลลังก์

ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 รัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติรับหลักการร่างกฎหมายสละราชบัลลังก์ต่อมาในวันที่ 8 มิถุนายน ปีเดียวกันสภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่างกฎหมายสละราชบัลลังก์และรัฐบาลได้เริ่มขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านไปยัง เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ซึ่งพิธีสละราชบัลลังก์ได้ถูกกำหนดขึ้นในวันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

สำนักพระราชวังญี่ปุ่น​ได้แจ้งว่าพระองค์จะทรงดำรงพระอิสริยยศ โจโค (上皇/​Jōkō) และให้คำแปลไว้ว่า สมเด็จพระจักรพรรดิพระเจ้าหลวง (Emperor Emeritus) เมื่อสละราชบัลลังก์ ส่วนสมเด็จจักรพรรดินีจะทรงดำรงพระอิสริยยศ โจโคโง (上皇后/Jōkōgo) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดินีพระพันปีหลวง (Empress Emerita)

สภาพระราชวงศ์

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สภาพระราชวงศ์ ซึ่งไม่ได้ประชุมกันนานถึง 24 ปีได้ออกคำสั่งให้จัดตารางการเฉลิมฉลองการเปลี่ยนรัชกาลซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้เปลี่ยนรัชกาลด้วยวิธีนี้ในรอบกว่า 2 ศตวรรษ

สภาพระราชวงศ์มีสมาชิกทั้งสิ้น 10 คนอาทิ นายกรัฐมนตรี ชินโซ อะเบะ โฆษก/ประธานของ ราชมนตรีสภา และ สภานิติบัญญัติ ประธานศาลฎีกาและจางวางใหญ่สำนักพระราชวังส่วนพระราชวงศ์อีก 2 พระองค์คือ เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ พระราชโอรสองค์เล็กขององค์จักรพรรดิซึ่งในเวลาต่อมาถูกแทนที่โดยเจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนะมิยะ พระอนุชาพระชนมายุ 82 พรรษาขององค์จักรพรรดิ และเจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาฯ พระชายาของเจ้าชายมาซาฮิโตะ

อ้างอิง

  1. Jiji, Kyodo, "Emperor Akihito's abdication may push back timing of constitutional reform" เก็บถาวร 2018-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan Times, January 5, 2017.
  2. "Enthronement ceremony for Japan's next emperor seen in fall 2019- Nikkei Asian Review". Asia.nikkei.com. สืบค้นเมื่อ 6 January 2018.
  3. "Message from His Majesty The Emperor". The Imperial Household Agency. 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 8 August 2016.
  4. "Japan's Emperor Akihito hints at wish to abdicate". BBC News. 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 8 August 2016.
  5. "The Emperor's Abdication: Sixteen Months of Muted Conflict - JAPAN Forward". Japan-forward.com. 9 December 2017. สืบค้นเมื่อ 6 January 2018.